ภูมิต้านทาน

พบทารกชาวสิงคโปร์ มี ภูมิต้านทาน โควิด-19 ตั้งแต่เกิด!!

Alternative Textaccount_circle
event
ภูมิต้านทาน
ภูมิต้านทาน

กุมารแพทย์รพ. National University Hospital ในสิงคโปร์ ตรวจพบ ภูมิต้านทาน ที่ต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเด็กแรกเกิดรายหนึ่ง หลังแม่ติดเชื้อช่วงตั้งครรภ์

พบทารกชาวสิงคโปร์ มี ภูมิต้านทาน โควิด-19 ตั้งแต่เกิด!!

เพราะโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง กลไกในการติดเชื้อ และการสร้าง ภูมิต้านทาน จึงเหมือนเชื้อไวรัสอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป คือ สามารถติดต่อกันได้ผ่าน การสัมผัส สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือ แพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม และเช่นเดียวกันกลไกการสร้าง ภูมิต้านทาน ต่อเชื้อไวรัส โควิด-19 ก็เหมือนกับเชื้อไวรัสอื่นทั่วไป คือ รักษาร่างกายให้แข็งแรง การทานยาและการรักษาทางการแพทย์ตามอาการที่เกิด และรอจนร่างกายสร้างแอนติบอดี้ ภูมิคุ้มกัน หรือ ภูมิต้านทาน ขึ้นมาเอง

มนุษย์ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเหมือน ๆ กัน และเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อีก 1 กลุ่มที่น่าเป็นห่วงไม่น้อยคือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์นั่นเอง เนื่องจากมีข้อมูลมาจากหน่วยงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ของสหรัฐฯ เผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40,406 คน พบว่าหญิงมีครรภ์มีโอกาสที่จะต้องเข้าห้องไอซียู และมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ดังนั้น แม่ท้องจึงต้องเฝ้าระวังไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 จึงจะปลอดภัยที่สุด

แม่ท้องติดเชื้อโควิด-19 เชื้อจะส่งต่อถึงลูกในท้องหรือไม่?

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 จากแม่สู่ลูกหรือส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ สตรีมีครรภ์จึงควรปฏิบัติตามข้อควรระวังต่าง ๆ อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการได้รับเชื้อไวรัส และสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ หายใจลำบาก ควรปรึกษาแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ทางโทรศัพท์ ซึ่งถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว จะมีความยากในการรักษาอย่างที่สุด เนื่องจาก ยาต้านไวรัสหรือยาอีกหลาย ๆ ชนิด มีผลเสียต่อทารกในครรภ์และไม่สามารถใช้ยาเหล่านี้เหมือนคนปกติได้

โควิด-19
โควิด-19

เชื้อโควิด-19 สามารถส่งต่อผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่?

สำหรับแม่ให้นม ทีมีอาการไอ จาม หรือ มีไข้ และสงสัยว่าตนเองติดเชื้อ โควิด-19 ควรโทรปรึกษากรมควบคุมโรค สายด่วน 1422 งดการเดินทางไปโรงพยาบาลในช่วงนี้ ในระหว่างการรอตรวจคัดกรองโรค แม่ยังคงสามารถให้นมลูกต่อได้ เนื่องจากน้ำนมแม่ไม่ได้เป็นแหล่งในการแพร่เชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดใด ๆ รวมทั้งโควิด-19 โดยขณะให้นมต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสลูก ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิว และควรปั้มเก็บน้ำนมสำรองไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะหากได้รับการตรวจยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อ แม่จะต้องแยกตัวจากลูกเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

แม้ว่าในประเทศไทย ยังไม่พบการระบาดในประเทศเป็นวงกว้าง แต่ในประเทศอื่น ๆ สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังคงเป็นที่น่าเป็นห่วง รวมถึงประเทศในแถบอาเชียน เช่น เมียนม่า สิงค์โปร อินโดนีเซีย ด้วย แม่ท้องที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จึงยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิดต่อไป ทีมแม่ ABK จึงมีข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อโควิด-19  ในแม่ท้องมาฝาก ดังนี้

พบทารกชาวสิงคโปร์ มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่เกิด!!

เชื้อไวรัสโควิด-19
เชื้อไวรัสโควิด-19

วันที่ 29 พ.ย. 2563 เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์สเตรตไทมส์ (Straits Times) รายงานว่า เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาคุณ Celine Ng-Chan อายุ 31 ปี ได้ให้กำเนิดลูกคนที่สอง และได้รับแจ้งจากกุมารแพทย์ของโรงพยาบาล National University Hospital ในสิงคโปร์ ว่าลูกชายของเขามีแอนติบอดี้ หรือภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจาก คุณ Celine Ng-Chan เป็น 1 ในหญิงตั้งครรภ์สิงคโปร์ไม่กี่คนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะตั้งครรภ์ ทำให้แพทย์สันนิษฐานถึงการถ่ายโอนแอนติบอดี้จากแม่สู่ลูก หรืออาจเป็นทารกเองที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาระหว่างอยู่ในครรภ์

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคม มีการตีพิมพ์งานวิจัยสำหรับกรณีของเด็กทารกซึ่งเกิดจากแม่ที่เป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเมืองอู่ฮั่น 11 คน พบว่าทั้งหมดมีแอนติบอดี้ชนิด IgG ขณะที่ 5 คนตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด IgM ซึ่งตัวที่เป็นชนิด IgM นี้คือแอนติบอดี้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อการติดเชื้อ

IgM เป็นแอนติบอดี้เริ่มต้นที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามโดยปกติจะไม่ถ่ายโอนจากแม่สู่ทารกในครรภ์ผ่านรกเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ในทางกลับกันแอนติบอดี้ IgG เป็นสาร ภูมิต้านทาน ที่มีขนาดเล็กสามารถถ่ายโอนจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ผ่านรกได้ แต่ระยะเวลาของภูมิคุ้มกันจากแอนติบอดี้ IgG ของมารดายังไม่ชัดเจน ทำให้ยังไม่สามารถสรุปผลได้ว่าทารกได้รับสารภูมิต้านทานจากเหตุใด

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันที่อยู่ในตัวทารกคนนี้ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้นานแค่ไหน เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ แพทย์จึงหวังว่าการค้นพบจากการศึกษานี้ จะช่วยให้ข้อมูลแนวทางทางการแพทย์สำหรับการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และช่วยปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของแม่และเด็กต่อไป

จากข่าวดังกล่าว ทำให้ทีมแม่ ABK มีความหวังขึ้นมาว่า มนุษย์อาจจะค่อย ๆ พัฒนาร่างกายให้มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วก็เป็นได้ แต่ในระหว่างที่รอให้มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสนี้และในระหว่างการรอให้ร่างกายของคนเรามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้ เราทุกคนก็ควรใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ยังคงต้องสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ต่อไปค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แม่ต้องระวัง! โรคแทรกซ้อนโควิด-19 ในเด็ก ทำลูกป่วยหนัก

ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผลวิจัยชี้ช่วยป้องกัน-รักษา โควิด-19

เคล็ดลับคุณแม่รับมือวิกฤตโควิด-19

ไข้หวัดใหญ่ ช่วงโควิด-19 อันตราย! WHO เตือนคนท้อง-เด็กเล็ก ยิ่งต้องระวัง

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up