วิจัยเผยข้อดี! ลูกติดตุ๊กตา ติดผ้าเน่า มีผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ

event

บ้านไหน ลูกติดตุ๊กตา ติดผ้าเน่า แม่ๆ อย่าเพิ่งทิ้ง น้องเน่า ของลูก!! ผลวิจัยเผย! ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดผ้าเน่า หรือติดหมอนเน่า มีผลต่อพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ลูกติดตุ๊กตา ติดผ้าเน่า ส่งผลต่อพัฒนาการร่างกายและจิตใจ ยังไง?

ทีมแม่ ABK เชื่อว่ามีหลายบ้านที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเคยพบเจอปัญหา เมื่อลูกน้อยเริ่มมีผ้านุ่มๆ หมอนนิ่มๆ หรือตุ๊กตาน่ารักสักตัวที่ติดหนึบไม่ยอมปล่อย แม้จะเริ่มฉีกขาด เปื่อยเป็นขุย และมีกลิ่นตุๆ ก็ยังเก็บไว้ไม่ห่างตัว ซึ่งเรื่องนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่า ลูกติดตุ๊กตา หรือผ้าเน่า หมอนเน่า จะทำให้เป็นเด็กไม่ยอมโต แต่ทางจิตวิทยาแล้ว ผ้าเน่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตตามปกติของเด็กเล็ก

ซึ่งแม้ว่าสิ่งของเหล่านั้นจะชำรุดหรือหมดสภาพไปแล้ว แต่นั่นก็เป็นเสมือนเพื่อนที่ทำให้รู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้ โดยพฤติกรรมที่ ติดตุ๊กตา ติดผ้าเน่า หรือหมอนเน่า ในทางจิตวิทยามีชื่อเรียกอย่างว่า Transitional Objects หรือ Comfort Objects หรือ Security Blanket

อันหมายถึง “วัตถุหรือสิ่งของที่ให้ความรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย และสบายใจที่ได้อยู่ใกล้ๆ” ทั้งยังหมายถึงวัตถุแห่งการเปลี่ยนผ่านความทรงจำ คือไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน แต่ของสิ่งนั้นก็ยังคงช่วยให้รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และสบายใจทุกครั้งที่ได้กอดหรือสัมผัส

โดยจะเห็นได้จาก ลูกไม่สามารถขาดสิ่งนั้นได้และต้องเอาติดตัวไปด้วยทุกที่ นั่นเป็นเพราะเมื่อลูกน้อยถึงวัยกังวลเรื่องการแยกจาก หรือกังวลกับการต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งความคิดของเด็กเล็กจะยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่า การที่แม่ไม่อยู่ตรงหน้าคือไม่ได้หายไปไหน และยังไม่สามารถหาวิธีปลอบตัวเองได้ จึงต้องมีสิ่งของแทนใจเอาไว้ปลอบประโลมยามที่รู้สึกไม่สบายใจ เช่น หิว ง่วง หรือรู้สึกกังวลใจนั่นเอง

เรียกได้ว่า “น้องเน่า” นี้เป็นตัวช่วยให้ลูกน้อยเปลี่ยนผ่านจากภาวะเป็นหนึ่งเดียวกับแม่ สู่ภาวะที่ตระหนักรู้ว่าแม่กับตัวเขาเป็นคนละคนกัน “น้องเน่า” จึงเป็นเหมือนตัวแทนของแม่ที่ทำให้เด็กทารกรู้สึกปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรแอบเอาไปทิ้งโดยที่เจ้าตัวยังไม่ยินยอมเด็ดขาด

วิจัยเผยข้อดี..ของการที่ลูกติดตุ๊กตา

จากการวิจัยพบว่า ลูกติดตุ๊กตา ผ้าเน่า ยังส่งผลดีกับลูกอีกด้วย คือเมื่อปล่อยให้ลูกเล่นในห้องที่ไม่คุ้นเคยโดยมีสิ่งที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยอย่างแม่ หรือผ้าเน่าอยู่ ลูกก็จะกล้าเล่น สำรวจสิ่งต่างๆ และอดทนไม่ร้องไห้ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีอะไรอยู่ด้วยเลย แต่ผ้าเน่าจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเด็กรู้สึกผูกพันกับมันจริงๆ เท่านั้น

ด้านสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychological Association) ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า มันเป็นได้ทั้งตุ๊กตา ผ้าห่ม หรือสิ่งของอื่นๆ ที่อยู่กับเราตั้งแต่เวลาเด็กๆ และสามารถช่วยให้ผ่อนคลายความกระวนกระวาย รวมถึงความเครียดต่างๆ ได้ ซึ่งในทางจิตวิทยาแล้ว Transitional Object ถือว่ามีความสำคัญกับช่วงเวลาในการเติบโตของเด็กมาก โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กต้องแยกขาดการนอนจากพ่อแม่ (หมายถึงต้องเริ่มนอนคนเดียว) คือเมื่อไม่มีพ่อแม่ให้นอนกอดแล้ว สิ่งของเหล่านี้แหละ ที่ได้กลายเป็นเพื่อนคนใหม่ที่ช่วยให้เราในวัยเด็กๆ นอนหลับได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น

ลูกติดตุ๊กตา

อย่างไรก็ตามการที่ลูกติดตุ๊กตา ติดน้องเน่า หรือของเล่น ก็นับว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมที่เน้นการพึ่งพาตัวเอง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยวัย 1-2 ขวบ แต่ถ้าลูกไม่ติดของเล่นเลย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเด็กผิดปกติ โดยกุมารแพทย์แนะนำให้เด็กสามารถมีของเล่นหรือสิ่งของติดตัวเอาไว้เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่อาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายใจ เช่น ไปโรงเรียน สำหรับลูกน้อยอายุไม่เกิน 3 ขวบ
แต่ถ้าตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ แนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ควรพยายามพูดคุยให้ลูกเลิกติดของเล่น เพราะวัยนี้จะรู้แล้วว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้หายไปไหน นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกน้อยเริ่มต้นพัฒนาทักษะในการควบคุมอารมณ์เมื่อรู้สึกผิดหวังหรือกังวลกับการต้องปรับตัวในสถานการณ์ใหม่ ๆ ในแบบที่เหมาะสมกับวัยได้อีกด้วย

และเมื่อโตมาเป็นผู้ใหญ่ขึ้น หลายคนก็ยังคงคุ้นชินอยู่กับน้องเน่าเหล่านี้ และแทบจะไม่อยากแยกขาดจากพวกมันเลย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลก ที่ “น้องเน่า” จึงมีความสำคัญคล้ายกับเพื่อนสนิทข้างกายในเวลาที่ลูกต้องการความรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย และปลอดภัยในเวลานอนหลับ อีกทั้งยังมีคุณค่ารวมไปถึงเพื่อนที่ช่วยให้เราสบายใจในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านของชีวิตด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่ไปสู่วัยกลางคน ที่ต่างก็ต้องการความรู้สึกหรือที่พึ่งทางใจกันอยู่เสมอๆ … เพราะการเปลี่ยนผ่านและการเติบโตไม่ใช่เรื่องง่าย การกลับมาซุกตัวอยู่กับน้องเน่าที่คุ้นชิน ก็มีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจจากเรื่องราวมากมายที่ยากลำบากได้ไม่น้อยใช่มั๊ยล่ะค่ะ


ข้อมูลโดย พญ. มัณฑนา ชลานันต์ แพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ www.facebook.com/BangkokHospitalthematter.cowww.voicetv.co.thhellokhunmor.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓

ไอเดียสุดเจ๋ง! พับตุ๊กตาหมีด้วยผ้าขนหนูผืนเดียว (มีคลิป) เสริมพัฒนาการ 4 ด้านให้ลูกรัก

วิธีทำความสะอาดของเล่น ให้สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค

ประโยชน์ของการเล่น “จ๊ะเอ๋” ที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิด-6 เดือน แบบไหนเหมาะกับวัยลูก?

5 หลักการเลือกซื้อ ของเล่นเด็ก ให้ปลอดภัยจากสารเคมี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up