อาหารเด็ก

3 สูตร อาหารเด็ก “ข้าวต้ม ข้าวตุ๋น น้ำสต๊อก” เพื่อลูกวัย 6-9 เดือน

event
อาหารเด็ก
อาหารเด็ก

อาหารเด็ก

สูตรการทำ “ข้าวตุ๋น” อาหารเด็ก พื้นฐาน

 

ส่วนผสม

  • ปลายข้าว 1 ถ้วย
  • น้ำเปล่าถ้วย

วิธีทำ : ผสมปลายข้าวกับน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน แล้วเคี่ยวด้วยไฟปานกลางไปเรื่อยๆ จนนุ่มสุก

ข้าวตุ๋น นมแม่ เติมพลังมื้อแรกของหนูน้อย (มีคลิปพร้อมสูตร)

แชร์สูตรอร่อย! “ข้าวตุ๋นไข่สามสหาย” เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน (มีคลิป)

เผยสูตรเมนูเด็ด! “ข้าวตุ๋นสามสี” เพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย (มีคลิป)

 

 

อาหารเด็ก

สูตรพื้นฐาน การทำ “น้ำซุป หรือน้ำสต๊อกไก่

ส่วนผสม

  • โครงไก่ 2 โครง
  • แครอทหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 2 หัวกลาง) 250 กรัม
  • ฟักเขียวหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 1 ลูก) 500 กรัม
  • หัวไชเท้าหั่นชิ้นหนา (ประมาณ 1 หัว) 200 กรัม
  • เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทรายไม่ฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 10 ถ้วย

วิธีทำ : เทน้ำใส่หม้อสำหรับต้มซุป จากนั้นใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงไป พักไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้รสหวานของโครงไก่และผักละลายลงในน้ำ

แล้วยกหม้อขึ้นตั้งไฟปานกลางจนเดือด จากนั้นลดไฟอ่อนลงแล้วเคี่ยวต่อประมาณ 30 นาที (หมั่นช้อนฟองออกเพื่อให้น้ำซุปใส) ยกลงจากเตา แล้วกรองผ่านกระชอน ก็จะได้น้ำซุปสำหรับนำมาใส่ทำ อาหารเด็ก

Tip : คุณแม่สามารถเปลี่ยนจากโครงไก่เป็นกระดูกหมูก็ได้

Must read : แจกสูตรแสนง่าย วิธีทำน้ำซุปผักทารก ให้อร่อยกลมกล่อม

ซุปแครอท Super soup เพิ่มพลังเบบี๋ ให้โตไวไม่ป่วย

“ ซุปไก่ ใส่นมแม่ ” เสริมภูมิคุ้มกัน รับปลายฝนต้นหนาว (พร้อมคลิปละเอียด)

เผยสูตรเด็ด ซุปน้ำนมข้าวโพด อาหารบำรุงสมองและสายตา (มีคลิป)

“ซุปใสปลา” สุดยอดเมนูปลา อาหารอ่อนเพิ่มพลังหลังลูกป่วย

เผยสูตรดี “ซุปมะเขือเทศ” เมนูบำรุงสายตา เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!

คลิปดีสูตรเด็ด! “ซุปผักโขมน้องหมี” เมนูอร่อยบำรุงสายตาลูกรัก

ซุปฟักทอง เมนูอร่อย ทำง่าย! บำรุงสายตาลูกน้อย (มีคลิป)

สุดยอด เมนูต้านหวัด ป้องกันลูกน้อยไม่ให้ป่วยบ่อย (ซุปมักกะโรนีมะเขือเทศต้านหวัด)

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลสูตรอาหารดีๆ จาก หนังสืออมรินทร์ CUISINE

 

อาหารเด็ก

อย่างไรก็ดีสำหรับอาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไปแนะนำให้เริ่มกิน 1 มื้อก่อน และคุณแม่ควรป้อนผลไม้เป็นอาหารว่างด้วย ส่วนเนื้อสัตว์ สามารถสลับ ไข่แดง เนื้อปลา ตับ ค่อยๆเริ่มทีละอย่างเพื่อสังเกตอาการแพ้

ส่วนลูกวัย 7 เดือน เมื่อเริ่มกินอาหารเด็กไปได้ 1 เดือนแล้ว ก็ถึงเวลาเพิ่มข้าวได้อีก 1 ช้อน และเพิ่มผักให้เต็มช้อน ส่วนไข่ ถ้ากินไข่แดงได้แล้วโดยไม่มีอาการแพ้ ช่วงนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ขาวได้แล้วนะคะ ***แต่ถ้ากลัวแพ้อาจจะขยับไปเริ่มหลังจากอายุ 1 ปี โดยให้โปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น เนื้อปลา ตับ หมู ไก่ โดยเริ่มและสังเกตทีละอย่าง

ทั้งนี้ลูกอาจจะกินปริมาณที่เตรียมนี้ไม่หมดในครั้งเดียว คุณแม่ก็สามารถเตรียมให้วันละ 2 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวันนะคะ เพราะลูกยังจะมีผลไม้เป็นอาหารว่างอีกมื้อนึง

เมื่อลูกอายุ 8-9 เดือน ก็สามารถเพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เป็น 4 ช้อนต่อมื้อ เนื้อสัตว์และผักอย่างละ 1 ช้อน และในช่วงอายุนี้คุณแม่สามารถเตรียมแบบหยาบกว่าเดิมได้แล้ว และให้วันละ 2 ครั้ง ซึ่งถ้ากินไม่หมดในมื้อเดียว อาจจะปรับปริมาณให้กินเป็นวันละ 3 ครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณต่อวันตามกำหนด และเพิ่มผลไม้เป็น 3 ชิ้นเพื่อเป็นอาหารว่าง

ที่สำคัญเพื่อให้พัฒนาการของลูกน้อยเป็นไปตามวัยที่ดี คุณแม่อย่าลืม!! ติดตามการเจริญเติบโตของลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี ด้วยนะคะ

 

อ่านต่อบทความอื่น น่าสนใจ คลิก


ข้อมูลอ้างอิงจาก : พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข thaibf.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up