เด็กติดโควิดเสียชีวิต

รู้ก่อนป้องกันได้! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เด็กติดโควิดเสียชีวิต คืออะไร?

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กติดโควิดเสียชีวิต
เด็กติดโควิดเสียชีวิต

เด็กติดโควิดเสียชีวิต –  ก่อนหน้านี้การระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก กลุ่มเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่ไม่น่าเป็นห่วงเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากในเวลานั้นรายงานอาการของโควิดที่รุนแรงในเด็กยังพบได้น้อย และยังไม่พบเด็กที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ของเชื้อไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ไป ตลอดจนตัวเลขสถิติต่างๆ ที่พบ อาจทำเราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่

รู้ก่อนป้องกันได้! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เด็กติดโควิดเสียชีวิต คืออะไร?

อย่างที่ทราบกันดีว่า สายพันธุ์เดลต้าได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักของเชื้อโควิด-19 ในหลายประเทศ ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในเด็กและเยาวชนมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบมีเด็กติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน เฉลี่ยวันละกว่า 2,000 คน มียอดเด็กติดเชื้อสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-20 ส.ค. รวม 109,961 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11.21 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และมีเด็กที่เสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า 10 รายแล้ว ล่าสุด ซึ่งพบเด็กชายวัย 12 ปีป่วยเป็นมะเร็งต่อมไพเนียลและติดเชื้อโควิดและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา

นอกจากนี้วิกฤตการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกพบเด็กติดโควิด-19 ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือรักษาตัวในไอซียูไปจนถึงขั้นเสียชีวิตมากขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยในอินโดนีเซียมีเด็กเสียชีวิตสูงเกินกว่า 1,200 คน ในสหรัฐอเมริกามีเด็กที่เข้ารับการรักษาและเสียชีวิตสูงเกินกว่า 1,900 ราย ด้วยเหตุนี้เองสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก จึงค่อนข้างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กติดโควิดอาการรุนแรง หรือ เสียชีวิต

ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบเด็กป่วยหนักจากโควิด-19 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเด็กที่มีโรคต่อไปนี้อยู่เดิม อาจมีความเสี่ยงสูง ที่จะป่วยรุนแรงจากโควิด-19  จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหอบหืด
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ภาวะทางระบบประสาท และพัฒนาการ
  • ภาวะทางพันธุกรรม หรือภาวะที่ส่งผลต่อการเผาผลาญอาหาร
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
เด็กติดโควิดเสียชีวิต
เด็กติดโควิดเสียชีวิต

ความเสี่ยงของเด็กทารกหากติดเชื้อ COVID-19

นอกจากนี้ สำหรับเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี อาจมีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก จาก COVID-19 ได้มากกว่าเด็กโต ทั้งนี้เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และทางเดินหายใจที่มีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจจากการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ ทารกแรกเกิดสามารถติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของ COVID-19 ในระหว่างการคลอดบุตร หรือจากการสัมผัสกับผู้ดูแลที่ป่วยหลังคลอด หากแม่ติดเชื้อโควิด-19 หรือกำลังรอผลการทดสอบเนื่องจากอาการ ขอแนะนำว่าในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังคลอดบุตร ควรต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดในการดูแลทารกแรกเกิด

การวางเปลของทารกแรกเกิดไว้ข้างเตียงในขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลสามารถทำได้ แต่ขอแนะนำว่าคุณควรรักษาระยะห่างที่เหมาะสมจากลูกน้อยของคุณ เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว ความเสี่ยงที่ทารกแรกเกิดจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะต่ำ อย่างไรก็ตาม หากคุณป่วยหนักด้วย COVID-19 คุณอาจต้องแยกจากทารกแรกเกิดเป็นการชั่วคราว

เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ตัวการแพร่เชื้อในเด็กเพิ่มสูงขึ้น

ไวรัสสายพันธุ์เดลต้า เป็นไวรัสกลายพันธุ์ ที่สามารถแพร่เชื้อได้ชัดเจนกว่าไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) ที่มีการระบาดมาก่อนหน้านี้ ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสายพันธุ์หลักในหลายพื้นที่ของโลก สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า แต่ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสายพันธุ์นี้มีผลกระทบต่อเด็กในทางที่แตกต่างจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ อัตราสูงสุดของการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าพบได้ในวัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว การแพร่เชื้อส่วนใหญ่ยังคงเกิดขึ้นในครัวเรือน อย่างไรก็ตามอัตราการติดเชื้อโควิดวิด-19 สายพันธุ์ในเด็กเล็กยังคงต่ำกว่ากลุ่มอายุอื่นแม้ว่าจะยังไม่มีการฉีดวัคซีนในเด็กเล็กก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าเด็กอาจจะไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงจาก COVID-19 เหมือนผู้ใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อโคโรนาไวรัสชนิดอื่นๆ ที่แพร่กระจายในชุมชน ซึ่งทำให้เกิดโรค ประจำถิ่น เช่น ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เมื่อเด็กติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กอาจได้รับการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ได้ดีกว่าผู้ใหญ่ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันของเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับไวรัสแตกต่างจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่บางคนป่วยเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกิริยากับไวรัสมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับความเสียหายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นในเด็ก

สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ให้เด็กได้หรือไม่?

ปัจจุบัน วัคซีน Pfizer เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีการอนุมัติใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 12-18 ปี ภายในประเทศไทยเป็นชนิดแรก (ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564)  ซึ่งล่าสุด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เปิดลงทะเบียน “ฉีดวัคซีน” ป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท ไฟเซอร์ (Pfizer) เฉพาะผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยเด็ก เท่านั้น

โดยผู้ป่วยเด็กที่สามารถลงทะเบียนรับวัคซีนได้ ต้องเป็นผู้ป่วยเด็ก อายุ 12-18 ปี ซึ่งเกิดระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2552 ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื่อรัง รวมทั้งหอบหืดที่อาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน โรคพันธุกรรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ และเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง ที่มีพัฒนาการช้า

เด็กติดโควิดเสียชีวิต

จะป้องกันไม่ให้ลูกติด COVID-19 ได้อย่างไร?

ปัจจุบันเครื่องมือเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการติดเชื้อในเด็กส่วนใหญ่ที่สามารถพูดได้อย่างเต็มปาก คือ การลดการติดเชื้อในผู้ใหญ่ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เด็กเล็กที่ยังไม่สามารถรับวัคซีนได้จะได้รับการคุ้มครองจากการฉีดวัคซีนของผู้ใหญ่ในครอบครัวที่อยู่รอบตัวพวกเขา นอกจากนี้ การเว้นระยะห่างทางสังคม และสุขอนามัยของมือ และระบบทางเดินหายใจล้วนเป็นมาตรการป้องกันที่สำคัญ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถทำได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

นอกจากนี้ควรสอนบุตรหลานให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อยๆ และทั่วถึง (อย่างน้อย 20 วินาที) เพื่อป้องกันไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งรวมถึงหลังจากอยู่ในที่สาธารณะ ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ  ไอหรือจามใส่ทิชชู่หรือข้อศอก จากนั้นล้างมือและข้อศอกให้เรียบร้อย และเอาทิชชู่ทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : thairath.co.thmayoclinic.orgchildrens.health.qld.gov.au , springnews.co.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

งานวิจัยชี้! เด็กป่วยโควิด ส่วนใหญ่หายเป็นปกติได้ภายในหนึ่งสัปดาห์

คนท้องติดโควิด คนท้องทำ Home isolation ได้ไหม?

จิตแพทย์แนะ 4 วิธีรับมือความเครียด ในช่วงการระบาดของโควิด-19

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up