ขวดนม กับการเลือกซื้อ

รวมข้อมูลสำคัญ!!ที่คุณแม่ควรรู้ก่อนซื้อ ขวดนม

Alternative Textaccount_circle
event
ขวดนม กับการเลือกซื้อ
ขวดนม กับการเลือกซื้อ

ของคู่กายของคุณแม่ลูกอ่อนเห็นจะเป็น ขวดนม ที่เราอาจคิดว่าเลือกใช้แบบไหนก็ได้ แต่อยากให้ลองศึกษาข้อมูลเหล่านี้ก่อนซื้อ เพราะลูกน้อยบอกไม่ได้ว่าขวดนั้นดีไหม

รวมข้อมูลสำคัญ!!ที่คุณแม่ควรรู้ก่อนซื้อ ขวดนม

ในปัจจุบันคุณแม่คงจะเห็นกันว่า ขวดนม มีขายอยู่มากมาย หลากหลาย ทั้งแบบที่เป็นยี่ห้อที่เชื่อถือได้ และแบบที่ไม่มียี่ห้อบ่งบอก แท้จริงแล้วขวดนมนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราเหล่าคุณแม่แม่ลูกอ่อน เพราะลูกน้อยของเราต้องสัมผัสใกล้ชิดกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกซื้อขวดนมแบบพิถิพิถันเสียหน่อย การมีข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณานั้นก็จะช่วยลดความเสี่ยง สารเคมี และอันตรายแฝงที่มากับขวดนมที่คุณแม่อาจไม่ทันสังเกตุ และที่สำคัญเจ้าตัวน้อยของเราก็ไม่สามารถพูดบอกคุณแม่ได้เสียด้วย

นอกจากข้อมูลในการเลือกซื้อแล้ว วันนี้ทาง ทีมแม่ ABK ยังได้นำข้อมูลสำคัญของขวดนม ของลูกมาเล่าสู่กันฟังด้วย เพื่อให้คุณแม่ได้มั่นใจเวลายื่นขวดนมให้แก่ลูกว่าไม่ได้เป็นการทำร้ายลูกทางอ้อม

ขวดนม ขวดนี้ที่ลูกชอบ
ขวดนม ขวดนี้ที่ลูกชอบ

ข้อมูลสำคัญส่วนที่ 1

ข้อดี- ข้อเสียของขวดนม

  • ข้อดี ขวดนมสามารถทำให้คุณแม่รู้ถึงปริมาณนมที่แน่นอนที่ลูกได้รับในแต่ละครั้ง หรือแต่ละวัน จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกอิ่มไหม และกำหนดได้สารอาหารได้ชัดเจน

ข้อเสีย การป้อนนมลูกโดยใช้ขวดนม ไม่ได้ให้ลูกดูดนมจากเต้านมแม่ ทำให้แม่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุน

  • ข้อดี ขวดนม และหากในขวดนมเป็นนมผงสำหรับเด็กด้วยแล้ว จะมีการย่อยที่ช้ากว่าการดื่มนมจากเต้านมของแม่ ทำให้ลูกอิ่มนานกว่า

ข้อเสีย โอกาสที่ลูกจะมีปัญหาการขับถ่าย ท้องอืด ท้องเสีย ได้ง่ายกว่าการดูดนมแม่ หากล้างขวดนมไม่สะอาด นมเสีย ลูกแพ้นมวัว เป็นต้น

  • ข้อดี คุณแม่จะมีเวลามากขึ้น ไม่ต้องมาคอยอุ้มลูกให้นมจากเต้า หากต้องการให้ลูกได้รับแต่นมแม่ก็สามารถปั๊มนมแม่มาใส่ขวดเพื่อจะได้มีทั้งเวลาว่าง และลูกก็ได้รับนมแม่เหมือนเดิมอีกด้วย

ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในการซื้อขวดนมและนมผงนั้นแพงกว่าการให้ลูกดื่มนมจากเต้านมของแม่

ข้อมูลสำคัญส่วนที่ 2

เลือกซื้อขวดนมแบบไหนดี ?

ในปัจจุบันขวดนมตามท้องตลาดมีให้เลือกซื้อหลายรูปแบบ แต่ก็เป็นเรื่องยากในการระบุลักษณะขวดนมที่เหมาะสำหรับทารกอย่างชัดเจน เพราะขวดนมแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัสดุที่ใช้ผลิต หรือรูปทรงของขวดนม เป็นต้น

ขวดนม คู่นมผงหรือนมแม่
ขวดนม คู่นมผงหรือนมแม่

เลือกจากวัสดุที่ใช้ผลิตขวดนม

ขวดนมพลาสติก

  • ข้อดี น้ำหนักเบา ทนทาน ไม่แตกง่าย จึงเหมาะกับเด็กที่สามารถถือขวดนมทานเองได้ ป้องกันการโยน ตกแตก
  • ข้อเสีย อายุการใช้งานสั้นกว่าแบบแก้ว ทำให้สีหมองขุ่นเมื่อใช้ไปนาน ๆ มองไม่เห็นว่าข้างในสะอาดหรือไม่ หากเป็นขวดนมมือสองหรือขวดนมเก่าที่ใช้แล้วก็อาจมีสาร BPA (Bisphenol A) ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งสารนี้ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเพศในร่างกาย และอาจรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อได้

ขวดนมแก้ว

  • ข้อดี ใช้งานได้นาน และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย และสะอาดแน่นอน เพราะสามารถฆ่าเชื้อด้วยวิธีการต้มได้
  • ข้อเสีย หนักกว่าขวดนมแบบพลาสติก และอาจหล่นแตกได้ แต่ขวดนมแก้วบางรุ่นก็ถูกออกแบบให้มีปลอกหุ้มพลาสติกกันแตก

ขวดนมแบบใช้แล้วทิ้ง

  • ข้อดี ใช้งานสะดวก ทำความสะอาดง่าย เหมาะสำหรับใช้เมื่อต้องเดินทาง ด้านนอกเป็นพลาสติก ด้านในเป็นถุงปลอดเชื้อ เมื่อใช้งานเสร็จก็สามารถถอดทิ้งและเปลี่ยนขวดใหม่ได้ทันที
  • ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายสูง เพราะถุงปลอดเชื้อมีราคาสูง และใช้ได้แค่ครั้งเดียว

ขวดนมสำหรับเด็กโคลิก

  • ข้อดี เป็นขวดนมเฉพาะที่ทำให้เวลาลูกทานนมแล้วเกิดแก๊สในท้องน้อยที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการที่เด็กเกิดอาการโคลิก
  • ข้อเสีย มีราคาสูง หาซื้อยาก ยุ่งยากในการทำความสะอาด
ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูก
ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูก

เลือกจากรูปทรงและลักษณะของขวดนมแต่ละชนิด

  • ขวดนมทรงมาตรฐาน มีลักษณะเป็นทรงกระบอก อาจมีส่วนโค้งเว้าด้านข้างที่ช่วยให้ง่ายต่อการเทนม ทำความสะอาด และกะปริมาณนมด้วยตาเปล่า
  • ขวดนมคอโค้ง ขวดนมลักษณะนี้จะมีคอขวดโค้ง จับได้ถนัดมือ ซึ่งทำให้นมอยู่ก้นขวดและช่วยป้องกันเด็กดูดลมเข้าไป แต่อาจเติมนมได้ลำบาก เพราะต้องเอียงขวดหรือใช้กรวยเพื่อเทนม
  • ขวดนมคอกว้าง ขวดนมมีปากดูดกว้างและตัวกระบอกสั้น โดยเชื่อว่าขวดที่มีลักษณะคล้ายกับเต้านมแม่นี้อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทารกที่ต้องดื่มนมจากขวดสลับกับนมจากอกแม่
  • ขวดนมแบบมีช่องระบายอากาศ ขวดจะมีท่อคล้ายหลอดอยู่ตรงกลางสำหรับระบายลมและฟองอากาศ ซึ่งเชื่อว่าขวดแบบนี้สามารถป้องกันอาการโคลิคและการเกิดแก๊สในท้องได้ แต่อาจลำบากในการประกอบ จัดเก็บ และทำความสะอาดขวดนม เพราะมีอุปกรณ์หลายชิ้น

เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ : ถ้าคุณแม่ตัดสินใจว่าจะใช้ขวดนมแบบไหนแล้ว ควรซื้อมาเพียงแค่ 1-2 ขวดก่อน เพื่อนำมาลอง และสังเกตุดูว่าลูกชอบแบบไหน จึงค่อยซื้อเพิ่มก็เป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อขวดนม

  • สังเกตรอยแตกหรือรอยร้าวบริเวณขวดนมทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะรอยต่าง ๆ อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมพลาสติกใสและพลาสติกโพลีคาร์บอเนต โดยสังเกตง่าย ๆ ได้จากเลข 7 หรือตัวอักษร PC ที่พิมพ์อยู่บนผลิตภัณฑ์ เพราะขวดนมดังกล่าวอาจปนเปื้อนสาร BPA เมื่อโดนความร้อนสูง ซึ่งเป็นสารที่อันตรายส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ การพัฒนาระบบประสาท และพฤติกรรมของทารก รวมถึงเด็กเล็กด้วย ดังนั้นจึงอยากให้พ่อ แม่ เลือกซื้อขวดนมที่ผลิตจากพลาสติก โพลีพรอพพีลีน หรือ PP หรือให้สังเกตบริเวณข้างขวดจะมีเขียนไว้ว่า BPA Free หรือ PP  โดยมีวิธีการดูง่าย ๆ ด้วยการเลือกซื้อขวดนมที่มีสัญลักษณ์เลข 2 หรือเลข 5 บนผลิตภัณฑ์ ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นพลาสติกชนิดที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ กุมารแพทย์ หน่วยกุมารเวชศาสตร์สังคม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ในฐานะเลขานุการโครงการอาหารปลอดภัยเด็กไทยพ้นสารพิษพลาสติก กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตั้งคณะกรรมการควบคุมการผลิตขวดนมพลาสติกสำหรับทารก และเด็กเล็กขึ้น เพื่อที่จะพิจารณาว่าควรออกแนวทางให้ผู้ประกอบการงดผลิตขวดนมจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต เนื่องจากพลาสติกชนิดดังกล่าวมีสารเคมี BPA ที่มีผลวิจัยจากทางยุโรปเมื่อประมาณปี 2551 โดยวิจัยในสัตว์ทดลองให้กินนมจากขวดนมที่ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนตอย่างต่อเนื่อง พบว่า สารเคมีดังกล่าวได้ปนเปื้อนมาในน้ำนม และมีผลในการไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง รวมถึงไปมีผลต่อการผลิตอสุจิได้น้อยลง ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ของสัตว์ทดลอง ทำให้ในหลายประเทศ เช่น แคนาดา สหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ ออกประกาศห้ามผลิต และจำหน่ายขวดนมที่ผลิตจากโพลีคาร์บอนเนต ไปแล้ว เพราะเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบประสาทและพฤติกรรมของทารกและเด็กเล็ก รวมไปถึงการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ด้วย

พญ.รัชดา กล่าวต่อไปว่า สำหรับในประเทศไทย พบว่า มีการจำหน่ายขวดนมที่ผลิตจากโพลีคาร์บอนเนตในท้องตลาดมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้สุ่มนำขวดนมที่วางจำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 30 ขวด มาทดสอบหาสารเคมี BPA ก็พบว่า มีสารเคมี BPA ปนเปื้อนในน้ำนมเช่นกัน และยังพบด้วยว่าหากอุณหภูมิของน้ำยิ่งสูงเท่าใด ก็จะส่งผลให้มีสารเคมีดังกล่าวปนเปื้อนออกมาในจำนวนมาก

เนื้อหาข่าวจาก MGR Online เผยแพร่วันที่ 26/8/2554
ปั๊มนมแม่ใส่ขวดนม
ปั๊มนมแม่ใส่ขวดนม

เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนขวดนม ?

  • สังเกตเห็นว่าขวดนมดูไม่เหมาะมือทารกหรือเด็กอาจถือขวดไม่ถนัด โดยขวดนมในท้องตลาดจะมีขนาด 2 4 และ 8 ออนซ์ คุณแม่ก็สามารถขยับขนาดตามวัย และปริมาณการกินของลูกได้
  • ขวดนมมีรอยแตก ร้าว รอยขีดข่วน หรือรอยรั่ว
  • สีของขวดนมเปลี่ยนไป หรือมีกลิ่นเหม็น

ข้อมูลสำคัญส่วนที่ 3

วิธีทำความสะอาดขวดนม

เมื่อได้ขวดนมที่ถูกใจกันแล้ว การดูแลรักษาขวดนมให้สะอาด ก็เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นควรใส่ใจทำตามขั้นตอนเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาปนเปื้อนในนมที่เป็นอาหารของลูกน้อยได้

  • หลังจากที่เด็กดื่มนมจากขวดนมเสร็จ ให้ล้างขวดนมและจุกนมทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับเด็ก แล้วลวกด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น
  • ใช้แปรงสำหรับทำความสะอาดขวดนม และควรแน่ใจว่าสามารถทำความสะอาดคราบนมที่ติดอยู่ในขวดนมออกจนหมด
  • เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ล้างขวดนมอีกครั้งด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากให้แห้ง ต้มหรือใช้ที่นึ่งขวดนมเพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกทางหนึ่ง
เด็กหลับคาขวดนมเสี่ยงฟันผุ
เด็กหลับคาขวดนมเสี่ยงฟันผุ

ที่กล่าวมานั้น เป็นข้อมูลหลัก ๆ สำคัญที่คุณแม่ควรรู้ก่อนการเลือกซื้อขวดนม เพราะเราจะได้มีแนวทางในการเลือกได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด บางครั้งแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรามองข้ามไป อย่างเช่นขวดนมนั้น อาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้าย ทำให้ป่วยบ่อยหรือต้นเหตุขัดขวางพัฒนาการของลูกได้ เช่น ขวดนมที่เล็กไป รูที่จุกนมที่มีขนาดไม่เหมาะสม เล็กไปดูดยาก ใหญ่ไปลูกสำลัก เป็นต้น ลูกก็อาจได้รับปริมาณนมไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเขาได้

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก pobpad / helloคุณหมอ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อย่าให้ลูกดูดขวด! ถ้ายังไม่รู้ ภาวะสับสนหัวนม

วิธีป้อนขวด ให้นมลูกอย่างถูกวิธี ป้องกันลูกสำลัก ลดความเสี่ยงลูกฟันผุ

แนะวิธี การเลือกขวดนม จุกนม ให้ลูกแรกเกิดที่ดีและปลอดภัย

เลิกเต้าไม่เศร้าใจ เผยเทคนิค หย่านม ทำได้ใน 10 วัน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up