8 วิธี รับมือลูกดื้อ “เผลอทำผิด” โดยไม่ต้องดุด่า!

event

ลูกบ้านไหน เป็นเด็กดื้อ ไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ ไม่ทำตามคำสั่ง … ตามมาดูวิธี รับมือลูกดื้อ พ่อแม่ต้องตั้งสติก่อนลงไม้ลงมือ ไม่ต้องดุด่า แค่ถามแบบนี้? ก็ช่วยให้ลูกสำนึกได้

วิธี รับมือลูกดื้อ เผลอทำผิด โดยไม่ต้องดุด่า

“ความดื้อ” คือพัฒนาการตามวัยของเด็กอย่างหนึ่ง การที่ลูกเล็กวัย 0-6 ปี แสดงอาการต่อต้านพ่อแม่ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและพัฒนาการของเขา ลูกดื้อ ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย เพียงแต่เป็นการแสดงออกถึงการเติบโตทางจิตใจว่าลูกของคุณกำลังคิดด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และตัดสินใจเลือก ซึ่งในฐานะพ่อแม่ควรรู้ให้ทันพัฒนาการของลูกน้อย และเตรียมตัวเตรียมใจ รับมือลูกดื้อ โดยใช้วิธีจัดการให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยนั้นๆ

รับมือลูกดื้อ

โดยส่วนมากเมื่อลูกดื้อ หรือทำความผิด เด็กจะรู้สึกกลัวอยู่แล้ว กลัวว่าพ่อแม่จะด่า กลัวจะถูกลงโทษ แล้วยิ่งถ้าพ่อแม่ดุด่าและตี เขาก็จะยิ่งต่อต้าน … ดังนั้นสำหรับการเลี้ยงลุกในยุคนี้คุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ควร รับมือลูกดื้อ ด้วยการถามคำถามเหล่านี้กับลูกก่อน ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการด่วนตัดสินใจลงโทษลูก โดยลองให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดกฏการลงโทษ ดังนี้…

 

1. ถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น!

หนึ่งในวิธี รับมือลูกดื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีโอกาสพูดบ้าง อย่าเคยชินกับการด่วนตัดสิน และสิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรดุด่า ว่ากล่าว หรือตะคอกโมโหใส่ลูก ควรจะฟังลูกอธิบายอย่างสงบ ทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจากมุมของลูก

ที่สำคัญ การให้โอกาสลูกได้พูด แม้ว่าจะทำผิดจริง ลูกก็ยินดีที่จะยอมรับความผิดของเขามากกว่า เพราะเขามีโอกาสแก้ตัวให้ตัวเองแล้ว

2. ถามลูกว่า รู้สึกยังไงบ้าง? หนูคิดอะไรอยู่?

ก่อนอื่นเลย…หลังเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าเพิ่งสั่งสอนลูก เพราะหัวใจของลูกได้รับการกระทบกระเทือน ไม่มีถูกผิด การถามความรู้สึกนึกคิดในสิ่งที่ลูกได้ทำไป ก็เพื่อให้ลูกมีทางออกของอารมณ์

ซึ่งหลายๆ ครั้ง เด็กก็แค่ต้องการพูดความรู้สึกของตัวเองออกมาเท่านั้น เมื่อคนเรามีภาวะอารมณ์รุนแรง สิ่งเร้าภายนอกก็จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสมองง่ายๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า…ถ้าคนเรายังมีอารมณ์ติดค้างอยู่ คนอื่นพูดอะไรก็ฟังไม่เข้าหัวต้องรอให้อารมณ์เขาสงบลง ถึงสามารถคิดอย่างใจเย็นได้

เพราะฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเชื่อฟังที่ตัวเองพูด ก็ควรจะต้องเข้าใจความรู้สึกของลูกก่อน ปล่อยให้อารมณ์ของลูกมีทางออก พอลูกสงบลงแล้วก็สามารถถามคำถามที่ 3

3. ถามลูกว่า ต้องการแบบไหน?

สำหรับตอนนี้เมื่อถามคำถามไปแล้ว ไม่ว่าสิ่งที่ลูกพูดออกมาจะน่าอัศจรรย์แค่ไหน ขอให้คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าตกใจ อย่ากลัว ให้สงบใจไว้และถามคำถามข้อที่ 4

4. ถามต่อว่า หนูคิดว่าพ่อแม่ต้องทำยังไงกับความผิดของหนู?

เมื่อมาถึงตอนนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องเคารพคำพูดของลูก และแสดงความเห็นแบบให้เกียรติ โดยสามารถคิดไปพร้อมกันกับลูก พร้อมช่วยเสนอแนะและแก้ปัญหาร่วมกัน

ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต เมื่อลูกเจอปัญหาเขาก็จะคิดถึงการมาขอความช่วยเหลือจากตัวคุณพ่อคุณแม่ แต่ถ้ารอจนคิดไม่ออกแล้วก็ถามคำถามที่ 5

5. ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้แล้วหนูจะเป็นอย่างไร!

ให้ลูกได้คิดได้เข้าใจว่า วิธีการแก้ปัญหาทุกอันจะมีผลที่ลูกต้องรับผิดชอบ ลูกจะรับผลเหล่านี้ได้หรือไม่? ถ้าตอนนี้ลูกคิดไม่ออก คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าไปช่วยแนะนำและบอกว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร แต่ควรหลีกเลี่ยงการเทศนา ทำเพียงให้พูดแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

6. ถามลูกต่อว่า ตัดสินใจได้ไหมว่าเราควรทำอย่างไรดี?

เมื่อวิเคราะห์เรื่องราวและผลที่ตามมาครบหมดแล้ว ลูกก็จะสามารถชั่งข้อดีข้อเสียได้และเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและฉลาดที่สุด แม้ว่าสิ่งที่ลูกเลือกจะไม่ตรงตามที่คุณคาดไว้ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของลูก

เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่พูดกลับไปกลับมาไม่ยอมรับสิ่งที่ลูกพูดมา อีกหน่อยลูกก็จะไม่เชื่อถือพ่อแม่ ถึงตรงนี้แม้ว่าลูกจะเลือกผิด เขาก็ยังสามารถเรียนรู้บทเรียนอันมีค่าและน่าจดจำจากความผิดพลาดนี้

7. ถามลูกว่าอยากให้พ่อแม่ทำอะไรดี!

เมื่อลูกบอกว่าพ่อแม่สามารถช่วยเขาได้ยังไง คุณพ่อคุณแม่จะต้องสนับสนุนอย่างแข็งขัน เพราะการสนับสนุนจากพ่อแม่คือเบื้องหลังความเข้มแข็งของลูก ทำให้ลูกยิ่งมั่นใจมากขึ้น รอจนเรื่องราวผ่านไปก็ถามคำถามสุดท้ายกับลูก

8. ถ้าลูกทำผิดแบบนี้อีกคราวหน้าพ่อแม่ต้องทำยังไง?

วิธี รับมือลูกดื้อ ข้อสุดท้าย พ่อแม่ควรรอจนเรื่องราวผ่านไปแล้ว ให้โอกาสลูกได้ทบทวนตัวเอง ทบทวนว่าการตัดสินใจและวิธีการแก้ปัญหาของเขาว่ามีประสิทธิภาพไหม นั่นก็เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการตัดสินสิ่งต่างๆ

อย่างไรก็ตามยังมีคุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่คิดว่าลูกตัวเองอายุยังน้อย ยังเด็กเกินไป ไม่มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหา แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าเด็กจะอายุน้อยมาก แต่ก็สามารถมีความคิดใช้กลยุทธ์และวิธีการบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาได้ สิ่งสำคัญคือการเลี้ยงลูกที่มีภาวะดื้อและต่อต้านเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่ลูกก็จะสามารถดีขึ้นได้ หากได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจากคนในครอบครัว ขอให้คุณพ่อคุณแม่ค้นให้พบและปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดู อีกไม่นานเขาก็จะกลับมาเป็นเด็กดีให้คุณพ่อคุณแม่ได้ชื่นใจอย่างแน่นอน สุดท้ายทุกคำสั่งสอนก้อย่าลืมใส่ใจพร้อมมอบความรักลงไปด้วยนะคะ

ขอบคุณที่มาจาก : aanplearn.com

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิกที่ภาพได้เลย ⇓

ภาพหาดูยาก! สอน การเลี้ยงลูกของคนจีน ในสมัยก่อน แต่ยังสอนได้ดีในสมัยนี้

37 แนวทาง เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม!! ตามคำสอนพุทธ เพื่อให้ลูกเป็นคนดีและมีสุข

คำสอนดี ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแบบคนจีน

5 เทคนิค ตามใจลูก [สร้างวินัยเชิงบวก] ฝึกลูกคิดเป็น มีความรับผิดชอบ

10 เคล็ดลับปรับพฤติกรรมลูก ก้าวร้าว พ่อแม่ยุคใหม่ต้องเข้าใจและพร้อมรับมือ

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up