ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน

ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน แนะวิธีเลือกยา คุมได้ไม่อ้วนไม่บวม

Alternative Textaccount_circle
event
ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน
ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน

ความเชื่อที่ 4 ยาคุมกินแล้วอ้วน

เป็นความเชื่อที่ √√√

ยาคุมมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่มได้จากรายงานวิจัย มีการพบว่า ยาคุมทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มได้จริง จากฮอร์โมน โปรเจสติน (Progestins) เอสโตรเจน (Estrogen) ในยาคุมกำเนิด ทำให้ร่างกายเก็บน้ำ เกลือ และของเหลวมากขึ้น ทำให้บวมน้ำจนดูมีน้ำหนักมากขึ้นส่งผลให้น้ำหนักตัวมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นความต้องการอาหาร ดังนั้น การกินยาคุมแล้วน้ำหนักตัวขึ้น เกิดจากการเลือกสูตรยาคุมกําเนิดไม่เหมาะสมกับร่างกายของตัวเอง ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น

ความเชื่อที่ 5 ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน ไม่มีจริง

เป็นความเชื่อที่ XXX

การรับประทานยาคุมแล้วทำให้น้ำหนักเพิ่มเป็นเรื่องจริง แต่ ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน มีจริง เพราะหากสาว ๆ ที่กลัวผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดว่าจะทำให้อ้วนหรือบวมยาคุม แนะนำว่าให้เลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนที่ต่ำ ในปัจจุบันมียาคุมกำเนิดหรือยาปรับฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถพิจารณาเลือกยาคุมกำเนิดที่มีตัวยา ดังนี้

  • เลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน 0.02 มิลลิกรัม จะช่วยลดอาการข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำหรือภาวะบวมยาคุม
  • เลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีตัวยา “ดรอสไพรีโนน” (Drospirenone) ช่วยลดอาการบวมน้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • เลือกใช้ตัวยา “ไซโปรเตอโรน อะซิเตท” (Cyproterone acetate) ช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น หน้ามัน, สิวเห่อ หรืออาการขนดก และยังช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลสดใสขึ้น

ดรอสไพรีโนน เป็นยากลุ่มโปรเกสตินที่ใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ และใช้รักษากลุ่มอาการหลังหมดประจำเดือน นิยมใช้กันมานาน ส่วนการที่มีฮอร์โมนเพิ่มจากยาคุมแล้วกระตุ้นความอยากอาหาร สามารถควบคุมได้โดยพยายามลดความต้องการอาหารลง อาจออกกำลังกายเร่งการเผาผลาญ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้น ผัก โปรตีนจากเนื้อสัตว์ มากกว่าแป้ง

กินยาคุมย้อนศรเพิ่มขนาดหน้าอก จริงหรือ?
กินยาคุมย้อนศรเพิ่มขนาดหน้าอก จริงหรือ?

ความเชื่อที่ 6 บวมยาคุม เป็นอาการที่เกิด และหายได้เอง

เป็นความเชื่อที่ √√√

ในยาคุมกำเนิดจะมีส่วนประกอบขอบฮอร์โมนอยู่ 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสามารถเพิ่มความอยากอาหาร ในขณะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีปริมาณสูงมักจะเพิ่มการกักเก็บของเหลวหรือน้ำ ทำให้เกิดอาการบวมน้ำในช่วงแรก ๆ หรือที่หลายคนรู้จักกันดีว่า “บวมยาคุม” เป็นอาการที่เกิดและหายไปเองได้ กลไกธรรมชาติของร่างกายผู้หญิงปกติ หลังมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ร่างกายจะมีการเก็บกักของเหลว และอาหารแบบอัตโนมัติเพื่อเตรียมพร้อมหากมีการปฎิสนธิของทารกในครรภ์ และหากไม่มีการปฎิสนธิของเหลวเหล่านี้ก็จะหายไปได้เอง ซึ่งอาการบวมน้ำที่เกิดขึ้นไม่ใช่ไขมันแต่อย่างใด สรุปได้ว่า ยาคุมทำให้อ้วนได้ในสาว ๆ หากเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนที่สูง และหากปริมาณฮอร์โมนลดลง อาการบวมยาคุมก็หายไปเองได้

ความเชื่อที่ 6 ยาคุม กับแชมพู ทำให้ผมยาวเร็ว แก้ผมร่วงได้

เป็นความเชื่อที่ XXX

การใช้ยาคุมเอาไปผสมกับแชมพู หรือทาหมักชโลมเส้นผม แล้วเชื่อว่าทำให้ผมยาวเร็วขึ้น มีทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่นำวิธีนี้ไปใช้ บางคนก็รู้สึกว่ายาวขึ้นจริงจนต้องแชร์ข่าวต่อ โดยไม่ทราบว่าเส้นผมยาวขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ได้มาจากการผสมสูตรพิเศษเหล่านี้ เพราะว่ายาเม็ดคุมกําเนิด มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณผู้หญิง เมื่อรับประทานเท่านั้น ปกติยาคุมกำเนิดจะดูดซึมทางระบบอาหาร ฮอร์โมนและตัวยาถูกสร้างมาให้ใช้สำหรับรับประทานเท่านั้น จึงไม่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ อีกทั้งอาจทำให้ประสิทธิภาพของแชมพูลดลง ส่วนตัวยาคุมจะโดนล้างออกไปหมดโดยไม่ซึมเข้าผิวหนังบนหนังศีรษะ ทำให้ยาคุมไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ภายนอก สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือต้องการให้ผมยาวเร็ว แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อได้รับการรักษาที่ตรงจุด หรือถ้าไม่สะดวก สามารถปรึกษาร้านขายยาใกล้บ้านเพื่อให้จัดหายาที่เหมาะสมกับปัญหาเส้นผม

ความเชื่อที่ 7 ยาคุมกินย้อนศร แล้วช่วยให้หน้าอกใหญ่ขึ้น

เป็นความเชื่อที่ XXX

เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ที่สำคัญการกินยาคุมกําเนิดแบบย้อนศร นอกจากจะไม่ได้ช่วยทําให้หน้าอกใหญ่ขึ้น ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์รองรับ แล้วยังจะทําให้มีโอกาสในการเสี่ยงตั้งครรภ์สูงขึ้นได้อีก ตัวอย่างเช่น ในกรณีกินยาคุมกําเนิดชนิด 28 เม็ดโดยที่เป็นเม็ดฮอร์โมน 21 เม็ดแรก ส่วนอีก 7 เม็ดสุดท้ายจะเป็นเม็ดแป้งล้วนล้วนไม่มีตัวฮอร์โมนอยู่เลย หากสาว ๆ กินแบบย้อนศรทําให้ 7 เม็ดแรกที่เรากินเข้าไป มีแต่เม็ดแป้ง ไม่มีฮอร์โมนผสมเลยจึงทําให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ควรทานยาคุมตามลูกศร ไม่ควรเชื่อเรื่องการทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้น

ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอย่างไร
ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอย่างไร

ความเชื่อที่ 8 ยาคุมฉุกเฉินกินบ่อย ๆ อันตราย

เป็นความเชื่อที่ √√√

หลายคนตั้งคำถามว่า “กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ ไม่ดีจริงหรือ” คำตอบคือ จริง แม้ว่ายาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ แต่หากการรับประทานบ่อยเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเกิน 2 กล่องต่อเดือน ควรใช้ยามจำเป็นเท่านั้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.praram9.com/https://www.petcharavejhospital.com/https://www.fascino.co.th /https://www.amara-clinic.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ยาคุมยี่ห้อไหนกินแล้วไม่อ้วน ไม่บวม หน้าใสไร้สิว เช็กเลย!

8 เรื่องควรรู้ก่อนใช้ยาคุม กับ 7 เรื่องยาคุมฉุกเฉินที่รู้ไว้ไม่พลาด

แพทย์จุฬาชี้ วิธีใช้ “ยาคุมกำเนิด” ให้ปลอดภัย ช่วยป้องกัน “โรคมะเร็ง” บางชนิดได้

ตัดเล็บวันไหนดี เผยเคล็ดลับฤกษ์ดี ดวงรุ่งเชื่อไว้ รวย!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up