อาหารเด็ก 6 เดือน

อาหารเด็ก 6 เดือน เมนูสำหรับวัยเริ่มทานอาหารเสริม

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารเด็ก 6 เดือน
อาหารเด็ก 6 เดือน

ทารกวัย 6 เดือน เป็นวัยที่เริ่มรับประทานอาหารแข็ง หรืออาหารเสริม นอกเหนือจากนมแม่ อาหารเด็ก 6 เดือน ควรเป็นอาหารที่บด หรือปั่นอย่างละเอียด

อาหารเด็ก 6 เดือน เมนูสำหรับวัยเริ่มทานอาหารเสริม

อาหารเด็ก 6 เดือน รับประทานได้ทั้งเมนูแป้ง โปรตีน ผลไม้ และผัก เพื่อเพิ่มสารอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากนมแม่ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้นำเมนูต่างๆ มาฝากคุณแม่ เพื่อเป็นไอเดียในการทำอาหารให้ลูกรับประทานกันค่ะ

อาหารเด็ก 6 เดือน เมนูสำหรับวัยเริ่มทานอาหารเสริม

ก่อนอื่นคุณแม่ควรศึกษาว่า อาหารประเภทไหนที่ลูกควรรับประทาน และอาหารประเภทไหนที่ควรหลีกเลี่ยง พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

อาหารที่เหมาะสำหรับทารกวัย 6 เดือน ได้แก่

  • อาหารประเภทแป้ง

ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นพลังงานที่ดีสำหรับทารก ทั้งนี้ควรปั่นหรือบดอาหารให้ละเอียด โดยอาจผสมนมแม่ลงไปด้วย เพื่อให้ทารกรับประทานได้ง่ายขึ้น อาหารประเภทแป้งที่เหมาะกับทารก มีดังนี้

    • ข้าวโอ๊ต
    • พาสต้า
    • มันฝรั่ง มันเทศ
    • ข้าวโพด
    • ข้าว
    • ขนมปัง

 

  • อาหารประเภทโปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายของทารกสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้ ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ และอาจช่วยเพิ่มการลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย ทั้งนี้ควรให้อาหารทีละอย่าง โดยเว้นระยะ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาหารแพ้ เพราะเด็กบางคนอาจแพ้อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไข่ เป็นต้น อาหารประเภทโปรตีนที่เหมาะกับทารก มีดังนี้

    • ไข่
    • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา
    • เต้าหู้
    • ถั่ว

 

  • ผลไม้

เป็นแหล่งรวมไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม โฟเลต ที่มีส่วนช่วยปรับปรุงการทำงานของลำไส้ให้แข็งแรง ช่วยป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ทั้งนี้ควรล้างทำความสะอาดผลไม้ให้ดีก่อนนำไปปั่นหรือบด ผลไม้ที่เหมาะสำหรับทารก มีดังนี้

    • กล้วย
    • กีวี่
    • บลูเบอร์รี่
    • ส้ม
    • แอปเปิ้ล
    • ราสป์เบอร์รี่
    • มะม่วง
    • ลูกพีช
    • ลูกพลัม
    • มะละกอ
    • สับปะรด
    • สตรอว์เบอร์รี่
    • แตงโม

 

  • ผัก

มีวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และน้ำ ที่อาจช่วยบำรุงสายตา เพิ่มพลังงาน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งบางชนิด โรคหัวใจ ทั้งนี้ควรทำให้ผักสุก นิ่ม แล้วปั่นหรือบด โดยผสมกับข้าวหุงสุกนิ่มๆ หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้ทารกลองหยิบรับประทานเอง ผักที่เหมาะสำหรับทารก มีดังนี้

    • ผักกาดขาว
    • หน่อไม้ฝรั่ง
    • ผักคะน้า
    • พริกไทย
    • กะหล่ำปลี
    • ผักโขม
    • ถั่วงอก
    • แครอท
    • อะโวคาโด
    • บร็อคโคลี

 

  • ผลิตภัณฑ์จากนม

อาหารที่ทำจากนมพาสเจอร์ไรส์ เช่น โยเกิร์ต ชีส ควรเลือกรสธรรมชาติ ชนิดไม่ใส่น้ำตาล ทั้งนี้ไม่ควรให้เป็นอาหารมื้อหลัก โดยสามารถนำมาผสมกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผลไม้ เป็นต้น

 

อาหารที่ไม่ควรให้ทารกรับประทาน

  • น้ำผึ้ง รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งทุกชนิด เนื่องจากอาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงเป็นโรคโบทูลิซึม (Botulism) ที่เกิดจากแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) อาจทำให้ทารกมีอาการเซื่องซึม ปวดท้อง อาหารเป็นพิษ หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้
  • อาหารที่มีไขมัน เกลือ น้ำตาลสูง เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป ฮอทด็อก เค้ก นมข้นหวาน เนื่องจากอาจทำให้ไตทารกทำงานหนัก ไตเสื่อม เสี่ยงติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง
  • อาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ปลา ถั่วลิสง หอย เพราะอาจส่งผลให้ทารกอาจมีอาการแพ้อาหาร เช่น หายใจไม่ออก อาหารเป็นพิษ ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการระบบประสาทของทารก ควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้ทารกรับประทาน
  • อาหารดิบไม่ผ่านการปรุงสุกและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น น้ำผลไม้ ชีส นม เนื้อสัตว์ ผัก เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย ท้องร่วง นอกจากนี้ ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กอาจยังไม่พัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยจากเชื้อโรคที่ปะปนมากับอาหารได้
  • นมวัว เพราะอาจทำให้ทารกเสี่ยงเลือดออกในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังอาจมีปริมาณของโปรตีนและแร่ธาตุมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ปัญหาที่ไตของทารก

 

เมนูอาหารแนะนำสำหรับทารกวัย 6 เดือน

กล้วยบดผสมนมแม่

กล้วยบดผสมนมแม่
กล้วยบดผสมนมแม่

ส่วนผสม

  • กล้วยน้ำว้าสุก 1 ลูก (เด็กอ่อนให้เลือกใช้กล้วยน้ำว้าเท่านั้น เพราะย่อยง่าย)
  • น้ำนมแม่หรือนมผงที่เด็กกินอยู่ 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนครูดผิวกล้วยด้านนอก เอาเฉพาะผิว ไม่ใช้แกนตรงกลางเพราะย่อยยาก ครูดให้ได้ 1 ช้อนโต๊ะ
  2. ใช้หลังช้อนบดขยี้กล้วยให้ละเอียด หรือบดบนกระชอน เพื่อช่วยให้เนื้อกล้วยละเอียด เนียนยิ่งขึ้น (ทุกอย่างต้องมั่นใจว่าสะอาด)
  3. เมื่อได้กล้วยบดแล้ว เติมนมแม่หรือนมผงเด็ก ผสมให้เข้ากัน
  4. ตักกล้วยบดผสมนมแม่ใส่ถ้วย

 

โจ๊กข้าวโอ๊ต

โจ๊กข้าวโอ๊ต
โจ๊กข้าวโอ๊ต
ส่วนผสม
  • ปลายข้าวที่หุงสุกแล้ว
  • ข้าวโอ๊ต 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุป
  • หมูบด
วิธีทำ
  1. นำปลายข้าวที่หุงสุกแล้ว หรือใช้ข้าวสวยก็ได้ นำไปบดให้ละเอียดก่อน จากนั้นก็นำมาต้มกับน้ำซุป
  2. เมื่อข้าวเดือดได้ที่แล้วใส่ใส่ข้าวโอ๊ตลงไป ต้มจนข้าวโอ๊ตนิ่ม
  3. ใส่หมูบดลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย หรืออยากจะเสริมผักที่ลูกทานได้ก็ตามใจชอบ
  4. ตักโจ๊กข้าวโอ๊ตใส่ถ้วย

 

อ่านต่อ…อาหารเด็ก 6 เดือน เมนูสำหรับวัยเริ่มทานอาหารเสริม คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up