ลูกชอบพูดโกหก เอง หรือเพราะพ่อแม่ทำหยุดพฤติกรรมแบบนี้กันเถอะ!!

Alternative Textaccount_circle
event

พ่อแม่ชอบตำหนิ

ดุด่าลูกจนเป็นประจำ เกรี้ยวกราดรุนแรง จนกลายเป็นวิธีการสื่อสารปกติภายในบ้าน หากคุณแสดงความโกรธ และมักจะตำหนิลูกเสมอ นั่นเท่ากับว่า คุณจะวางพวกเขาไว้เป็นฝ่ายรับ และทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะโกหกต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงการตำหนิ มีคำแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่จดจ่อกับสิ่งที่เกิดขึ้นแทน พูดอย่างใจเย็นว่า “แม่เห็นลูกทำนมหก” แล้วแนะนำวิธีแก้ปัญหา เช่น ไปเอากระดาษเช็ดมือมาทำความสะอาดกันเถอะ ในกรณีที่ลูกยังเป็นเด็กเล็ก หากเด็กโตเกินกว่า  7 ขวบขึ้นไป เขารู้แล้วว่าอะไรคือการโกหก คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามหาแรงจูงใจในการพูดโกหกของลูก เริ่มต้นด้วยการพิจารณาว่าตัวเราองตอบสนองต่อความผิดพลาดของเขาอย่างไร เราตั้งความหวังไว้กับลูกสูงเกินไปหรือไม่ จึงทำให้เกิดคำพูดตำหนิที่รุนแรงเกินไป ทำให้ลูกเกิดความกังวล และเลือกวิธีการโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกกลัว อาย ละอายใจเมื่อทำผิด

คุณควรบอกกับลูกว่า เราทุกคนเคยทำผิดพลาด และถึงอย่างไรพ่อแม่ก็รักพวกเขาเสมอ จะอยู่เคียงข้างและร่วมกันแก้ไขด้วยกัน เช่น การจับมือลูกลงไปทำพื้นที่เลอะเทอะพร้อมกัน เป็นต้น

ลูกชอบพูดโกหก ไม่ควรตำหนิรุนแรง
ลูกชอบพูดโกหก ไม่ควรตำหนิรุนแรง

พ่อแม่ไม่เคยผิด พ่อแม่ที่ถูกเสมอ

ในขณะที่พ่อแม่บางคน ต้องการให้ลูกรู้จักคำว่า ขอโทษ เมื่อกระทำผิด แต่ในทางกลับกันตัวเองเมื่อลูกว่ากระทำผิดลงไปกับลูก อาจด้วยความเข้าใจผิด หรือการไม่รู้ คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรจะปฎิบัติตนเช่นเดียวกับที่ได้สอนลูกไว้เช่นกัน แม้ว่าเราเป็นผู้ใหญ่กว่าแต่ถ้าทำผิดก็ต้องขอโทษและแก้ไข สิ่งนี้นอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย เห็นพ่อแม่เป็น safe zone เวลามีปัญหาแล้ว ยังทำให้เขากล้าที่จะพูดความจริงกับคุณอีกด้วย

พ่อแม่ชอบเปรียบเทียบ

ชอบเปรียบเทียบลูกกับตัวเอง แสดงออกอย่างชัดเจนว่ากำลังข่มลูก มองว่าลูกไม่สามารถเท่าเทียมตัวเองได้ โดยจะมีคำพูดติดปากว่า “ตอนแม่อายุเท่าลูกนะ แม่…..” เป็นต้น หรือแม้แต่การชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากจะทำให้เรามีคำพูดที่ไปบั่นทอนความเชื่อมั่นในตนเองของลูก ทำให้เขาไม่เห็นคุณค่าในตนเอง เพราะไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน ก็ยังไม่เคยดีพอในสายตาพ่อแม่แล้ว ยังแสดงถึงความคาดหวังที่สูงของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ทำให้ เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรม ขึ้กลัว ไม่มั่นใจในตนเอง แต่ก็มีอีกหลายคนที่เลือกที่จะมีพฤติกรรมการโกหกเพื่อให้พ่อแม่ได้ฟังในสิ่งที่คาดหวังไว้กับเขา โกหกเพื่อให้พ่อแม่สบายใจ

พ่อแม่เป็นคนโกหกเสียเอง

เด็ก ๆ มักจะมีพ่อแม่เป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันได้ระวังตัว ขณะสนทนากับเพื่อน หรือคนข้างบ้าน หรือแม้แต่คนในครอบครัว ต่อหน้าลูก แล้วเขาจับได้ว่า คุณก็กำลังโกหกเช่นกัน การโกหกสีขาว ก็เป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งของผู้ใหญ่ที่บางทีเด็กยังไม่เข้าใจ เขาใสซื่อเกินกว่าจะเข้าใจได้ว่าทำไมเราถึงไม่พูดความรู้สึกตรง ๆ ออกไป แต่เมื่อเขาเห็นคุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกมีพฤติกรรมการโกหก อาจทำให้เขาเลียนแบบ และคิดว่าพ่อแม่ยังทำได้เลย เช่น การที่บังคับให้ลูกบอกป้าข้างบ้านไปว่าชอบของขวัญที่มอบให้ แต่ลูกไม่ได้คิดเช่นนั้น แบบนี้แม้เป็นการโกหกสีขาว หรือการโกหกเพื่อสังคม แต่เด็กจะไม่เข้าใจในการกระทำนั้น คุณต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจ

ลูกชอบพูดโกหก อาจมาจากพฤติกรรมของพ่อแม่
ลูกชอบพูดโกหก อาจมาจากพฤติกรรมของพ่อแม่

จงมองว่า การโกหกในเด็กนั้นเป็นเพียงพัฒนาการปกติของพวกเขา เป็นพฤติกรรมที่เด็กจะต้องเรียนรู้ผลของการกระทำ แต่หากได้รับการอบรม สั่งสอนที่ดีจะช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมไปในทางที่ถูกที่ควร ที่สังคมยอมรับ และไม่สร้างปัญหาให้แก่เขาเมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวล แต่เรามาช่วยลูกปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นกันเถอะ ไม่เพียงแต่ตัวเด็กเท่านั้น เราพ่อแม่ก็ต้องสำรวจตัวเองด้วยเช่นกัน

โจเซฟ ดิ พริสโก ปริญญาเอก ผู้เขียนร่วมเรื่องRight from Wrong : Instilling a Sense of Integrity in Your Child

กล่าว “เมื่อคุณจับได้ว่าลูกโกหก ให้มองว่าเป็นโอกาสที่จะพูดถึงว่าทำไมการพูดความจริงจึงสำคัญ”

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.parents.com/ASTVผู้จัดการออนไลน์  , dailymail.co.uk และ iflscience.com/www.starfishlabz.com/www.cumentalhealth.com

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

ชมคลิป “คุณพ่อลงโทษลูกสาว เป็นความเข้มงวดที่น่ารักมากๆ”

คำพูดยอดแย่ ที่พ่อแม่มักใช้ตีตรา และทำร้ายจิตใจลูก

ภาวะเครียดในเด็ก แก้ไขอย่างไร ?

 

10 วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up