ตรวจ ATK อ.เจษฎ์แนะ

อ.เจษฎาแนะวิธีเก็บเชื้อ ตรวจ ATK ด้วยตนเองลดผลลบปลอม

Alternative Textaccount_circle
event
ตรวจ ATK อ.เจษฎ์แนะ
ตรวจ ATK อ.เจษฎ์แนะ

ตรวจ ATK เองที่บ้านไม่แม่นยำจริงหรือ ต้องเก็บตัวอย่างเชื้อวิธีไหนถึงจะได้ปริมาณเชื้อเยอะไม่ทำให้ผลตรวจเป็นผลลบปลอม อ.เจษฎาแนะสว็อปแบบนี้ให้ผลค่อนข้างแม่นยำ

อ.เจษฎาแนะวิธีเก็บเชื้อ ตรวจ ATK ด้วยตนเองลดผลลบปลอม

โอมิครอน ยังคงระบาดอยู่ในปัจจุบัน และยังคงอยู่ในวันที่สังคมต้องยอมรับกับความเป็นโรคประจำถิ่นของเจ้าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กลายพันธุ์มาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อต้องเปิดประเทศควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกันกับเชื้อโควิด-19 สิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตต่อจากนี้ เห็นทีจะเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 การตรวจ ATK ที่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เรารู้ตัวได้เร็วว่าติดเชื้อ จะได้รีบทำการรักษา และหยุดการแพร่กระจายเชื้อต่อไป แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การตรวจ ATK ด้วยตนเองนั้น เราทำได้ถูกวิธีหรือยัง ผลที่ได้เชื่อถือได้มากแค่ไหน

ตรวจ ATK ด้วยตนเอง ให้ถูกวิธี
ตรวจ ATK ด้วยตนเอง ให้ถูกวิธี

อ.เจษฎา แนะวิธีตรวจATK ให้ได้ผลแม่นยำ!!

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม  รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความพร้อมภาพประกอบในเพจ Jessada Denduangboripant ว่า

มีหลายท่านส่งการบ้านมาให้ดูนะครับ ว่าพอตรวจโควิดด้วยตัวเอง ด้วยการสว๊อบเก็บที่จมูก ได้ผลเป็นลบ แต่ถ้าเก็บที่คอด้วย กลับได้ผลเป็นบวก เกมส์เลยครับ
ลองอ่านวิธีที่ผมแนะนำไว้เดิมนะครับ เรื่อง “การเก็บตัวอย่างจากทั้งต่อมทอนซิลในคอและจมูก” จะทำให้ได้ผลที่แม่นยำขึ้นมากครับ

ตรวจ ATK โควิดสายพันธุ์โอมิครอน กับ การเก็บตัวอย่างจากต่อมทอนซิลในคอและจมูก

 “ตรวจ ATK โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ควรสว๊อบที่ต่อมทอนซิลในคอ ก่อนจะไปแยงที่จมูกนะครับ จะได้ผลที่แม่นยำขึ้นเยอะ “
อ.เจษฎา ได้แนะนำวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อ “ทั้งจากคอและจมูก” ในการตรวจ ATK ไว้ โดยให้คำแนะนำว่า การระบาดของเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจช่วงบน การตรวจด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อทั้งจากคอและจมูก จะทำให้ได้เชื้อปริมาณเยอะ และส่งผลให้ผลที่ออกมาค่อนข้างแม่นยำ ลดอาการเกิดผลลบปลอม ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการเก็บแค่ในโพรงจมูกอย่างเดียวมาก
“วิธีเก็บตัวอย่างเชื้อ “ทั้งจากคอและจมูก” เพื่อตรวจโควิดแบบนี้ ผมเคยแนะนำมาตั้งแต่ที่ไทยเราเริ่มมีชุด ATK ตรวจแล้วครับ และก็ขอแนะนำอีกครั้ง โดยเฉพาะในสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิครอน (ซึ่งแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจช่วงบน ได้ดี)

อย่างกรณีในภาพนี้ ก็เป็นบ้านของแฟนเพจคนหนึ่ง ที่สงสัยว่าในบ้านจะติดโควิดกัน แต่สว๊อบจมูกตรวจไม่พบ พอลองทำตามวิธีที่ผมแนะนำ ก็พบว่าติดจริงๆครับ”

ขอขอบคุณภาพจาก เฟสบุ๊คเพจ อ๋อมันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
ขอขอบคุณภาพจาก เฟสบุ๊คเพจ อ๋อมันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
คำแนะนำวิธีการเก็บตัวอย่าง
  1. งดน้ำ งดอาหารก่อนตรวจ 30 นาที ถึงจะเก็บตัวอย่างจากช่องปาก เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
  2. ให้ใช้ไม้สว็อบ มาป้ายเก็บตามต่อมทอนซิล (อยู่สองข้างของลิ้นไก่ ) ก่อน
  3. นำไม้สว็อบอันเดิมมาแหย่เช็ด ๆ วน ๆ จมูกทั้ง 2 ข้าง โดยทำเบา ๆ พอลึกประมาณ 1 นิ้ว (ไม่ต้องแยงลึกถึงด้านหลังโพรงจมูก ลดการเจ็บแสบโพรงจมูกได้อีกด้วย)
  4. เวลาเก็บตัวอย่างจากช่องปาก ป้ายเช็ดเบา ๆ พอ อย่าไปขูดโดนเนื้อเยื่ออ่อน ๆ ในปาก จะทำให้บาดเจ็บได้
  5. สารคัดหลั่งที่เหนียวไป เช่น ขี้มูก เสลด ไม่ควรเอามาตรวจหาเชื้อ เพราะจะไปขัดขวางการเคลื่อนที่ของน้ำยาในตลับตรวจ
  6. เมื่อได้ตัวอย่างเชื้อแล้วก็ทำตามขั้นตอนการตรวจที่ระบุไว้ข้างกล่องได้เลย

คำแนะนำการอ่านผล

  • ถ้าผลออกมาเป็น บวก มีแนวโน้มสูงมากว่าคุณได้ติดเชื้อโควิดแล้ว ควรทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง หรือควรไปตรวจด้วยวิธี PCR ก่อนรับการรักษา โดยจะรักษาแยกอาการตามกลุ่มความรุนแรงของโรค แยกตามระดับสี ต่อไป
  • ถ้าผลออกมาเป็น ลบ ก็ห้ามประมาทเด็ดขาด เพราะถ้าเราเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะต้องตรวจซ้ำภายใน 3-4 วัน เนื่องจากชุดตรวจแม้จะมีความจำเพาะเจาะจงสูงมากในการตรวจเชื้อโควิด แต่ความไวต่ำกว่าวิธี PCR มาก
พร้อมกันนี้ อ.เจษฎ์ ได้มีคลิปแนะนำ การสาธิตการใช้ ATK ตรวจเด็กเล็กมาฝากกันด้วย

ปัจจัยที่ทำให้ผลการตรวจโควิด-19 ด้วย ชุดตรวจ ATK แล้วให้ผลลบปลอม(False Negative)

เมื่อใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Kit) แล้วแสดงผลการทดสอบเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) แต่พบว่าการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ผู้ตรวจติดเชื้อ

สาเหตุ

  1. เพิ่งติดเชื้อในระยะแรก ร่างกายจึงมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ
  2. การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง เช่น ทิศทางการแหย่จมูกไม่ถูกต้องตามวิธีทดสอบ
  3. ช่วงเวลาตรวจไม่เหมาะสม เช่น อาจเป็นผู้ป่วยที่แสดงอาการอยู่ แต่ปริมาณไวรัสลดลงแล้ว
  4. ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ปริมาณตัวอย่างที่หยดมากหรือน้อยเกินไป ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด
  5. นำมาใช้ผิดประเภท เช่น การนำ ATK ชนิดตรวจหาเชื้อทางจมูกมาใช้ตรวจหาเชื้อในน้ำลาย

คำแนะนำจากแพทย์

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าผลตรวจ ATK จะเป็นบวก หรือลบ ให้แยกกักตัวทันที หากมีอาการเล็กน้อย แต่ผลตรวจไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันถัดมา กรณีที่มีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐานซ้ำอีกครั้ง

ปัจจัยที่ทำหใ้ผลการตรวจโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK แล้วให้ผลบวกปลอม (False Positive)

เมื่อตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR แล้วไม่ได้ติดเชื้อ แต่ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Kit) แสดงผลการทดสอบเป็นบวก

สาเหตุ

  1. การปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบลงบนอุปกรณ์ที่ใช้
  2. การติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่น ๆ
  3. ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
  4. สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
  5. ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน
ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2565
ที่มา : อ. ดร. พญ. วรรษมน จันทรเบญจกุล
ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก chulalongkornhospital.go.th
วัคซีน กับการ ตรวจ ATK
วัคซีน กับการ ตรวจ ATK

วัคซีนโควิด-19 กับการตรวจ ATK  

หลายคนคงมีคำถามในใจกันว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะมีผลต่อการตรวจทำให้ผลไม่ตรงหรือไม่ เนื่องจากว่า วัคซีนเป็นการนำยาหรือสารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่จะไปต่อสู้กับเชื้อโรคได้ เช่น วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมาก และนํามาทำให้เเชื้อตาย  การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค เพราะเชื้อตายแล้ว

ดังนั้น การฉีดวัคซีนโควิด -19 มาก่อนการตรวจหาเชื้อ จะมีผลต่อการตรวจโรคโควิด-19 ด้วยวิธี real-time RT-PCR หรือวิธี Antigen test kit (ATK) หรือไม่

ตอบข้อกังวลใจในเรื่องดังกล่าว เราขอนำคำตอบของ ดร.ทนพ.เมธี ศรีประพันธ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้ไขข้อสงสัยไว้ ดังนี้ การรับวัคซีนโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลทำให้เกิดผลบวกลวงหรือผลบวกปลอมเมื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิค real-time RT-PCR หรือ ATK แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนจะสามารถตรวจพบแอนติบอดีต่อโรค COVID-19 ได้ในกระแสเลือดเมื่อเวลาผ่านไปในระยะที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามถ้าผู้ที่ได้รับวัคซีนให้ผล real-time RT-PCR เป็น detected หรือ ATK เป็นผลบวกแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น

ดูแลตนเอง ใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่าง
ดูแลตนเอง ใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่าง
เมื่อเราต้องดำเนินชีวิตอยู่กับเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะมันไม่สามารถหายไปจากโลกนี้ได้ กลายมาเป็นโรคประจำถิ่น ดังนั้นการรู้วิธีรับมือ ป้องกัน และดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันภายใต้การระบาดของเชื้อโควิด เป็นไปได้อย่างไม่ประมาททั้งต่อตนเอง และคนรอบข้าง อย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่าง ดูแลตนเองให้แข็งแรงกันด้วยนะทุกคน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

คนท้องติดโควิด คนท้องทำ Home isolation ได้ไหม?

เมื่อคุณและลูก ติดโควิด ทำยังไง ? เปิดขั้นตอนการรักษาที่นี่

ติดโควิด 5 วิธีกักตัวที่บ้าน ดูแลตัวเองและลูกๆ ระหว่างรอเตียง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up