น้ำหนักส่วนสูงทารก

ตาราง น้ำหนักส่วนสูงทารก ตามเกณฑ์ ตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี

event
น้ำหนักส่วนสูงทารก
น้ำหนักส่วนสูงทารก

เซฟเก็บไว้ดูเลย!! ตาราง น้ำหนักส่วนสูงทารก ตามเกณฑ์ ของเด็ก วัยแรกเกิด ถึง 5 ปี .. ลูกของเราอายุเท่านี้ น้ำหนักและส่วนสูงควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ พ่อแม่เช็กได้ที่นี่เลย!

ตารางเกณฑ์ น้ำหนักส่วนสูงทารก วัยแรกเกิด – 5 ปี

น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ ของทารกแรกเกิด มีปัจจัยจากโภชนาการ และสิ่งแวดล้อมของแม่ โดยส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ ซึ่ง น้ำหนักส่วนสูงทารก จะมากหรือน้อย ก็ตามแต่อายุครรภ์เมื่อคลอดที่แตกต่างกันไปเช่น เด็กที่คลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 37 สัปดาห์จะมีน้ำหนักแรกคลอดที่ไม่เท่ากับทารกที่คลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 41 สัปดาห์

ซึ่งนอกจาก น้ำหนักและส่วนสูงทารก เมื่อแรกเกิดแล้ว … คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ว่าลูกตัวโตแค่ไหน ด้วยการเปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของเด็กทั่วไป ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักที่คิดเป็นร้อยละหรือที่เรียกกันคุ้นหู ว่า “เปอร์เซ็นต์ไทล์” ที่เป็นเส้นกราฟบนตารางการเจริญเติบโต (แยกเป็นเด็กหญิงและเด็กชาย)

โดยจะมีอยู่ในสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของลูกน้อย (สมุดสีชมพู) เมื่อนำส่วนสูงและน้ำหนักของลูกเราไปเทียบ ในกราฟแล้ว เราจะรู้ได้ว่าลูกเราโตหรือเล็กแค่ไหนเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเด็กในประเทศ

  • เด็กที่มีอัตราการเติบโตต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (คือ ถ้าเทียบว่ามีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 90 คนที่ตัวโตกว่าลูกของเรา)ก็จะ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเด็กที่ตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ (Small for Gestational Age–SGA)  เรียกง่ายๆว่า เด็กตัวเล็ก
  • เด็กที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (คือ ถ้าเทียบว่ามีเด็กอยู่ 100 คน ลูกของเราจะตัวโตกว่าเด็ก 90 คน) ก็จะ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเด็กที่ตัวโตกว่าอายุครรภ์ (Large for Gestational Age–LGA) เรียกง่ายๆว่า เด็กตัวโต
  • เด็กที่มีอัตราการเติบโตระหว่าง 10 – 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ ก็จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นเด็กที่มีขนาดตัวเหมาะสมกับอายุครรภ์ (Appropriate for Gestational Age –AGA) เรียกง่าย ๆ ว่า ขนาดตามเกณฑ์

ซึ่งหากใครดูจากกราฟไม่เป็น สามารถดูตารางแสดง น้ำหนักส่วนสูงทารก ตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็ก ในช่วงอายุ 0-5 ปี ที่ทีมแม่ ABK ได้สรุปมาให้ดูด้านล่างนี้ได้เลย จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ว่าตอนนี้ ลูกของเราอายุเท่านี้มี น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่?

น้ำหนักส่วนสูงทารก

ลูกตัวโตกว่าเกณฑ์แล้วเป็นอย่างไร

สำหรับ น้ำหนักส่วนสูงทารก ที่เกินเกณฑ์เมื่อแรกเกิด มักจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเมื่อแรกคลอด คือมีระดับน้ำตาล ในกระแสเลือดต่ำ ระดับเม็ดเลือดที่พุ่งสูง และปอดที่ยังไม่เติบโตพัฒนาเต็มที่ ทั้งนี้ในสมัยก่อนมีความเชื่อกันว่า น้ำหนักและขนาดที่ใหญ่โตเมื่อแรกคลอดของเด็กจะลดลงสู่ภาวะปกติต่อไปในอนาคตได้ และคิดว่าคงจะไม่มีผลเสียต่อเนื่องไปแต่อย่างใด

แต่ปัจจุบันนี้กลับพบว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้นไปทั้งหมด เพราะการศึกษาล่าสุดพบว่า.. เด็กทารกที่เกิดจากแม่ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน มักจะกลายเป็นเด็กที่เป็นโรคอ้วน และหากพ่อหรือแม่คนใด คนหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน เมื่อลูกโตขึ้นก็จะมีความเสี่ยงต่อ ชการเป็นโรคเบาหวานได้ราวร้อยละ 1-5 ทีเดียว

น้ำหนักส่วนสูงทารก

ลูกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ จะเป็นอย่างไร

หาก น้ำหนักส่วนสูงทารก แรกคลอด ต่ำกว่าเกณฑ์มักจะประสบปัญหาต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิด เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และมีความเสี่ยงที่จะตัวเล็กกว่าเพื่อนไป ตลอดชีวิตเมื่อเทียบกับเด็กที่มีขนาดตัวมาตรฐานเมื่อแรกคลอด และอาจจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าด้วย

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้ว อัตราการเจริญเติบโตของเด็ก ที่ตัวเล็กกว่าเกณฑ์จะเริ่มค่อยๆ เข้าเกณฑ์ในช่วง 6 เดือนแรก  จากสถิติก็พบว่า ยิ่งอัตราการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้าลงในช่วง ใกล้คลอดมากเท่าไร แนวโน้มที่เมื่อเด็กคนนั้นคลอดแล้วจะโตทัน เพื่อนก็เป็นไปได้มากเท่านั้น

อย่างไรก็ตามคุณแม่มือใหม่ที่ติดตามพัฒนาการลูกอย่างสม่ำเสมอ และพบว่าน้ำหนักตัวและส่วนสูงของลูกน้อยกว่าเกณฑ์ก็อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปนะคะ เพราะน้ำหนักของทารกแรกเกิด – 1 ปีในแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม รูปร่างและขนาดของพ่อแม่ด้วย ถ้าพ่อแม่ตัวโต สูงใหญ่ ลูกก็จะเติบโตเร็ว ถ้าพ่อแม่ไม่สูง ตัวเล็ก ลูกก็จะตัวเล็กกว่าเด็กคนอื่นในช่วงอายุเดียวกัน รวมถึงโภชนาการที่ได้รับตั้งแต่ยังอยู่ในท้องด้วย และนอกจากนี้แล้วยังมียังมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่คุณแม่ควรติดตาม ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าลูกมีพัฒนาการที่ดีควบคู่กันไปด้วย เช่น ลูกร่าเริง กินนมได้ ขับถ่ายเป็นปกติ รวมถึงพัฒนาการลูกในด้านอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงอายุ แต่ทั้งนี้แล้วหากคุณแม่มือใหม่รู้สึกกังวลและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตแลพัฒนาการลูกน้อย ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องนะคะ

ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก

การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยช่วงอายุแรกเกิด – 5 ปี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up