ตำแหน่งปวดท้อง

7 ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรค ปวดตรงไหนเป็นอะไรรู้ได้ที่นี่

Alternative Textaccount_circle
event
ตำแหน่งปวดท้อง
ตำแหน่งปวดท้อง

คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านย่อมเคยปวดท้องกันแน่นอนอยู่แล้ว หลาย ๆ ครั้ง แค่เราซื้อยามากินก็หายได้ แต่ถ้ากินยาที่เคยกินแล้วไม่หายล่ะจะทำอย่างไร? จริง ๆ แล้ว เวลาปวดท้องแต่ละคนอาจปวดในจุดที่แตกต่างกัน ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรค ได้ เพราะฉะนั้นเราควรสังเกตตัวเองนะคะ วันนี้ก็มีจุดปวดท้องที่น่าสังเกตมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

7 ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรค

พญ.สกุณี ภระกูลสุขสถิตย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งของการปวดท้องแต่ละตำแหน่ง ว่าบ่งบอกว่าเราอาจเป็นโรคต่าง ๆ ไว้ ดังนี้

ขวาช่วงบน 

โรคที่กิดจากตับ ถุงน้ำดี ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้และไตขวา เช่น ตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี กรวยไตขวาอักเสบ นิ่วในไตขวา เป็นต้น

หากกดแล้วเป็นก้อนแข็ง ๆ บวกกับอาการตัวเหลือง หมายถึงความบกพร่องของตับ และถุงน้ำดี หากปวดมากควรรีบพบแพทย์

ขวาช่วงล่าง 

โรคที่เกิดจากไส้ติ่ง ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ ปีกมดลูกด้านขวา เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ปีกมดลูกขวาอักเสบ เป็นต้น อาการ ได้แก่

  • ปวดเกร็งเป็นระยะๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา เป็นอาการกรวยไตอักเสบ หรือนิ่วท่อไต ควรรีบพบแพทย์
  • ปวดเสียด บีบ ตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมากบริเวณท้องน้อยด้านขวา อาจจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดร่วมมีไข้สูง มีตกขาว อาการของปีกมดลูกอักเสบ
  • คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ อาการก้อนไส้ติ่งอักเสบ หรือรังไข่ผิดปกติ

ใต้ลิ้นปี่

โรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น อาการคือ

  • ปวดใต้ลิ้นปี่ร่วมกับเจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก อาจจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
  • ปวดเป็นประจำเวลาหิว หรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร หากปวดรุนแรง หรืออาเจียนด้วยอาจเป็นตับอ่อนอักเสบ
  • หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่ และแข็งแสดงว่าตับโต หรือหากคลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็ก ๆ อาจเป็นกระดูกลิ้นปี่
  • หากอืดแน่นท้องเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

รอบสะดือ 

โรคที่เกิดจากลำไส้เล็ก อาจเกิดจากลำไส้อักเสบ มักจะมีอาการปวดบิด ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นอาการเริ่มปวดท้องของไส้ติ่งอักเสบได้ (ค่อนจะย้ายไปปวดบริเวณด้านขวาช่วงล่าง)  หากกดแล้วปวดมาก ปวดจนทนไม่ไหวให้พบแพทย์ทันที

เหนือหัวหน่าว 

โรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะ มดลูก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มดลูกอักเสบ เนื้องอกมดลูก เป็นต้น อาจมีอาการ ดังนี้

  • ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดเวลาปัสสาวะ อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปวดท้องน้อย มีไข้สูง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นมดลูกอักเสบ
  • ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีอาการปวดเรื้อรัง แสดงว่ามดลูกมีปัญหา ควรรีบพบแพทย์

ซ้ายช่วงบน 

โรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้และไตช้าย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ม้ามแตก กรวยไตช้ายอักเสบ นิ่วในไตช้าย เป็นต้น

ข้ายช่วงล่าง 

โรคที่เกิดจากลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ ปีกมดลูกด้านซ้าย เช่น ลำไส้อักเสบปีกมดลูกซ้ายอักเสบ เป็นต้น

ตำแหน่งปวดท้อง
7 ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรค ปวดตรงไหนเป็นอะไรรู้ได้ที่นี่

ขอบคุณ ภาพ จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ปวดท้องแบบใดที่ต้องพบแพทย์

หากมีอาการปวดท้องลักษณะต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์

  1. ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมง แล้วอาการเป็นมากขึ้น
  2. ปวดจนกินอาหารไม่ได้
  3. ปวดท้อง และอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง
  4. ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว
  5. ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
  6. ปวดท้องรุนแรง นอนไม่ได้
  7. ปวดร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด
  8. ปวดท้อง มีไข้ร่วมด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลขอนแก่น ราม

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ช่วยด้วย ลูกอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง อาเจียนไม่หยุด

คนท้องปวดท้องน้อย อาการแบบไหนเสี่ยงแท้ง?

เมื่อลูกปวดท้องจาก “โรคบิด” ภัยร้ายหน้าร้อนที่ต้องระวัง!!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up