สิทธิ์ฝังยาคุม

เช็คขั้นตอนตรวจ สิทธิ์ฝังยาคุม และรับบริการฟรี

Alternative Textaccount_circle
event
สิทธิ์ฝังยาคุม
สิทธิ์ฝังยาคุม

เช็คขั้นตอนตรวจ สิทธิ์ฝังยาคุม และรับบริการฟรี

ในขณะที่หลาย ๆ คนอยากมีลูกน้อย แต่หลายคนยังไม่ถึงวัยที่พร้อมจะมีลูกน้อยล่ะ ควรทำอย่างไร ตอนนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้คำแนะนำว่า สำหรับหญิงที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์สามารถตรวจสอบ สิทธิ์ฝังยาคุม กำเนิดผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ หากได้สิทธิ์ก็สามารถไปใช้บริการที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนะคะ สิทธิ์นี้ตรวจสอบได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

ยาฝังคุมกำเนิด

เป็นการใช้ฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin) ที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็กๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ขนาดเท่าไม้จิ้มฟันชนิดกลม นำมาฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนด้านในที่ไม่ถนัด ใช้เวลาในการฝังยาประมาณ 10-15 นาที ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะค่อยๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3-5 ปี

ข้อดีของการฝังยาคุมกำเนิด

  1. ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก ประมาณ 1/200 คน ที่เกิดอัตราล้มเหลว
  2. เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
  3. มีอาการข้างเคียงน้อย
  4. สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตร หรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
  5. หลังจากถอดออก จะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด 90% ตกไข่ใน 1 เดือน
  6. ยาฝังคุมกำเนิด ยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก

ผู้ที่เหมาะจะใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  1. ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว
  2. ผู้ที่ต้องการเว้นช่วงการมีบุตรอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ผู้ที่ไม่ควรใช้

  1. ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือ สงสัยว่าตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด หรือ กำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  3. ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน
  4. ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือตามอวัยวะเพศต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  5. ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของตับ หรือ กำลังเป็นโรคตับอักเสบ

ผลข้างเคียง

เมื่อฝังยาฝังคุมกำเนิด อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออาจมีอาการระคายเคือง ปวด บวมแดงบริเวณผิวหนังที่ฝังยาเข้าไป แต่อาการจะเป็นแค่ระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น นอกจากนี้อาจมีน้ำหนักตัวขึ้น สิวขึ้น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม และอารมณ์แปรปรวนหลังฝังยาคุมกำเนิดในบางราย

ข้อปฏิบัติหลังฝังยาคุม

  • ควรมาพบแพทย์ตามนัด 7 วัน เพื่อดูแผลที่ฝังยา และต่อไปปีละครั้งเพื่อติดตามผล
  • เมื่อครบกำหนด 3 ปี หรือ 5 ปี ต้องกลับมาโรงพยาบาลเพื่อเอายาหลอดเก่าออก และใส่หลอดใหม่เข้าไป

การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ ต้องทำโดยแพทย์ หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามพยายามกระทำ หรือนำออกด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้

สิทธิ์ฝังยาคุม สำหรับหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี

สปสช. ตั้งเป้าหมายฝังยาคุมกำเนิด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้กับกลุ่มผู้หญิงที่ยังไม่มีความพร้อมตั้งครรภ์

  • อายุต่ำกว่า 20 ปี ในปีนี้ จำนวน 9,280 คน
  • กลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไปที่ยุติการตั้งครรภ์ 1,159 คน

นอกจากนี้ยังได้ประสานธนาคารกรุงไทย พัฒนาแอปฯ เป๋าตัง ให้สามารถตรวจสอบสิทธิ์ก่อนนัดหมายเข้ารับบริการยังสถานพยาบาลใกล้บ้าน

นอกจากบริการฝังยาคุมกำเนิดแล้ว ยังรวมถึงบริการใส่ห่วงอนามัย เพื่อลดการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

สิทธิ์ฝังยาคุม
เช็คขั้นตอนตรวจ สิทธิ์ฝังยาคุม และรับบริการฟรี
เช็คขั้นตอนตรวจสิทธิ์ฝังยาคุมและรับบริการฟรี
เช็คขั้นตอนตรวจสิทธิ์ฝังยาคุมและรับบริการฟรี
เช็คขั้นตอนตรวจสิทธิ์ฝังยาคุมและรับบริการฟรี

เกณฑ์ในการเข้ารับบริการ สิทธิ์ฝังยาคุม

ผู้ที่เข้าเกณฑ์ สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการระบบบัตรทอง หรือระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ร่วมบริการตามความสะดวก โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การรับบริการ ดังนี้

• กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องการคุมกำเนิด หรืออยู่ในภาวะหลังคลอด หรือหลังแท้ง
• กลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไป เฉพาะกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม การเข้ารับบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์บริการ ซึ่งในกรณีผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี จะครอบคลุมทุกคนที่ต้องการรับบริการ แต่กรณีอายุ 20 ปีขึ้นไป กำหนดให้สิทธิเฉพาะผู้ที่ยุติการตั้งครรภ์เท่านั้น

บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในแอปเป๋าตังนั้น ทุกคนสามารถตรวจสอบสิทธิที่จะได้รับตามกลุ่มวัยและเพศได้ โดยเข้าไปที่กระเป๋าสุขภาพ เมื่อลงทะเบียนแล้ว จะปรากฏรายละเอียดสิทธิการรักษาพยาบาลของแต่ละคน และสามารถตรวจสอบสิทธิบริการสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รับได้ เฉพาะในพื้นที่ กทม. ขณะนี้นำร่อง สามารถจองคิวนัดหมายเข้ารับบริการที่หน่วยบริการได้

สำหรับการสนับสนุนการฝังยาคุมกำเนิด ผู้สนใจสามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที  เพื่อลดปัญหาการลืมกินยาคุมกำเนิด และหากภายหลังต้องการตั้งครรภ์สามารถให้แพทย์นำยาคุมกำเนิดดังกล่าวออกได้

สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง ได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. (ไลน์ไอดี @nhso) หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

ขอบคุณข้อมูลจาก
Hfocus , โรงพยาบาลนครธน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

บัตรทองให้เข้าถึงยา โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก  

กทม.เปิดคลินิกดูแล ผู้ป่วยลองโควิด ในรพ. 9 แห่ง 

สปสช.ให้สิทธิคัดกรอง ภาวะปัญญาอ่อน เด็กแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up