คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

แม่ๆเตรียมเฮ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก สปสช.ดูแลทุกสิทธิ์

Alternative Textaccount_circle
event
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

แม่ๆเตรียมเฮ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก สปสช.ดูแลทุกสิทธิ์

คุณแม่ ๆ เตรียมเฮได้เลยค่ะ เพราะทางสปสช. ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์สนับสนุนงบประมาณในการ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test ซึ่งมะเร็งปากมดลูกนั้น นับเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทยด้วยค่ะ

สาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก

เชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุหลัก ๆ ให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เมื่อเซลล์ปกติที่อยู่บริเวณปากมดลูกเกิดการกลายพันธุ์จะส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ ทั้งนี้ คนส่วนมากที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV เซลล์อาจจะยังไม่พัฒนาเป็นมะเร็งตั้งแต่แรกที่ได้รับเชื้อ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยเช่นกัน

คัดกรองมะเร็งปากมดลูก
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก สปสช.ดูแลทุกสิทธิ์

8 สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นมะเร็งปากมดลูก

  1. เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นตอนที่มีเพศสัมพันธ์ หรือประจำเดือนที่มาผิดปกติก็ได้เช่นกัน
  2. ตกขาวที่มีเลือดปน โดยปกติแล้วการที่ผู้หญิงเรามีตกขาวบ้างในช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือนนั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่หากมีมากเกินไป และมีเลือดปนหรือมีกลิ่นอาจเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งก็ได้
  3. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หากมั่นใจว่าเราเตรียมตัวพร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดไม่ได้แห้งจนรู้สึกเจ็บเสียด แต่ขณะมีเพศสัมพันธ์นั้นยังเจ็บอยู่ก็ไม่ควรปล่อยนิ่งดูดาย
  4. มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดจำนวนมาก และอาจมีเลือดปน
  5. ปวดท้องน้อยบ่อยเกินปกติ แม้จะไม่ใช่ช่วงใกล้มีประจำเดือนก็ตาม หรือช่วงที่ใกล้มีประจำเดือนแต่อาการปวดท้องประจำเดือนมากกว่าที่เคย
  6. เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร จนน้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต
  7. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ รู้สึกไม่มีแรงอยู่ตลอดเวลา
  8. ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดท้องน้อย ท้องน้อยบวม บางครั้งรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก

อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

การป้องกัน

  • ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV อีกสองสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศได้ถึงร้อยละ 90
  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) แพทย์จะเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วนำส่งตรวจเพื่อหาเซลล์ผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้
  • ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เป็นการตรวจทางชีวโมเลกุลเพื่อหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำอย่างมากคือมีโอกาสพลาดเพียงร้อยละ 5-10 และส่วนใหญ่จะทำร่วมกับการตรวจ ThinPrep โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์เพื่อส่งตรวจในคราวเดียว หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติก็แสดงว่าโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมาก และสามารถรอได้ถึง 3 ปี กว่าจะเข้ารับการตรวจคัดกรองอีกครั้ง

การรักษามะเร็งปากมดลูก

  • ระยะก่อนมะเร็ง เป็นการรักษาเฉพาะที่ เช่น จี้ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติด้วยความเย็น หรือความร้อน การตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาครู่เดียวและเป็นหัตถกรรมสำหรับผู้ป่วยนอก
  • ระยะมะเร็งแล้ว (ระยะที่ 1 และ 2 ขั้นต้น) ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาปากมดลูก เนื้อเยื่อรอบ ๆ ปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนต้น และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นออกทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ ทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง และผ่าตัดผ่านกล้อง
  • ระยะ 3 และ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามออกนอกปากมดลูกแล้ว การรักษาประกอบด้วยเคมีบำบัด ร่วมกับรังสีรักษาในเวลาเดียวกัน เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง และหากมะเร็งแพร่ลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง และกระดูกเชิงกราน จะส่งผลให้ไต กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ยิ่งถ้ามีการแพร่กระจายไปอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับหรือปอด อาจทำให้เสียชีวิตในที่สุด

สิทธิประโยชน์ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับที่ 2 ในหญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ผู้ป่วยมีโอกาสรักษาหายได้หากรับการดูแลในระยะเริ่มต้น ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการตรวจคัดกรองและเป็นไปตาม Guideline ฉบับปรับปรุงเดือนกันยายน 2561 ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ประชุม บอร์ด สปสช. จึงมีมติเห็นชอบเพิ่ม “สิทธิประโยชน์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test” เพื่อทดแทนวิธีแปปสเมียร์ (Pap smear) ทุก 5 ปี โดย สปสช. สนับสนุนงบประมาณรูปแบบจ่ายตามรายการบริการ (Fee schedule)

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิค HPV DNA Test นั้นใช้งบประมาณเทียบเท่ากับการตรวจด้วยเทคนิคเดิม โดยจะให้งบประมาณเป็นรายเคส แบ่งเป็น

  • ค่าตรวจคัดกรอง 50 บาท
  • ค่าเก็บตัวอย่าง 50 บาท ค่าบริหารจัดการ 50 บาท
  • ค่าตรวจในห้องแล็บ 320 บาท

สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง ได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ ทั้งไลน์ สปสช. (ไลน์ไอดี @nhso) หรือ คลิก และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรุงเทพธุรกิจ,โรงพยาบาลเปาโล,Medparkhospital, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เช็คขั้นตอนตรวจ สิทธิ์ฝังยาคุม และรับบริการฟรี

บัตรทองให้เข้าถึงยา โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก  

กทม.เปิดคลินิกดูแล ผู้ป่วยลองโควิด ในรพ. 9 แห่ง 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up