ตาราง รายรับ รายจ่าย

โหลดฟรี!! ตาราง รายรับ รายจ่าย ทำง่าย ออมเงินได้เยอะ!

Alternative Textaccount_circle
event
ตาราง รายรับ รายจ่าย
ตาราง รายรับ รายจ่าย

ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ การทำ ตาราง รายรับ รายจ่าย จะช่วยให้แม่ ๆ รับรู้และควบคุมรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครอบครัว และออมเงินได้ ดีอย่างนี้ โหลดฟรีกันไปเลย!!

โหลดฟรี!! ตาราง รายรับ รายจ่าย ทำง่าย ออมเงินได้เยอะ!

เชื่อว่าแม่ ๆ ทุกคน อยากมีเงินออมเงินเก็บเพื่ออนาคตของลูก ๆ แต่ในยุคเศรษการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวันนั้นเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของครอบครัวเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยบริหารเงินได้ดีขึ้น ยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และยังมีเงินออมให้ลูกไว้ในอนาคตได้อีกด้วย

ในแต่ละเดือนคนส่วนมากมักจะจำไม่ได้ว่าได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้าง จนทำให้หลาย ๆ ครั้งมักจะมีปัญหาเรื่องเงินขาดมือ หรือเงินติดลบ และในบางบ้านที่แม่ ๆ ได้ลาออกมาเป็นแม่ฟูลไทม์ ทำให้เงินได้หายไปอีก 1 ทาง การทำ ตาราง รายรับ รายจ่าย หรือการจัดทำบัญชีครัวเรือน จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี และขอบอกว่าการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย นั้นไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด ทีมแม่ ABK จึงขอนำ ตาราง รายรับ รายจ่าย จากธนาคารแห่งประเทศไทย มาให้โหลดกันฟรี ๆ ไปเลย

โหลด ตาราง รายรับ รายจ่าย คลิก >> สมุดเงินออม – ธนาคารแห่งประเทศไทย <<

วิธีใช้ สมุดเงินออม

ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่ที่มีเงินเท่าไร แต่อยู่ที่ใช้เงินอย่างไร

ถ้าใช้เงินอย่างฉลาด เงินนั้นก็จะช่วยให้คุณมีความสุข

และมีความมั่นคงในชีวิตได้

เมื่อดาวน์โหลด สมุดเงินออม จากธนาคารแห่งประเทศไทยกันแล้ว เมื่อเปิดไฟล์ excel ออกมา ก็จะเจอกับหน้า มาออมกันนะ

ออมเงิน
ออมเงิน

ให้กดเปลี่ยนปี พ.ศ. ให้เป็นปีปัจจุบัน (ตามรูป) โดยสามารถเปลี่ยนปีพ.ศ.ได้ถึง ปีพ.ศ. 12442 กันเลยทีเดียว

บัญชีรายรับรายจ่าย
บัญชีรายรับรายจ่าย

จากนั้น ให้กดไปที่ชีทเดือนที่ต้องการจะบันทึกรายรับรายจ่าย (ตามรูป)

ตาราง รายรับ รายจ่าย
ตาราง รายรับ รายจ่าย

บันทึกรายรับ-รายจ่าย ตามวันที่ได้รับและจ่ายจริง โดยในตารางนี้ จะแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเครื่องนุ่งห่ม ค่ายา ค่าเดินทาง เป็นต้น และยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าหวย ค่าบุหรี่ ท่องเที่ยว เลี้ยงดูบุพการี เป็นต้น เมื่อถึงปลายเดือน จะทำให้เราได้รู้เลยว่าครอบครัวได้เสียค่าใช้จ่ายส่วนไหนมากเกินไป โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จะทำให้รู้ได้ว่าเราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีส่วนของเงินออมในแต่ละเดือน และเงินออมสะสม ให้เราได้รู้อีกด้วย ว่าในแต่ละเดือน เราสามารถออมเงินได้กี่บาท ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เราควรออมเงินให้ได้ 1 ใน 4 ของเงินได้ค่ะ

10 วิธีการออมเงินอย่างง่าย

ในเวลาปัจจุบัน เงินเป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับคนทุกคน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากเราใช้ไปโดยไม่ยั้งคิดหรือฟุ่มเฟือย ปัจจัยชนิดนี้ก็จะหมดไปโดยฝากความลำบากไว้ให้กับเราในอนาคต ดังนั้นการออมเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ ควรปลูกฝังการประหยัดเงินตั้งแต่อายุน้อยเพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องพบเจอกับเจ้าปีศาจที่ไม่เป็นที่ประสงค์ของคนทุกคนคือ ความจนกับความลำบาก นั่นเอง

วิธีการในการออมเงิน สามารถทำได้ดังนี้

  1. ซื้อกระปุกออมสินมาวางไว้ในที่ที่พบเห็นบ่อยครั้ง เช่น โต๊ะทำงาน ข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ บนหัวเตียง ข้างรูปสุดที่รัก หรือแม้แต่หน้าห้องอาบน้ำ เป็นต้น เลือกเอาที่ใดที่หนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกนิสัยการออม โดยจะได้ไม่ลืมใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยและหยอดออมสินทุกครั้งที่มีเงินเหลือ
  2. ก่อนจะใช้จ่ายอะไร ให้ถามกับตัวเองก่อนว่า “จำเป็นหรือไม่” เพราะของทุกอย่างล้วนมีระดับความจำเป็นไม่เท่ากัน การซื้อโดยคำนึงแต่ความชอบ หรือ ความถูกใจ เพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ ดังนั้นจึงควรคิดพิจารณาก่อนจ่ายเงินทุกครั้ง จะได้ไม่เสียใจเมื่อซื้อในภายหลัง เว้นแต่ว่าของสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่อยากได้จริง ๆ และของสิ่งนั้นเหมาะสมกับสภาพเงินที่มี ก็สามารถซื้อได้เพื่อสนองความต้องการ
  3. ทำแบบบันทึกรายรับรายจ่าย ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาจทำเป็นสมุดเล่มเล็กเพื่อพกพาไปได้ทุกที่ จ่ายอะไรไปก็จดไว้ ได้มายังไงก็จดไป เมื่อถึงบ้านแล้ว ก็นำรายจ่ายที่ได้ใช้ไปทั้งหมดมาลงในตาราง
  4. เปิดบัญชีฝากประจำ การฝากประจำ คือ ต้องฝากเงินในจำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือน ในระยะเวลาที่กำหนด และเงินจำนวนนี้จะไม่สามารถถอนออกก่อนกำหนดเวลาได้ ทั้งนี้ ระยะเวลาของการฝากประจำก็มีทั้งแบบระยะสั้น 3 เดือน – 1 ปี และแบบระยะยาว 2-3 ปี ใครที่เป็นคนเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ แนะนำให้ลองออมเงินด้วยวิธีนี้ดู ทั้งได้เงินออม ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย แถมยังได้ฝึกวินัยในตนเองเพิ่มอีกด้วย
  5. เก็บก่อนใช้ ได้เปรียบกว่าเห็น ๆ เช่น เงินเดือน 15,000 ให้กันเงินไว้ 1,500 (คิดเป็น 10% จากเงินเดือน) จากนั้น เงินเหลือเท่าไหร่ ค่อยหักลบหนี้สิน และรายจ่ายคงที่ (Fixed Cost) ในแต่ละเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ แล้วจึงเหลือเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน วิธีนี้อาจจะฟังดูโหดร้ายไปสักนิด แต่เชื่อเถอะว่า เราจะมีเงินเก็บที่แน่นอนในทุก ๆ เดือน อย่างน้อย ๆ ก็ได้เดือนละ 1,500 บาท ตกปีหนึ่งก็ได้มา 18,000 บาทแล้วนะ
  6. หักบัญชีอัตโนมัติ การตั้งหักบัญชีอัตโนมัติถือเป็นตัวช่วยด้านวินัยอย่างหนึ่ง ให้เราสามารถชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและตรงต่อเวลา อย่าง ค่าผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์ และค่างวดที่ฝากประจำต่าง ๆ ซึ่งการที่เราสามารถชำระค่าบริการต่าง ๆ ได้ตรงเวลา นอกจากจะไม่โดนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมชำระล่าช้าแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างเครดิตและความน่าเชื่อถือให้กับตัวเราเองอีกด้วย
  7. ห้ามใช้แบงก์ 50 แบงก์ 50 ค่อนข้างจะเป็น Rare Item เพราะมันมีน้อยกว่าจำนวนแบงก์อื่น ๆ ที่เราใช้กัน การที่เราจะเก็บมันไว้โดยไม่ใช้ ก็ไม่น่าจะกระทบกับชีวิตประจำวันของเรามากนัก ดังนั้น ให้มองว่า เจ้าแบงก์สีฟ้านี้เป็นของต้องห้าม หมายถึง “ต้องห้ามนำออกมาใช้เด็ดขาด” นั่นแหละ สะสมเอาไว้หลายใบเข้า มารู้ตัวอีกที เก็บได้เกือบ 1,000 บาทก็มีนะ
  8. ช้อปไปเท่าไหร่ ออมคืนเท่านั้น ข้อนี้เป็นการปรับนิสัยการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของตัวเองได้ดีเลยนะ มองอีกแง่ มันเหมือนกับการ “ยืมเงินตัวเองออกมาใช้ก่อน” แล้วคืนให้ทีหลัง หลักการเดียวกับการยืมเงินเพื่อนเลย เพียงแต่นี่คือเงินตัวเอง ถ้าอยากช้อปปิ้งมาก ก็ช้อปได้เลย แต่ซื้ออะไรไปเท่าไหร่ จดไว้ แล้วหามาจ่ายคืนทีหลังด้วยนะ แม้จะเป็นเงินตัวเอง ก็ห้ามอ่อนข้อ ทำให้เหมือนเราติดหนี้เพื่อน ต้องรีบใช้คืน อย่าผัดวันประกันพรุ่งเด็ดขาด
  9. เงินเหลือเท่ากับออม สมมติว่า สิ้นเดือนเรามียอดคงเหลือในบัญชีอยู่ 1,530 บาท ให้ย้ายเงินส่วนนี้ไปใส่บัญชีเงินออม อาจจะถอนออกเป็นเลขกลม ๆ เช่น 1,500 บาท ไปเก็บออมไว้ พอขึ้นเดือนใหม่ เงินเดือนเข้ามาอีก 15,000 บาท + ของเก่าคงค้าง 30 บาท รวมเป็น 15,030 บาทเพื่อใช้จ่ายในเดือนนั้น ๆ แล้วเราก็กลับไปใช้เทคนิคตั้งแต่ข้อที่ 1 ไล่ลงมาใหม่ ถือเป็นการบังคับตัวเองให้ใช้จ่ายด้วยวงเงินที่จำกัดเท่า ๆ กันในแต่ละเดือน และลดการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายลงได้
  10. หารายได้เสริม การได้เงินได้เพียงทางเดียว ในยุคนี้นับว่าเสี่ยงต่อการเป็นหนี้ได้เหมือนกัน เพราะไม่มีอะไรแน่นอนในชีวิต หากรายได้หลักเกิดลดลง หรือเกิดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ขึ้นมา การมีรายได้เสริม ก็อาจจะช่วยได้เยอะเลยค่ะ ให้จำไว้ว่าหากรู้ตัวว่าใช้เงินเก่ง ก็ต้องหาเงินให้เก่งด้วยเช่นกัน

การจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ โดยแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับรายรับของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน รวมทั้งมุ่งมั่นสะสมเงินออมตามเป้าหมายของตน จะสามารถสร้างรากฐานชีวิตที่มั่นคง เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคตเกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

7 เคล็ดลับง่าย ๆ สอนลูกออมเงิน และรู้จักคุณค่าของเงิน

สอนลูกเรื่องการออมเงิน ควรเริ่มเมื่อไหร่ดี?

วิธีแก้กรรม 14 เรื่อง “ครอบครัว ความรัก และลูก” ไม่น่าเชื่อแต่จริง!!

6 เคล็ดลับ สอนลูกใช้เงิน สไตล์ “ฟลุค เกริกพล”

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย, ธนาคารออมสิน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up