มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก

ลูกขอบตาช้ำ ขึ้นจ้ำง่ายระวัง!! มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก
มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก

เมื่อแม่สงสัยทำไมขอบตาลูกช้ำทั้งที่ไม่เคยกระแทก หาหมอตาแต่กลับพบความจริงอันเจ็บปวด ลูกเป็น มะเร็งต่อมหมวกไต จึงขอแชร์เป็นวิทยาทานให้แม่ ๆ หมั่นสังเกตลูกเล็ก

ลูกขอบตาช้ำ ขึ้นจ้ำง่ายระวัง!! มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก

(เรื่องเล่าจากเคสจริง)

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะขนาดเล็ก 4-6 gm ประมาณ 4x3x1 เซนติเมตร สีเหลืองทอง ต่อมหมวกไตอยู่บริเวณเหนือไตทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย ได้แก่ อัลโดสเตอโรน , คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน แต่ละต่อมมีเนื้อชั้นในเรียกว่าส่วนเมดุลล่า (Medulla) และส่วนนอกเรียกว่าคอร์เท็กซ์ (Cortex)
      สารที่หลั่งออกมาจากส่วนเมดุลล่าคือเอพิเนฟรีน (Epinephrine หรือ Adrenaline) ซึ่ง มีอิทธิพลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อเล็กๆที่ผนังเส้นโลหิต ทำให้แรงดันของโลหิตสูงพอที่จะให้โลหิตไหลเวียนไปได้ตามความต้องการของ ร่างกาย นอกจากนี้ยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติฝ่ายซิมพาเธติค และช่วยทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เป็นการให้ผลที่ตรงกันข้ามกับอินซูลิน (Insulin)

ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (Adrenal Cortex)มีสารประกอบรวมอยู่ประมาณ 30 ชนิดเรียกว่า สเตอรอยด์ (Steroid) ซึ่งแตกต่างกับเอพิเนฟรีน สารประกอบชนิดหนึ่งคือแอลดอสเตอโรน ช่วยควบคุมแคลเซี่ยม โปแตสเซี่ยม และการกระจายตัวของน้ำในร่างกายคอร์ติโซน (Cortisone) และไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ช่วย ควบคุมการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และควบคุมปฏิกิริยาที่เกิดจากการอักเสบ และภูมิคุ้มกันโรค ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แอนดรอสเตอโรน (Androsterone) นั้น เหมือนกับเทสทอสเตอโรน (Testosterone) คือเป็นฮอร์โมนที่จะทำให้มีลักษณะของเพศชาย แต่จะพบทั้งในเพศหญิงและชาย


     ดังนั้นเมื่อเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตมักจะทำให้เกิดอาการแสดงตามฮอร์โมนที่ เนื้องอกนั้นผลิตขึ้นมา เช่น เมื่อคนไข้มีเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน จะทำให้คนไข้มีอาการความดันโลหิตสูง , ปวดศีรษะ , เหงื่อออก , ใจสั่น เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก bangkokhatyai.com
มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก
มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก

มะเร็งต่อมหมวกไต พบบ่อยในเด็กอายน้อยกว่า 15 ปี!!!

โรคมะเร็งต่อมหมวกไตเป็นโรคมะเร็งก้อนเนื้อในเด็กที่พบได้บ่อย โดยมีอุบัติการณ์ประมาณ 5.8% ของโรคมะเร็งทั้งหมดที่พบในเด็ก (ข้อมูลจากการศึกษาของชมรมโรคมะเร็งเด็กแห่งประเทศไทย ระหว่างปีพศ.2546-2548 พบผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า15 ปีที่เป็นโรคมะเร็งทั่วประเทศไทย  2,792 ราย มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมหมวกไต 163 ราย)พบได้บ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี  อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยคือ ก้อนในท้อง และต่อมน้ำเหลืองโต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคในระยะที่ 4  คือมีการกระจายของมะเร็งไปที่ตับ กระดูกและไขกระดูกทำให้มีอาการตับโต ปวดกระดูก มีไข้  ซีด  จุดเลือดออกตามตัวหรือเลือดออกผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ เนื่องจากไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติเพราะถูกแทนที่ด้วยเซลล์มะเร็ง บางรายอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรงจากก้อนมะเร็งกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือมีอาการเบื่ออาหาร  น้ำหนักลดร่วมด้วย

การวินิจฉัยและจำแนกระยะของโรค อาศัยการตรวจเลือด ตรวจไขกระดูก ตรวจระดับของสารที่สร้างจากเนื้องอกในเลือดหรือปัสสาวะ ถ่ายภาพทางรังสี เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่องท้องเพื่อดูตำแหน่ง ลักษณะและขอบเขตของก้อน โดยจะพบก้อนที่ต่อมหมวกไตซึ่งอยู่ด้านบนของไต ถ่ายภาพสแกนกระดูก การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนมาตรวจทางพยาธิวิทยาจะช่วยให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน

การรักษาโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็กต้องอาศัยการร่วมมือกันของบุคคลากรทางการแพทย์หลายฝ่ายการรักษาหลักคือการให้ยาเคมีบำบัดและการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก การฉายรังสีรักษาจะทำเฉพาะในรายที่มีก้อนมะเร็งเหลืออยู่หลังการผ่าตัด  นอกจากนี้ยังมีการรักษาตามอาการของผู้ป่วยขณะนั้น เช่น การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด การดูแลเรื่องของอาหารให้ถูกสุขลักษณะครบ 5 หมู่ และควรให้ความสำคัญด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วยเพราะสภาพจิตใจจะส่งผลต่อการรักษาได้มาก พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย  ระยะของโรค ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา และการตอบสนองต่อการรักษา ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะต้นจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคไปอวัยวะอื่นแล้ว การร่วมมือกันดูแลผู้ป่วยของผู้ปกครองและแพทย์มีส่วนช่วยอย่างมากที่จะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จได้ดีและเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยที่สุด

ข้อมูลอ้างอิงจาก ผศ.พญ. กลีบสไบ  สรรพกิจ สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
แม่สังเกตลูกขอบตาช้ำผิดปกติ รีบพบแพทย์
แม่สังเกตลูกขอบตาช้ำผิดปกติ รีบพบแพทย์

หมั่นสังเกตลูกน้อย พบเร็วโอกาสรักษาหายสูง!!

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า การวินิจฉัยโรคมะเร็งในเด็กมีขั้นตอนและวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือด สำหรับวิธีที่ได้ผลดีและแน่นอนที่สุด คือ การเจาะ ดูด หรือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบทางเซลล์วิทยาหรือพยาธิวิทยา สำหรับอาการของโรคมะเร็งในเด็กโดยปกติมักจะไม่มีอาการเฉพาะ หรือสามารถระบุอาการต่างๆ ได้ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ ต้องอาศัยความเอาใจใส่ และการสังเกต ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ คลำพบก้อนเนื้อผิดปกติในร่างกายมีอาการไข้สูงโดยจะเป็นๆ หายๆ มีจุด จ้ำ เป็นห้อเลือดง่าย มีจุดเลือดตามลำตัว แขน หรือขา อาการจะคล้ายคนเป็นไข้เลือดออก และอ่อนเพลียง่าย

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตลูกน้อย แม้ว่าเด็กจะไม่สามารถบอกอาการตัวเองได้ แต่ถ้าเราพ่อแม่คอยสังเกตความผิดปกติของลูก ทั้งร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ว่าลูกมีสิ่งใดที่ผิดปกติไปบ้าง ก็อย่ามัวรีรอ ก่อนอื่นต้องตั้งข้อสังเกต และหาคำตอบเบื้องต้น หมั่นเช็กอาการซ้ำ ว่าอาการผิดปกติดังกล่าวไม่ได้ทุเลาลง โดยเฉพาะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ควรรอช้ารีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อความมั่นใจ สบายใจจะเป็นการดีที่สุด อย่างในกรณีของคุณแม่ท่านนี้ ที่ได้กรุณาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวของตนเอง และลูกน้อยมาให้พวกเราฟังเพื่อเป็นวิทยาทานว่า

สวัสดีค่ะ แม่จะมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับลูกชายนะคะแม่ๆ ตั้งแต่เกิดมาน้องเป็นเด็กปกติสมบูรณ์ทุกอย่างเลย แต่อยู่ๆตาน้องก็ช้ำขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุ แม่เลยพาไปหาหมอ รพ.ที่น้องเกิดแต่ได้ความเห็นมาว่า น้องคงไปโดนอะไรกระแทกมา(แม่เป็นคนเลี้ยงน้องเองตลอดเวลาค่ะ)แต่แม่จำได้ว่าไม่เคยเอาน้องไปกระแทกอะไร แม่ก็เลยกังวลใจเพราะยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจมากนัก เลยรอดูอาการ1อาทิตย์ และพาน้องไปหาหมอที่ใหม่ ก็พาน้องไปตรวจตามขั้นตอนไปหาหมอตาหยอดดูว่ามีเลือดออกไหมอะไรไหมก็ไม่มีค่ะ หมอตาเลยส่งต่อไปให้หมอเด็กดูซึ่งท่านเป็นอาจารย์หมอ ท่านก็ถามคุณแม่เหมือนที่หมอก่อนหน้านั้นถาม คือน้องไม่มีอาการใดๆร่วมเลยมีแค่ตาช้ำจริงๆค่ะ คุณหมอเลยให้ถอดเสื้อน้องดูแล้วคลำท้องน้อง เหมือนเจอก้อนในท้องเลยส่งไปอัลตร้าซาวด์ สรุปเจอก้อนจริงๆค่ะ แม่ใจตกไปที่ตาตุ่มเลย หมอให้แอดมิดรอดูผลเลือดและรอส่งตัวไปรพ.รัฐประจำจังหวัด เพือ่ไปตรวจให้แน่ชัดว่าก้อนที่เจอคือก้อนอะไร แม่ภาวนาว่าขออย่าเป็นอย่างที่คิดเลย สรุปสุดท้ายหมอได้เจาะเอาไขกระดูก เอาเลือด และเก็บฉี่24ชม.เพื่อไปตรวจหาผลว่าไปในทิศทางเดียวกันไหม ผลทั้ง3อย่างออกมาว่าเป็นในทิศทางเดียวกัน คือน้องเป็นมะเร็งค่ะ เป็นระยะที่4แล้ว แม่ได้ยินคำนั้นคือร้องไห้ออกมาแบบไม่อายหมอเลยค่ะ คือน้องไม่มีอาการแสดงอะไรเลยจริงๆมาอีกทีคือตาช้ำก็เป็นระยะที่4เลย แต่ตอนนี้น้องได้ให้คีโมไป2รอบแล้ว แม่ทำใจได้มากขึ้น คุณหมอบอกน้องมีโอกาสหายแต่ก็ขึ้นกับการตอบสนองต่อยาของน้องด้วย แต่ที่ผ่านมาน้องตอบสนองต่อยาดีค่ะ ทำให้แม่มีกำลังใจสู้ต่อมากๆ เลยอยากเขียนมาไว้เป็นวิทยาทานให้กับทุกคนเลยนะ เดี๋ยววันที่9จะถึงนี้น้องไปให้คีโมรอบที่3ต่องับ เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก Kamolthip Thodboon:FB กลุ่มคนมีลูก
เรื่องเล่าจากเคสจริง เมื่อลูกน้อยเป็น มะเร็งต่อมหมวกไต
เรื่องเล่าจากเคสจริง เมื่อลูกน้อยเป็น มะเร็งต่อมหมวกไต

ซึ่งแม่ ๆ ในกลุ่มต่างส่งกำลังใจให้แก่คุณแม่กันอย่างล้นหลาม แต่มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านคงเกิดคำถามในใจกันแล้วใช่ไหมว่า มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็กนั้น สาเหตุมาจากไหน ต้องสังเกตลูกน้อยอย่างไร วันนี้ทาง ทีมแม่ ABK จึงขอนำความรู้จาก อ. นพ.ศิวดล วงค์ศักดิ์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์  จากรายการคุยข่าวเม้าท์กับหมอ ลูกป่วยมะเร็งต่อมหมวกไต อะไรคือที่มาของโรค มาฝากกัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก RAMA Channal

อาการแบบนี้ไม่ปกติ ต้องระวัง!!

แม้ว่ามะเร็งต่อมหมวกไตในเด็ก จะเป็นโรคที่มีอาการของโรคที่สังเกตได้ยาก ในระยะเริ่มต้น ทำให้โดยส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยจะพบว่าเป็นมะเร็งต่อมหมวกไตก็เข้าสู่ระยะที่ 4 ระยะลุกลามแล้วก็ตาม แต่การที่พ่อแม่คอยหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยไม่ประมาท ก็จะทำให้ยิ่งพบเร็วเท่าไหรก็จะยิ่งดีต่อการรักษามากเท่านั้น ดังนั้นจากคำของคุณหมอจึงพอจะสรุปอาการโดยรวมที่ทำให้เราต้องหันมาใส่ใจ ตั้งข้อสงสัย ดังนี้

  • คลำตามร่างกายลูกว่าพบก้อนเนื้อ โดยเฉพาะในช่องท้องหรือไม่ ในข้อนี้คุณหมออธิบายว่าอาจจะคลำลำบากเสียหน่อย เนื่องจากต่อมหมวกไตจะอยู่ในตำแหน่งที่ลึกลงไป การจะคลำพบก้อนในช่องท้อง ส่วนใหญ่จะเจอตอนที่ก้อนเนื้อค่อนข้างโตเสียแล้ว
  • เบื่ออาหาร ทานอาหารได้ลดลง
  • น้ำหนักลด
  • มีไข้
  • ซีด เลือดออกง่าย มีจุดเลือด หรือจ้ำเขียวตามร่างกาย จะพบได้ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายไปสู่กระดูก ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง การทำงานของไขกระดูกบกพร่อง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ก่อให้เกิดภาวะดังกล่าว เช่น ในกรณีของคุณแม่ที่เล่ามาประสบการณ์จะพบว่าลูกมีขอบตาช้ำเขียวเหมือนโดยกระแทกมา เป็นต้น
  • ตับโต จะพบได้ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายไปสู่ตับ
  • แขน ขา อ่อนแรง จากก้อนมะเร็งกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง

โรคมะเร็งทุกชนิด หากเราตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะทำให้ผลการรักษาออกมาดีกว่า ง่ายกว่ามาก ดังนั้นการหมั่นดูแลสังเกตลูกน้อยจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการดูแลลูก นอกจากนั้นการร่วมมือกันดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก จากทั้งแพทย์ และตัวพ่อแม่เอง จะยิ่งทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น อาการข้างเคียงก็จะบรรเทาเบาบางลง จากกำลังใจของตัวเด็กเองที่ได้จากคนรอบข้างที่เขารัก วันนี้ทางทีมแม่ ABK ก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ส่งไปให้คุณแม่ที่กำลังเผชิญปัญหาทุกท่านให้สามารถผ่านพ้นโรคร้ายนี้ไปได้อย่างปลอดภัย และราบรื่นกันทุก ๆ  ท่าน ขอผลบุญในการเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัว เพื่อเป็นวิทยาทานของคุณแม่น้องจากต้นเรื่อง ให้น้องหายวันหายคืนด้วยเทอญ

ข้อมูลอ้างอิงจาก mgronline.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เด็กไทยป่วยมะเร็งเพิ่ม 80 คนต่อเดือน! มะเร็งในเด็ก รู้เร็ว รักษาไว หายขาดได้

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก มะเร็งที่พบบ่อยในเด็ก สัญญาณอันตรายโรคร้าย

โควิดอาการ หลังหายแล้วยังน่าห่วงทั้งระบบหายใจ-ผมร่วง!

ดูอย่างไร ขี้แมลงวัน ของลูกจะกลายเป็นมะเร็งไฝ!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up