โรคพิษสุนัขบ้า

เด็ก!! เสี่ยงติด “โรคพิษสุนัขบ้า” โรคที่ไม่ได้เกิดจากแค่สุนัข

Alternative Textaccount_circle
event
โรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า โรคที่มักจะระบาดในหน้าร้อน โดยทั่วไปพ่อแม่จะระวังไม่ให้ลูกไปเล่นกับสุนัขจรจัด แต่รู้หรือไม่ว่า กระต่าย ลิง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็มีเชื้อพิษสุนัขบ้า

เด็ก!! เสี่ยงติด “โรคพิษสุนัขบ้า” โรคที่ไม่ได้เกิดจากแค่สุนัข

โรคพิษสุนัขบ้า หรือที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า เรียก “โรคกลัวน้ำ” (Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบเกิดในสัตว์ เลือดอุ่นทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าและยังติดต่อมาสู่มนุษย์ พาหะนำโรคที่สำคัญที่สุดสู่มนุษย์ และสัตว์อื่นๆ คือ สุนัข รองลงมาคือแมว โรคนี้เกิดจากเรบี่สไวรัส (Rabies virus)

สัตว์และคนติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้จากไหน

พาหะนำโรคคือ สัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนม ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น สุนัข แมว โค กระบือ สุกร หนู ลิง ชะนี กระต่าย ค้างคาว ฯลฯ ในประเทศไทยสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญคือ สุนัขและแมว

ไม่ใช่แค่กัด ข่วน เลีย โดนน้ำลายสัตว์ ก็ติดเชื้อได้!!

การติดเชื้อที่สำคัญที่สุดคือการถูกสัตว์เป็นบ้ากัด แต่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการถูก ข่วน เลีย หรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผลรอยขีดข่วน เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือการปลูกถ่ายกระจกตา ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เชื้ออาจติดต่อจากการกินได้ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากและหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์กินเนื้อตัวป่วย หรือที่ตายใหม่ ๆ เข้าไป

จากผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า เชื้อจะยังคงอยู่บริเวณนั้นระยะหนึ่ง โดยเพิ่มจำนวนในกล้ามเนื้อ ก่อนจะเดินทางผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมอง มีการแบ่งตัวในสมอง พร้อมทำลายเซลล์สมอง และปล่อยเชื้อกลับสู่ระบบขับถ่ายต่างๆ เช่น ต่อมน้ำลาย น้ำปัสสาวะ น้ำตา ตามแขนงประสาทต่างๆ ทำให้เกิดอาการ บางรายเกิดอาการช้านานเกิน 1 ปี บางรายเกิดอาการเร็วเพียง 4 วันเท่านั้น แต่โดยเฉลี่ย 3 สัปดาห์ถึง 4 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

  • จำนวนเชื้อที่เข้าไป บาดแผลใหญ่ ลึก หรือมีหลายแผล มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าไปได้มาก
  • ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป ถ้าอยู่ใกล้สมองมาก เชื้อก็จะเดินทางไปถึงสมองได้เร็ว ถ้าน้ำลายถูกผิวหนังปกติ ไม่มีรอยข่วนหรือบาดแผล ไม่มีโอกาสติดโรค การติดต่อโดยการหายใจ มีโอกาสน้อยมาก ยกเว้นมีจำนวนไวรัสในอากาศเป็นจำนวน มาก เช่น ในถ้ำค้างคาวนอกจากนั้นติดต่อจากการกินได้ ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากและหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์กินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายใหม่ๆ
  • อายุคนที่ถูกกัด เด็กและคนชราจะมีความต้านทานของโรคต่ำกว่าคนหนุ่มสาว
  • ความรุนแรงของเชื้อ เชื้อจากสัตว์ป่าอันตรายกว่าสัตว์เลี้ยง สุนัขและแมวที่ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า สามารถแพร่เชื้อได้ก่อนแสดงอาการ เพราะ เชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะ ๆ ประมาณ 1-7 วัน ก่อนแสดงอาการ
พิษสุนัขบ้า
พิษสุนัขบ้า

วิธีสังเกตสัตว์ที่อาจติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

สัตว์ที่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 14-90 วัน หรืออาจนานกว่านี้โดยเฉลี่ยประมาณ 21 วัน อาการของสัตว์แต่ละตัวจะแตกต่างกันมาก แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • แบบดุร้าย (furious form) สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหาร อุปนิสัยเปลี่ยนไป บางรายชอบกิน ดิน หิน เป็นต้น แสดงอาการตื่นเต้น ร้อง หาว ดุร้าย วิ่งชนคน หรือสิ่งกีดขวาง แสดงอาการกลืนลำบาก (ทำให้เรียกว่าโรคกลัวน้ำ) มีน้ำลายไหลมาก แสดงอาการไวต่อแสงและเสียงอย่างมาก เมื่อโรคดำเนินต่อไปถึงขั้นสมองอักเสบ สัตว์จะแสดงอาการอัมพาต ล้มลงนอน ชัก และตายในที่สุด
  • แบบซึม (dumb or paralytic form) สัตว์จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนสังเกตไม่เห็น อาการจะเข้าระยะอัมพาตอย่างรวดเร็ว ซึม มีน้ำลายไหลมาก กล้ามเนื้อขาไม่สัมพันธ์กัน ล้มลงนอน ชักหายใจไม่ออกและตายในที่สุด

ทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์ ข่วน เลีย กัด?

  • ล้างแผลด้วยน้ำและน้ำสบู่หลายๆ ครั้ง โดยให้น้ำไหลผ่านเป็นเวลานาน แล้วทายาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone-iodine) หรือแอลกอฮอล์
  • จดจำลักษณะของสัตว์ เพื่อค้นหาเจ้าของและสอบถามประวัติและความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า
  • พบแพทย์ทันทีเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้เร็วที่สุด รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  • กักสัตว์ตัวที่กัดไว้เพื่อสังเกตอาการ 10 วัน หากสัตว์ตายให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่

หากเพียงลูกสุนัขหรือแมวข่วนเป็นรอยถลอก จำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือไม่?

ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเคยรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนหรือไม่ก็ตาม จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและฉีดวัคซีนป้องกัน

เมื่อคนติด โรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการอย่างไร?

เชื้อพิษสุนัขบ้ามีระยะฟักตัวนานเป็นสัปดาห์จนถึงหลายปี ดังนั้น ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่ 1 สัปดาห์จนถึงระยะเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปีหลังจากสัมผัสเชื้อ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ไม่ค่อยสบายตัว คันหรือเจ็บบริเวณแผลที่ถูกกัด

  • อาการแสดงระบบประสาท – สับสน กระวนกระวายใจ กลืนลำบาก อยู่ไม่นิ่ง กลัวน้ำ
  • อาการแสดงระบบหัวใจ – เริ่มหัวใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด

ทำไม “เด็ก” ถึงมีความเสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า?

ไม่ว่าวัยไหนก็มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ แต่สำหรับในเด็กนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าวัยอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ที่มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสัตว์ อยากจับ อยากสัมผัส จึงมีโอกาสที่จะถูกสัตว์กัดได้ง่าย และอาจไม่บอกผู้ปกครอง และปล่อยทิ้งไว้จนเกิดแผลติดเชื้อ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรคอยดูแลลูกอยู่ตลอดเวลาขณะที่เล่น ป้อนอาหาร หรือจับสัตว์

โรคพิษสุนัขบ้า อาการ
โรคพิษสุนัขบ้า อาการ

“ป้องกัน” สำคัญกว่า “รักษา”

ปัจจุบัน ยังไม่มียารักษา โรคพิษสุนัขบ้า หากผู้ป่วยมีอาการของโรคแล้ว จะเสียชีวิตเกือบ 100% แต่หากได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกวิธีหลังการสัมผัสโรค จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อการโดนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กัด ข่วน หรือเลีย จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด โดยเฉพาะสุนัขที่เราไม่ทราบประวัติที่ชัดเจน ควรเรียนรู้พฤติกรรมสุนัขและวิธีปฏิบัติตนไม่ให้ถูกสุนัขกัด เช่น

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใกล้หรือจับต้องสุนัขแปลกหน้า
  • สุนัขที่กำลังกินอาหารหรือกัดแทะสิ่งของ เพราะอาจหวงอาหาร หรือสิ่งของนั้น
  • สุนัขแม่ลูกอ่อน เพราะอาจหวงลูก
  • เลี่ยงการไปอยู่ใกล้สุนัขที่ผูกล่ามไว้ เพราะอาจเครียด รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือกลัว
  • สุนัขที่นอนหลับหรือไม่เห็นว่ามีคนกำลังเข้ามาใกล้ เพราะอาจตกใจ

ในช่วงวันหยุด คุณพ่อคุณแม่มักจะพาลูก ๆ ไปเที่ยวสวนสัตว์ ฟาร์ม และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่อาจมีสัตว์ต่าง ๆ ให้ป้อนอาหาร อุ้ม เล่น เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ใกล้ชิดและเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ แต่เนื่องจากการพาไปสถานที่เหล่านี้ก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการโดนสัตว์ต่าง ๆ ข่วนหรือกัดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะสอบถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โรคพิษสุนัขบ้า ก่อนให้ลูก ๆ เข้าไปเล่นนะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

7 โรคในฤดูร้อน 3 ภัยจากอากาศร้อน ที่เด็กเล็กต้องระวัง!!

เมื่อลูกปวดท้องจาก “โรคบิด” ภัยร้ายหน้าร้อนที่ต้องระวัง!!

Kid Safetyระวังลูก จมน้ำ ด้วย5ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ

20 อาหารอันตรายช่วงหน้าร้อน แม่ลูกต้องระวัง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก, สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลพญาไท

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up