เด็กไฟดูด รอดได้เพราะ CPR

เปิดใจ! ฮีโร่ลุยน้ำท่วมช่วยเด็กไฟดูด รอดได้เพราะ CPR!!

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กไฟดูด รอดได้เพราะ CPR
เด็กไฟดูด รอดได้เพราะ CPR
workshop การทำ CPR
workshop การทำCPR

ขั้นตอนการทำCPR

หากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 4 นาที จะทำให้สมองตายเนื่องจากขาดออกซิเจนและเลือด ดังนั้นควรช่วยให้เร็วที่สุด และมีสติเมื่อพบเหตุ

  1. นำผู้ที่หมดสติมาอยู่ในที่ ๆ ปลอดภัย จากนั้นตบแรง ๆ ที่ไหล่ หรือเรียกดัง ๆ ดูว่ามีสติ หรือมีการตอบสนองหรือไม่
  2. โทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 โดยบอกรายละเอียดผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ และเบอร์โทรติดต่อกลับ หรือเปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
  3. นำผู้ป่วยให้นอนหงายอยู่บนพื้นราบแข็ง จัดแขนให้อยู่ข้างลำตัว ไม่บิดไปมา
  4. หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ไม่ตอบสนอง ไม่มีสัญญาณชีพ ให้วางส้นมือข้างที่ถนัดไว้ที่ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก แล้วนำมืออีกข้างหนึ่งวางประกบด้านบน ล็อคนิ้วด้านบน และกระดกปลายนิ้วมือด้านล่างขึ้น โน้มตัวไปข้างหน้า ให้แขนตั้งฉากกับผู้ป่วย จะทำให้ส้นมือเป็นจุดที่สัมผัสกับตัวผู้ป่วยเพียงจุดเดียว ไม่วางมือลงไปบริเวณแผ่นอกทั้งหมด เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ซี่โครงด้านซ้ายได้ ในการกดหน้าอก ให้ยกสะโพกขึ้น โน้มตัวไปด้านหน้า ให้แขนตรง ตึง จากนั้นทำการกดหน้าอกทันที แต่ระวังอย่ากดโดนกระดูกซี่โครง เพราะอาจหักได้
  5. กดหน้าอก 30 ครั้ง โดยมีเป้าหมายให้ระบบไหลเวียนเลือดยังทำงาน ถึงแม้ว่าหัวใจจะหยุดเต้นก็ตาม โดยกดให้ยุบลงอย่างน้อย 2 นิ้ว จากนั้นกดแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย คือให้หน้าอกยกตัวขึ้นมาให้สุด แล้วจึงทำการกดครั้งต่อไป ทำติดต่อกัน 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่ 100 – 120 ครั้ง/นาที โดยนับ 1 และ 2 และ 3 ไปจนถึง 30 และเป่าปาก 2 ครั้ง เป็น 1 รอบ โดยการเป่าปาก ให้ใช้สันมือกดที่หน้าผาก และ 2 นิ้วอีกข้างเชยคาง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ขณะทำการเป่า ประกบปากให้สนิท ใช้ 2 นิ้วบีบจมูก แล้วเป่า สังเกตให้หน้าอกของผู้ป่วยยกขึ้น ทำทั้งหมด 5 รอบ ประมาณ 2 นาที
  6. เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยการกดหน้าผากลงเบา ๆ แล้วเชยคางขึ้น
  7. กดหน้าอก 200 ครั้ง โดยทำอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 นาที พร้อมประเมินอาการของผู้ป่วย ด้วยการตบไหล่ และเรียกเสียงดัง ๆ ถ้าไม่มีคนช่วย ให้พักได้ไม่เกิน 10 วินาที จากนั้นให้ทำการกดหน้าอกต่อ จนกว่าผู้ป่วยจะมีความเคลื่อนไหว หรือไอ หรือมีผู้นำเครื่องช็อคหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ AED มา
  8. อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน คือ เครื่อง AED หรือเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ เครื่องสามารถวินิจฉัยจังหวะของการเต้นของหัวใจ และให้การรักษาด้วยการช็อคไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นได้อีกครั้ง ใครที่ได้รับการฝึกก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ระบบอิเลคทรอนิกส์ในเครื่อง จะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ปฎิบัติตาม เริ่มแรกผู้ทำการช่วยเหลือจะต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง AED แล้วดึงแผ่นนำไฟฟ้า ติดตามรูปที่แสดง แผ่นแรกจะต้องนำไปติดที่หน้าอกตอนบน ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และแผ่นที่ 2 จะต้องติดที่ใต้ราวนมซ้าย ด้านข้างลำตัว และที่สำคัญคือ จะต้องติดให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วย จากนั้น เครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวของผู้ป่วยเด็ดขาด เมื่อเครื่องวินิจฉัยเสร็จแล้ว จะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือพูดดัง ๆ ว่า ชั้นถอย คุณถอย ทุกคนถอย แล้วกดปุ่มช็อค ตามสัญญาณที่ปรากฎอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการทำCPR แต่ถ้าเครื่อง AED ไม่สั่งให้ช็อค ให้เราทำCPRอย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำให้เร็วที่สุด จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น

 

ทีมกองบรรณธิการ ABK ขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจ ฝึกวิธีการทำ CPR มาร่วมทำ workshop ฟรี!! ที่งาน Amarin Baby & Kids Fair ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นทุกครั้งภายในงาน

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแม่ฝึกการทำ CPR ยิ่งช่วยลูกได้เร็ว โอกาสรอดยิ่งสูง

ให้ลูกเรียน ว่ายน้ำ เล่นน้ำได้-ว่ายน้ำเป็น ป้องกันลูกจมน้ำ!

ปฐมพยาบาลงูกัด เรื่องควรรู้ช่วงหน้าฝน ทุกนาทีคือชีวิตลูก

10 วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ พ่อแม่ต้องรู้ไว้เอาไปสอนลูก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : บทสัมภาษณ์ – ข่าวอุดร ข่าวโฮมเคเบิ้ว จากเฟซบุ๊กเพจ Udonthani Update

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up