อาการช็อก

เช็ก! อาการช็อก เบื้องต้นของลูกนิ้วมือนิ้วเท้าฝ่าเท้าช่วยได้

Alternative Textaccount_circle
event
อาการช็อก
อาการช็อก

อาการช็อก ในเด็กเป็นอาการที่แสดงว่าร่างกายกำลังวิกฤต อยู่ในภาวะอันตราย แต่เราสามารถตรวจพบภาวะช็อกได้ตั้งแต่ในระยะแรก ถ้าหาสาเหตุได้ไว เยียวยาทัน เด็กก็หายไว

เช็ก! อาการช็อก เบื้องต้นของลูก นิ้วมือนิ้วเท้าฝ่าเท้าช่วยได้

ช็อก (Shock) คือ ภาวะของร่างกายที่มีการไหลเวียนเลือดลดลงต่ำผิดปกติ ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์และอวัยวะเสียหายจากการขาดเลือดที่เป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหาร เมื่อเกิดกับอวัยวะสำคัญและรักษาไม่ทันเวลาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และยังพบว่า 1 ใน 5 คนที่มีภาวะช็อกมักเสียชีวิต

ภาวะช็อก เป็นภาวะที่อันตราย และมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาล่าช้า ซึ่งในผู้ป่วยเด็ก เป็นอีกกลุ่มที่คุณหมอจะทำการตรวจวินิจฉัยได้ยาก ด้วยปัญหาต่าง ๆ นานาเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มเด็ก เช่น ร้องไห้งอแง ไม่ยอมให้จับตัว ไม่สามารถสื่อสารอาการได้ เป็นต้น

ลูกร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ สังเกต อาการช็อก ในเด็ก
ลูกร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ สังเกต อาการช็อก ในเด็ก

การที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองไม่ละเลย สังเกตอาการของเด็ก เมื่อพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติ และรีบพาไปรักษา หรือสามารถเล่าอาการที่พบให้กับคุณหมอได้อย่างละเอียดก็เป็นส่วนช่วยลดขั้นตอน และความเสี่ยงในการเกิด อาการช็อก ได้

ภาวะฉุกเฉินในเด็กที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ทันที อาการดังต่อไปนี้

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือ เลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด
  2. หมดสติ
  3. ถูกงูกัด สัตว์มีพิษ หรือ แมลงต่อย และ เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ภายใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ ในอก บวมมาก หมดสติ
  4. หายใจไม่ออก หายใจลำบาก กระวนกระวาย หรือ หน้าเขียว
  5. เด็กอาจชัก เมื่อไข้สูง หรือ ลมบ้าหมู ฯลฯ ห้ามใช้ไม้งัดฟัน เพราะฟันอาจหักไปอุดตันหลอดลมได้ ถ้ามีไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามให้กินยาในขณะที่เด็กชัก
  6. ปวดท้องรุนแรง ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามใช้ยา ถ้ามีไข้และอาเจียนด้วยอาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือ โรคร้ายแรงอื่นๆ
  7. อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือด หรือ เป็นสีดำจำนวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  8. ท้องเสียในเด็กอ่อน หรือ เด็กเล็กๆ การถ่ายอุจจาระเพียง 3-4 ครั้ง ก็เสียน้ำไปมาก ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อนผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลียมาก แสดงว่า ร่างกายขาดน้ำมาก
  9. อาการชักเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน – 6 ปี มักเกิดจากภาวะมีไข้สูง ถ้าเด็กมีอาการชัก ต้องประเมินเรื่องไข้ ถ้ามีไข้พิจารณาเช็ดตัวจะช่วยให้ไข้ลดลง และ หยุดชักได้ เป็นส่วนมากถ้ายังไม่หยุดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลพร้อมเช็ดตัวตามด้วยขณะเดินทาง

กรณีเด็กชัก โดยไม่มีไข้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที โดยนอนคว่ำ หรือ นอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก ถ้าเด็กชักจนหยุดหายใจ ตัวเขียว ต้องช่วยฝายปอด ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งงัดฟัน เนื่องจากฟันอาจหักหลุดไปอุดหลอดลมได้ ห้ามกรอกยาทุกชนิดทางปาก ให้คนไข้ที่มีรู้สึกตัว หรือ กำลังชัก

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.synphaet.co.th
คอยวัดไข้เด็ก ป้องกันไข้สูงจนเกิด อาการช็อก
คอยวัดไข้เด็ก ป้องกันไข้สูงจนเกิด อาการช็อก

อาการช็อก

ช็อกเป็นภาวะอันตรายที่ควรไปพบแพทย์ทันที ผู้ที่เกิดภาวะนี้ความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างรุนแรง และอาจพบอาการได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและประเภทของภาวะช็อก อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา หรือบางรายอาจไม่เต้น
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • หายใจตื้นและเร็ว
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
  • ตัวซีดและเย็น
  • ตาค้าง ตาเหลือก
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้
  • รู้สึกสับสน วิตกกังวล
  • ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
  • กระหายน้ำและปากแห้ง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ความรู้สึกตัวลดลงหรือหมดสติ
  • เหงื่อออกมาก
  • นิ้วและปากบวม

Capillary Refill (แคปปิลารี่ รีฟิว)

Capillary Refill หรือ CRT  คือ การวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย ใช้บอกว่ามีเลือดมาหมุนเวียนตามปลายอวัยวะมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง เป็นอาการแสดงทางผิวหนัง เป็นวิธีวัดเพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (circulatory failure or shock) เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน วิกฤต การปรับตัวโดยหลอดเลือดไปผิวหนังน้อยลง จะทำให้ปลายมือปลายเท้าเย็น ซีด ต่อมาจะเป็นบริเวณลำตัว capillary refill จะนานกว่าปกติ (มากกว่า 2 วินาที) มี ผิวหนังเป็นจ้ำ ๆ เขียวได้

CRT จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือตรวจสอบอย่างง่ายที่สามารถช่วยแจ้งการคัดแยก การรักษา และการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะระบบไหลเวียนโลหิตเฉียบพลันที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อ

วิธีการตรวจ

การตรวจโดยใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วมือ / นิ้วเท้าแล้วปล่อยทันที ถ้าระบบไหลเวียนไม่ดี บริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้าที่ถูกกดจะยังคงซีดขาวอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที (capillary refill > 2 วินาที) แต่ในกรณีเด็กที่มีนิ้วมือ นิ้วเท้าที่เล็ก เราสามารถวัด CRT จากฝ่าเท้าได้ด้วยเช่นกัน โดยทีมแม่ABK ได้ขออนุญาตนำคำแนะนำดี ๆ จากเพจห้องฉุกเฉินต้องรู้ เกี่ยวกับ CRT ที่ฝ่าเท้ามาฝากกัน
ตรวจเด็กอย่างไรไม่ให้พลาดเรื่องช็อก?
เด็กป่วยมักมาห้องฉุกเฉินตอนดึกๆ
ผู้ป่วยเด็กตรวจยาก เพราะงอแง ไม่ยอมให้จับ
เด็กพูดไม่ได้ บอกอาการไม่ได้
บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าเด็กกำลังอาการแย่หรือเปล่า?
.
การตรวจเส้นเลือดฝอยที่ฝ่าเท้าช่วยได้เยอะครับ
เรียกว่า Capillary Refill (แคปปิลารี่ รีฟิว)
แคปปิลารี่ แปลว่า เส้นเลือดแดงฝอย
รีฟิว แปลว่าการไหลคืนกลับของเส้นเลือด
.
เราจะใช้นิ้วมือกดที่ฝ่าเท้า…แล้วก็ปล่อย
จุดสีขาวที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่ถูกกด…จะคืนตัวกลับมา
มีสีชมพูดังเดิม ภายในไม่เกิน 2 วินาทีครับ (นับในใจ หนึ่งและสอง)
แปลว่าเลือดไหลเวียนดี
.
แต่ถ้ากดแล้วเป็นจุดสีขาวนานมาก
แสดงเลือดไปเลี้ยงเส้นเลือดฝอยส่วนปลายไม่ดี
แปลว่าเด็กกำลังช็อกอยู่ครับ!!!
.
ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 1 ปี ท้องเสีย อาเจียน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กช็อก (Shock) หรือกำลังแย่?
– ร้องไห้ไม่มีน้ำตาเหรอ? ไม่เสมอไป…เคยเจอเด็กดราม่าการละครไหมครับ?
– เด็กซึม? หรือว่าแค่หลับ? มาหาหมอตอนตีสาม หมอก็ง่วงครับ
– ความดันตกเหรอเปล่า?เราไม่ได้วัดความดันโลหิตเด็กทุกคนแบบผู้ใหญ่
เพราะวัดยาก เด็กไม่ยอมให้วัด ดิ้น บางที่ไม่มีเครื่องวัดของเด็กก็มีครับ
– ชีพจรเร็ว? เด็กร้องกรี๊ดๆ ชีพจรก็เร็วครับ
.
นี่แหละครับ หลายคนไม่ชอบตรวจเด็ก
.
ลองตรวจการคืนตัวของเส้นเลือดฝอยที่ฝ่าเท้าดูนะครับ
(Capillary Refill) ช่วยไ้ด้มากครับ
การตรวจง่ายๆที่เรามักละเลย
.
ในผู้ใหญ่เราตรวจจากปลายเล็บ
แต่เด็กนิ้วเล็กกระจิ๋วหลิว ตรวจที่ฝ่าเท้าง่ายกว่าครับ
.
มีคำที่น่าสนใจ คือ Compensated กับ Decompensated Shock
คอมเพนเซส (Compensated) แปลว่า ชดเชย เยียวยา
.
ถ้าพูดถึงคำว่าช็อก เราก็คิดถึงความดันตก ซึม หมดสติ ปั๊มหัวใจ
อันนั้นมันช็อกไกลไปมากแล้ว
แต่จริงๆช็อกในระยะแรก จะไม่มีความดันตก อาจมีแค่ชีพจรเต้นเร็ว
วิงเวียน เพลีย วูบ แค่นั้นครับ
เพราะร่างกายคนเราฉลาด มีการชดเชยไม่ทำให้เราแย่ขนาดนั้น
นี่แหละครับที่เรียกว่า การชดเชยภาวะช็อก (Compensated Shock)
.
เหมือนเขื่อนจะแตก มันก็ไม่ได้ปั๊ง แตกกระทันทัน
มันค่อยๆร้าว เป็นสัญญาณเตือนมาก่อน
ร่างกายคนเราก็เหมือนกันครับ
.
ถ้าเรารักษาทัน เยียวยาทัน คนไข้จะหายไว
แต่ถ้าเราละเลยหรือไม่สังเกตสัญญาณเตือน ปล่อยให้แย่ลง
ต่อให้เทวดามารักษา ก็ไม่อาจยื้อชีวิตได้ครับ
.
เด็กเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่อึดมากๆ จัดการเยียวยาการช็อกด้วยตนเองได้เก่ง
(Compensated Shock) เด็กยังดูดีอยู่เลยแม้ว่าช็อกไปแล้ว
ถ้าเราปล่อยให้ความดันตก หรือเกินเยียวยา (Decompensated Shock)
อาการจะแย่ลงเหมือนลงเหวอย่างรวดเร็ว!
รักษาอะไรก็เอาไม่อยู่แล้วครับ…
.
ดังนั้นการตรวจพบช็อกระยะแรกในเด็กจึงสำคัญมาก
ต้องรีบหาสาเหตุที่ทำให้ช็อก
และรีบให้น้ำเกลือ หรือยาฆ่าเชื้อ หรือให้เลือด ตามแต่สาเหตุนั้นๆ
อย่าปล่อยให้สายเกินแก้ไขครับ
.
เขียนมาซะยาว ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ
สรุปว่า อย่าลืมตรวจการคืนตัวของเส้นเลือดแดงฝอยที่ฝ่าเท้านะครับ
(แคปปิลารี่ รีฟิว-Capillary Refill)
.
วันนี้ไม่ได้วาดรูปครับ พักหนึ่งวัน แต่ไม่พักเขียนโพสต์ 🙂
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก เพจ ห้องฉุกเฉินต้องรู้
อย่างไรก็ตามอาการแสดงทางผิวหนังเหล่านี้ เป็นเพียงการสังเกตอาการเบื้องต้น ซึ่งการวัด CRT ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหลายอย่าง อาจเกิดจากอุณหภูมิแวดล้อมที่เย็นจัดได้ โดยเฉพาะห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ และเด็กเล็กมาก

เรื่องลูกป่วยฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่มีเวลา เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการที่พ่อแม่ศึกษาความรู้รอบตัวเหล่านี้เอาไว้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การสามารถบอกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษา หรือหากสามารถช่วยเหลือลูกเมื่อยังไม่ถึงมือหมอ ก็เป็นเรื่องที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิต และการเจ็บป่วยร้ายแรงได้ดีทีเดียว

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.siamhealth.net/www.pobpad.com /www.nursingtimes.net
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

CDC ชี้ ไฟเซอร์เด็ก ลดเสี่ยงโอมิครอน พร้อมจุดฉีดล่าสุด!

โรคพิษสุนัขบ้า ทำเสียชีวิตแล้ว 1 ราย แค่ถูกสุนัขข่วน

แม่ให้นมห้ามอด ลูกอาจ ขาดวิตามินบี1 อันตรายถึงตายได้

เตือน! 5 โรคหน้าร้อน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up