ลูกไม่สบตา ตาเหล่ สายตายาว

แชร์เตือน!ลูกไม่สบตาอย่าปล่อยผ่านอาจสายตายาว ตาเหล่ ได้

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่สบตา ตาเหล่ สายตายาว
ลูกไม่สบตา ตาเหล่ สายตายาว

ตาเหล่ สายตายาว ในเด็กทารกเกิดขึ้นได้ เตือนพ่อแม่หมั่นสังเกต คุณแม่เขียนเล่าประสบการณ์ลูกน้อยไม่สบตา ไม่ใช่เรื่องปกติ ควรรีบปรึกษาหมอตา รู้เร็วแก้ทัน

แชร์เตือน!ลูกไม่สบตาอย่าปล่อยผ่านอาจสายตายาว ตาเหล่ ได้

สายตายาว คุณพ่อคุณแม่รู้ไหม?? ใช่ว่าเป็นแต่ในคนสูงอายุ สายตายาวในทารก เกิดขึ้นได้!!

สายตายาวในเด็ก มีจริงหรือ??

๑.สายตายาวเป็นสายตาของคนเก่าเท่านั้นหรือ? ตอบว่าไม่ใช่เป็นได้ทุกอายุ แม้แต่เด็กเล็กๆ แรกเกิดก็เป็นสายตายาวได้ และส่วนมากมักจะเป็นสายตายาวที่ร่วมกับภาวะตาเขชนิดตาดำเบนเข้าหัวตาที่เรียกว่า “ตาเขเข้าด้านในในเด็กแรกเกิด” ดังที่คุณอาจจะเคยเห็นอยู่บ้างที่เด็กอายุขนาด ๒–๖ ขวบ สวมแว่นตา ราวกับว่าพ่อแม่ซื้อแว่นเป็นของเล่นมาให้ลูกใส่เล่น เพื่อให้แลดูน่ารักน่าเอ็นดู แท้ที่จริงแล้วแว่นตาที่หนูน้อยสวมใส่อยู่เป็นแว่นที่ประกอบโดยใบสั่งแว่นของจักษุแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่วัดแว่นที่ทำงานด้านสายตาเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะ

เมื่อลูกไม่สบตาเหมือนเคย ให้สงสัยสายตายาว ตาเหล่ ในเด็ก
เมื่อลูกไม่สบตาเหมือนเคย ให้สงสัยสายตายาว ตาเหล่ ในเด็ก

ส่วนที่ว่าสายตายาวมีหรือเป็นเฉพาะคนมีอายุ หรือคนวัยกลางคนขึ้นไป (ไม่อยากเรียกว่าคนแก่เลย) เรื่อยไปจนถึงวัย ๖๐ ปีกว่าๆ เป็นเพราะสภาพตาอ่อนกำลังในการปรับความคมชัดของภาพหรือวัตถุที่มองลงทำให้มองไม่ชัดมัวพร่า อาจมองภาพระยะไกลเป็นภาพซ้อน จึงจำเป็นต้องสวมแว่นชนิดเลนส์บวก คือแว่นสำหรับคนสายตายาวนั่นเอง เช่น อ่านหนังสือ ทำงานบนโต๊ะ นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ เย็บปักถักร้อย ทำงานที่ต้องใช้ความละเอียด เช่น ดูตัวเลขทำบัญชีจำเป็นต้องใช้แว่นสายตาที่มีกำลังพอเหมาะกับวัย เริ่มต้นด้วยวัยขึ้นเลข ๔ ก่อน คือ ๔๐ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับอายุ จึงสังเกตได้ง่ายๆว่า คนมีอายุจะสวมแว่นตา ๒ ชั้น ชั้นบนสำหรับดูไกล ชั้นล่างไว้อ่านหนังสือแบบนี้เรียกว่า คนสายตายาวแบบ “คนแก่” โดยแท้

๒. ส่วนคนหนุ่มคนสาวอาจจะสวมแว่นสายตายาวก็ได้ ถ้าเขาหรือเธอคนนั้นเคยมีสายตายาวมาตั้งแต่สมัยแรกเกิด ก็จะติดตามมาจนกระทั่งโต โดยปกติแล้วเท่าที่เห็นๆกัน วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวมักจะสายตาสั้นดังที่ทราบและคุ้นตาคุ้นหู พวกนี้จะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกายวิภาค รูปทรงลูกตา ที่มีลักษณะค่อนข้างจะขนาดโตกว่าคนปกติ หรือยาวรีนั่นเอง อีกทั้งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์อีกต่างหาก คือถ้าพ่อแม่สวมแว่นชนิดสายตาสั้นหนาเตอะละก็ ลูกที่ผลิตออกมาด้วยน้ำพักน้ำแรงแทบจะไม่มีวันหนีภาวะสายตาสั้นไปได้เลย

จึงสรุป และตอบให้สั้นเพียงคำเดียว เด็กสายตายาวได้ไหม? ว่า… “ได้”

ผู้ตอบ น.พ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ เพจหมอชาวบ้าน
แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกสายตายาว เสี่ยง ตาเหล่
แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกสายตายาว เสี่ยง ตาเหล่

แม่แชร์ประสบการณ์จริง ลูก 2 เดือน สายตายาว!!

วันนี้จะมาโพสเป็นอุทาหรณ์ให้แม่ๆ ทุกคนค่ะ ลูกอายุ 2-4 เดือน ถ้าไม่สบตา ไม่มองตามสิ่งของ ไม่ควรมองข้ามค่ะ ลูกชาย อายุ 2 เดือน 23 วัน ไม่ยอมสบตา ไม่มองตามสิ่งของ แม่เลยตัดสินใจพาน้องพบแพทย์ค่ะ
สิ่งที่ทำให้แม่เกิดความ เอ๊ะ! ขึ้นมาก็คือลูกสบตาคนเลี้ยงน้อยลง จนกลายเป็นไม่สบตาเลย ไม่ค่อยมองตามสิ่งของ ถามพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงก็รู้สึกเหมือนกัน ลอง consult หมอออนไลน์ หมอบอกเด็กแต่ละคนพัฒนาการไม่เหมือนกัน รอซัก 6 เดือนถ้าน้องยังไม่สบตาถึงจะบอกได้ แต่แม่นั้น เป็นคนวิตกจริต ลูกเคยมองหน้าแม่ มาวันนี้ไม่มอง เลยตัดสินใจไปหาหมอ และหมอเด็กที่ รพ ก็เทส พร้อมบอกว่า เอ้อ! น้องไม่ค่อยมองจริงๆ คุณแม่ น้องโฟกัสได้แค่นิดๆ หน่อยๆ หมอเด็กเลยรีบไปติดต่อหาหมอตาให้ โชคดีวันนี้เวลานี้ หมอตาออกตรวจ และมีคิวว่างเวลานี้พอดี ลูกเลยได้เจอหมอตาทันที ใช้เวลาตรวจเกือบชั่วโมง ด้วยความที่น้องยังเด็กมากๆ ก็ต้องตรวจไปพักไป ตรวจเสร็จ หมอบอก น้องมีค่าสายตายาว 600 ครับคุณแม่ ต้องใส่แว่นทันที ไม่งั้นน้องจะตาเหล่และเป็น lazy eyes เพราะน้องสายตายาวกว่าเด็กทั่วไป มันเลยทำให้น้องไม่อยากสบตาเพราะน้องเห็นระยะใกล้เบลอมากๆ แต่ไม่ต้องกังวล ปกติแล้ว เด็กทารก จะมีค่าสายตายาวประมาณ 300 กันทุกคน เพียงแต่ของลูก ยาวเกินค่าปกติไปนิสสส พอน้องใส่แว่น น้องจะกลับมาสบตาและโฟกัสได้ดีมากขึ้น เพียงแค่อาจจะต้องใส่ไปจนถึงอายุ 10 ขวบ สายตาน้องถึงจะกลับมาเหมือนคนทั่วไป
*เพิ่มเติม ก่อนจะไปพบแพทย์ น้องชอบมองเหมือนมองไปไกลๆ มองเพดาน มองไฟ มองข้างๆค่ะ  แม่ๆ อย่าลืมคอยสังเกตลูกตัวเองนะคะ ป้องกันการเกิดตาเหล่ และ lazy eyes ในเด็กแรกเกิดค่า
ขอขอบคุณประสบการณ์ดี ๆ จาก คุณแม่ Aom Wasiewicz

สายตายาว (Hyperopia)

ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ในเด็กจะมีสายตายาว ซึ่งจะต่างจากสายตายาวตามอายุในผู้ใหญ่ที่เกิดเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป หากสายตายาวในเด็กมากกว่าเกณฑ์ปกติ ก็ส่งผลทำให้ภาพไม่ชัด โดยเฉพาะเวลามองใกล้ๆ และในบางรายอาจพบว่า สายตายาวที่มากนั้นมีผลทำให้เกิดภาวะตาเขเข้าในได้ด้วย ในบางรายสายตายาวในข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า ข้างที่สายตายาวมากกว่าก็มีความเสี่ยงในการเกิดตาขี้เกียจได้เช่นกัน

การตรวจวัดค่าสายตาในเด็ก
การตรวจวัดค่าสายตาในเด็ก แตกต่างจากผู้ใหญ่หรือไม่

ตาเหล่ ตาเข ในเด็ก

“โดยส่วนใหญ่ หลายคนมีความเชื่อที่ผิดอยู่ว่าโรคตาเหล่หรือโรคตาเขเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษา ทำอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ปกครองมีความเชื่อว่าเมื่อเด็กโตอาการเหล่านี้จะหายไปเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ผิดมาก ในความเป็นจริงแล้วถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะสายเกินไป อย่างไรก็ตาม การป้องกันเบื้องต้น ผู้ปกครองควรป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคตาเหล่หรือโรคตาเข ควรหลีกเลี่ยงการคลอดก่อนกำหนด ในระหว่างตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ระวังภาวะชักในเด็ก ทั้งนี้การป้องกันที่ดีที่สุดเมื่อเกิดความสงสัยว่าเด็กมี ตาเหล่หรือตาเข มีปัญหาเรื่องของการมองเห็นควรรีบเข้ามาตรวจหาสาเหตุและทำการประเมินโดยจักษุแพทย์เพื่อดูว่าเป็นตาเหล่ชนิดที่แก้ไขได้หรือไม่”
Quate พญ.ภิยดา ยศเนืองนิตย์  แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยาเด็กและตาเข โรงพยาบาลสุขุมวิท

ภาวะตาเหล่ แบ่งออกได้เป็น

  1. ตาเหล่หรือตาเขเข้า คือ ตาดำข้างที่เขจะเบนเข้าด้านในหรือมุดเข้าหาหัวตา ตาเขชนิดนี้จะพบได้บ่อยทุกช่วงอายุ และอาจพบได้ในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป จึงอาจเรียกว่าเป็นตาเขเข้าด้านในชนิดแรกเกิด
  2. ตาเหล่หรือตาเขออก คือ ตาดำข้างที่เขจะเบนหรือเฉียงออกด้านนอก (หางตา) เป็นชนิดที่พบได้บ่อย อาจพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ชนิดที่พบบ่อยจะเป็นชนิดที่เป็น ๆ หาย ๆ (Intermittent Exotropia) ซึ่งตาเหล่หรือตาเขชนิดนี้อาจจะเกิดร่วมกับภาวะสายตาสั้น หรือตาข้างที่เขมองไม่ชัด มีความผิดปกติโครงสร้างตา เป็นต้น
  3. ภาวะตาเหล่หรือตาเขที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่มาเลี้ยงดวงตาคู่ที่ 3 4 และ 6
  4. ตาเหล่หรือตาเขในกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตาบางมัดที่ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
  5. ตาเหล่หรือตาเขในแนวบนล่าง
  6. ตาเหล่หรือตาเขที่เกิดจากการกลอกตาผิดปกติ
  7. ตาเหล่หรือตาเขที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคไทรอยด์ เป็นต้น

การวัดสายตาในเด็ก

เนื่องจากธรรมชาติของเด็กชอบเพ่ง จ้องทำให้วัดค่าสายตาได้เป็นสายตาสั้นมากกว่าความเป็นจริง หรือวัดค่าสายตายาวได้น้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องระงับหรือหยุดการเพ่งของเด็กชั่วคราว โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 12ปี ซึ่งวิธีที่เป็นมาตรฐาน คือ การหยอดยาเพื่อลดการเพ่ง แล้วทำการวัดสายตาก็ทำให้ทราบค่าสายตาจริงๆ ของเด็ก ยาชนิดนี้ไม่ใช่ยากลุ่มเดียวกับยาขยายม่านตาในผู้ใหญ่

หลังจากตรวจวัดสายตาเสร็จ จักษุแพทย์จะทำการสั่งแว่นตาตามความเหมาะสม จากนั้นจะนัดตรวจติดตามเป็นระยะเนื่องจากค่าสายตาในเด็กมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด โดยทั่วไปจะหยอดยาวัดสายตา ปีละ 1 ครั้ง จนกระทั่งอายุ ประมาณ 11 ถึง 12 ปี ก็จะสามารถวัดสายตาได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เนื่องจากกำลังการเพ่งลดลงใกล้เคียงผู้ใหญ่ และส่วนมาก ค่าสายตาก่อนหยอดยาและค่าสายตาหลังหยอดยาไม่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุผลว่าไม่ต้องหยอดยาวัดสายตาในเด็กกลุ่มนี้

ตาเหล่ ในเด็ก รักษาได้
ตาเหล่ ในเด็ก รักษาได้

การเตรียมตัวในการตรวจวัดสายตาในเด็ก

  1. ควรเป็นวันที่ไม่มีไข้ ร่างกายปกติดี ไม่มีการสอบหรือการเรียนที่ต้องใช้สายตามากในวันรุ่งขึ้น เพราะยาจะทำให้มองที่ใกล้ไม่ชัด ประมาณ 1 วัน
  2. เตรียมแว่นตาดำ หรือหมวกมาด้วย เพราะหลังการตรวจม่านตาจะขยายเล็กน้อยอาจทำให้มีการแพ้แสงได้ ประมาณ 1 วัน
  3. หยอดยาวัดสายตา ทุก 5 ถึง 10 นาที 2 ถึง 3 ครั้งทั้งสองตา จากนั้นรอประมาณ 30 นาทีจะสามารถตรวจได้ ในระหว่างหยอดยาเด็กอาจงอแงได้ เนื่องจากยาหยอดตาแสบ
  4. หลังตรวจวัดสายตาเรียบร้อย จักษุแพทย์จะทำการตรวจจอประสาทตา เนื่องจากม่านตาขยายพอที่จะสามารถตรวจได้
  5. หลังตรวจเรียบร้อยควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง พักผ่อนในบ้าน ไม่ควรโดนแสงไฟสว่างมาก ๆ
ที่มา: นพ.วรากร เทียมทัดจักษุแพทย์เฉพาะทาง ด้านโรคตาในเด็กและตาเข
ศูนย์จักษุวิทยาเฉพาะทาง โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
จากประสบการณ์จริงที่คุณแม่ได้กรุณาเขียนเล่าเป็นอุทาหรณ์ ทำให้เราตระหนักได้ว่า การหมั่นสังเกตลูกว่ามีพฤติกรรม หรือท่าทางใด ๆ ที่ดูผิดปกติ แตกต่างไปจากเดิม หรือปกติเด็กทั่วไปหรือไม่นั้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากคุณแม่ไม่สังเกตได้ว่าลูกไม่สบตา ไม่มองเวลาเรียก เวลาเล่นด้วยเหมือนเคย และปล่อยละเลยทิ้งไว้ ไม่พาไปพบคุณหมอเพื่อความแน่ใจแล้ว น้องอาจจะมีโอกาสหายน้อยลงไปได้อีก และอาจมีปัญหาสายตายิ่งกว่าเดิม ที่สำคัญการมองที่พร่ามัวสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่ปิดกั้นพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ที่เราอาจไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ การหาข้อมูล การอ่าน การเฝ้าระวัง น่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับแม่ๆ ยุคนี้
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เด็กๆสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเพราะจอคอมพิวเตอร์

ลูกฉลาด ถ้าฉลาดดูแลสายตา

ทำไมป่วย เบาหวาน – อ้วน เสี่ยงมากเมื่อติดโควิด-19

สปสช.ให้สิทธิคัดกรอง ภาวะปัญญาอ่อน เด็กแรกเกิด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up