โรคระบาดในเด็กเล็ก

ผู้เชี่ยวชาญคาด อนาคตโควิดจะกลายเป็น โรคระบาดในเด็กเล็ก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคระบาดในเด็กเล็ก
โรคระบาดในเด็กเล็ก

โรคระบาดในเด็กเล็ก – นักวิจัยคาดการณ์ว่าไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโรค โควิด-19 อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่นในอนาคต และผู้ที่เสี่ยงที่จะติดเชื้อส่วนใหญ่จะกลายเป็นเด็กเล็กที่อายุน้อยเกินกว่าที่จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ผู้เชี่ยวชาญคาด อนาคตโควิดจะกลายเป็น โรคระบาดในเด็กเล็ก

ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาที่โลกต้องเชิญกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ มีการรสร้างแบบจำลองที่คล้ายกันในหลายประเทศ และกลุ่มอายุ ทำให้นักวิจัยสามารถคาดการณ์แนวโน้มของโควิด-19 ได้ว่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไรในอีก 1 ปี 10ปี หรือ 20 ปีนับจากนี้

ดร. ออตตา บียอร์นสตัด  นักนิเวศวิทยาเชิงทฤษฎี  กล่าวกับ Medscape Medical News ว่า “เราอยู่ท่ามกลาง การระบาดใหญ่ของไวรัส ซึ่งเป็นคำที่นักระบาดวิทยาใช้เมื่อไม่เคยพบไวรัสมาก่อน ความแปลกใหม่ของ COVID-19 ก็เหมือนกับในอดีตที่เรารู้จักโรคหัดหรือไข้ทรพิษครั้งแรก  แม้ว่าอาจไม่มีอะไรแน่นอน แต่นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาและนอร์เวย์มีข้อมูลมากพอที่จะคาดการสถานการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ COVID-19 อาจไม่ถูกกำจัดให้หมดไปได้ แต่จะเปลี่ยนสถานะเป็นโรคประจำถิ่นเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ มีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้

แยกให้ออก ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่กับโควิด -19 อาการ ต่างกันยังไง?

งานวิจัยชี้! เด็กป่วยโควิด ส่วนใหญ่หายเป็นปกติได้ภายในหนึ่งสัปดาห์

แม่แชร์ เมื่อลูกติดโควิด! วิธีรักษา Home Isolation เด็ก

โรคระบาดในเด็กเล็ก
โรคระบาดในเด็กเล็ก

การศึกษาในครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ในวันที่ 11 สิงหาคมใน Science Advances โดย ดร.บียอร์นสตัด กล่าวว่าหากสถานการณ์ของโรคเป็นไปตามที่คาดการณ์  ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันโรคจากการได้รับวัคซีนหรือการสัมผัสกับโรคหลายครั้งเช่นเดียวกับที่ไวรัสที่ “ทำให้เกิดโรคหวัดในเด็ก”  “หากเราสัมผัสกับไวรัสหลายครั้งในช่วงชีวิตแบบซ้ำๆ ถึงแม้จะติดเชื้อแต่อาการก็จะไม่รุนแรง

“จำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างการระบาดใหญ่เป็นตัวเลขที่น่ากลัว เช่นเดียวกับการระบาดครั้งใหญ่ครั้งก่อนๆ” บียอร์นสตัดกล่าว นอกจากเด็กแล้วยังเป็นไปได้ที่ไวรัส SARS-CoV-2 อาจเสี่ยงต่อผู้สูงอายุแต่โอกาสอาจเป็นไปได้น้อยกว่า

การสร้างแบบจำลอง

“ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อให้เกิดการระบาดใหญ่เมื่อหนึ่งศตวรรษก่อน ปัจจุบันกลายเป็นเพียงไวรัสที่เกิดตามฤดูกาล ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่ COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นในอนาคตได้เช่นเดียวกันและไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อประชากรที่เคยสัมผัสโรค หรือมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ” แพทย์หญิง โมฮันดาส ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในเด็กที่โรงพยาบาลเด็กลอสแองเจลิส กล่าว

“สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า เรามีวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าไข้หวัดใหญ่” ความพร้อมและประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็กเล็กในอนาคตน่าจะส่งผลกระทบสำคัญต่อการวิวัฒนาการของโรค”

ดร.บียอร์นสตัด กล่าวว่า “มีการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมากในเด็กและคนหนุ่มสาวซึ่งทำให้เกิดการระบาดใหญ่ในขณะนี้” นักวิจัยเชื่อว่า หากความรุนแรงของ COVID-19 ในเด็กโดยทั่วไปลดลง สถานการณ์ของโรคโดยรวมก็จะลดลงเช่นกัน เนื่องจาก SARS-CoV-2 จะกลายเป็นเพียงโรคประจำถิ่น ในขณะที่มีบางกรณีของโรคร้ายแรงในกลุ่มอายุนั้น แต่ก็พบได้ยากมาก

ดร. เทย์เลอร์ ฮีลด์ กล่าวว่า “มีแนวโน้มมากขึ้น ที่ SARS-CoV-2 จะไม่ถูกกำจัดให้สิ้นซากไป แต่กลายเป็นไวรัสประจำถิ่น อาจจะเป็นไวรัสตามฤดูกาล เมื่อตระหนักถึงเหตุการณ์นี้ บทความนี้จะให้แบบจำลองตามอายุของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

“มันสมเหตุสมผลแล้วที่เด็ก ๆ จะกลายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ  SARS-CoV-2 ได้มากที่สุด เนื่องจากผู้ใหญ่สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันโดยผ่านการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีน แต่เด็กคือกลุ่มประชากรที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”

บทเรียนจากประวัติศาสตร์

การระบาดของโรคทางเดินหายใจในอดีตแสดงให้เห็นว่ากลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูงสุด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในปี พ.ศ. 2432 และ พ.ศ. 2433 หรือที่เรียกว่าการระบาดของไข้หวัดเอเชียหรือรัสเซีย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 1 ล้านคน ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี การระบาดครั้งนั้นเกิดจากโคโรน่าไวรัสในมนุษย์ชื่อว่า HCoV-OC43  แต่ในปัจจุบัน ดร.บียอร์นสตัด กล่าวว่า “เชื้อชนิดนี้ได้กลายเป็นเพียงเป็นไวรัสประจำถิ่นและไม่น่ากลัวเหมือนในอดีต โดยส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อเด็กที่อายุ 7-12 เดือน”

โรคระบาดในเด็กเล็ก

สถานการณ์การติดเชื้อโควิดในเด็กไทย

นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า มีเด็กไทยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโควิด-19 จำนวนมาก มียอดเด็กติดเชื้อสะสมระหว่าง 1 ม.ค.-4 ส.ค. 2564 มากกว่า 65,086 คน โดย แบ่งเป็น กทม. จำนวน 15,465 คน ส่วนภูมิภาค 49,621 คน โดยจำนวนเด็กติดเชื้อรายข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2564 อยู่ที่ 2,194 คน แบ่งเป็น กทม. 408 คน และส่วนภูมิภาค 1,786 คน

เห็นได้ชัดว่าตั้งแต่มีโควิดสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย  ส่งผลให้มีการติดเชื้อในเด็กมากขึ้นอย่างน่าตกใจ  แม้ว่าเด็กจะมีอาการไม่ค่อยมาก แต่จะมีกลุ่มอาการเหมือนโรคคาวาซากิ ซึ่งบางทีอาจจะรุนแรงได้ในเด็ก และไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการตามหลังการติดโควิด-19ไม่เกิน 1 เดือน ดังสถานการณ์ปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องการให้ลูกได้ฉีดวัคซีนค่อนข้างมาก

แต่ปัญหาคือวัคซีนที่มีขณะนี้ มีเพียงยี่ห้อเดียว คือ ยี่ห้อไฟเซอร์ ซึ่งได้รับการรับรองในต่างประเทศที่ให้ใช้ในเด็กได้ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป อีกวัคซีนซึ่งมีการศึกษาแล้วว่าใช้ในเด็กแล้วมีความปลอดภัย คือ ซิโนแวค ที่ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 3ขวบขึ้นไป โดยใช้ปริมาณครึ่งโดสของผู้ใหญ่ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ เหมือนวัคซีนไฟเซอร์ที่องค์การอนามัยโลกมีการรับรองให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : webmd.com , bangkokbiznews.com , tcijthai.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

จิตแพทย์แนะ 4 วิธีรับมือความเครียด ในช่วงการระบาดของโควิด-19

หมอสูติตอบชัด! คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดอย่างไรให้..ปลอดภัยทั้งแม่ลูก

รวมคำถามพบบ่อย คนท้องกับโควิด โดยคุณหมอโอฬาริก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up