อาการ ไข้เลือดออก

ลูกป่วยรีบสังเกต! 10 สัญญาณเตือนอาการ ไข้เลือดออก

event
อาการ ไข้เลือดออก
อาการ ไข้เลือดออก

ข้อควรปฏิบัติหลังเป็น (หรือสงสัยว่าจะเป็น) ไข้เลือดออก

  • อย่าทานยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของแอสไพริน และ ไอบูโพรเฟน หรือยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอย เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ให้เลือกทานยาพาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด
  • หากมีไข้สูงติดต่อกัน 3 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ และอาจปรึกษาแพทย์ว่าสมควรที่จะต้องตรวจเกล็ดเลือดหรือไม่ เกล็ดเลือดคนปกติจะมากกว่า 300,000 แต่ถ้าเกล็ดเลือดอยู่ที่ 200,000 หลังมีไข้ 3-4 วัน อาการอาจเริ่มน่าเป็นห่วง และหากเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ควรแอดมิทที่โรงพยาบาล เพราะถือว่าเกล็ดเลือดต่ำมากกว่าปกติ (สามารถตรวจเกล็ดเลือดได้ เมื่อไวรัสเริ่มออกตัว คือช่วงมีไข้วันที่ 3-4 ช่วงวันแรกๆ ยังตรวจไม่ได้)

อาการ ไข้เลือดออก ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

ไข้หวัดธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ อาการไข้มักจะลดจนหายเกือบจะเป็นปกติภายใน 2-3 วัน (อาการไอ อาจใช้เวลาหลายวัน หรือเป็นสัปดาห์กว่าจะหายสนิท) อาการที่พบในระยะแรกเหมือนไข้เลือดออกทุกประการจนยากจะแยกออก เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เจ็บคอ

แต่ข้อสังเกตคือ ส่วนใหญ่ อาการ ไข้เลือดออก มักไม่มีน้ำมูก หรือไม่มีอาการไอ ในขณะที่ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ ไอ จาม เป็นต้น

⇒ Must read : รู้ไหมว่า ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร?

นอกจากนี้ อาการ ไข้เลือดออก มักมีไข้สูงกว่าไข้หวัดธรรมดา (เว้นแต่ไข้หวัดใหญ่ ที่มีไข้สูงได้เช่นกัน) และจะมีไข้สูงติดต่อกัน 3 วัน อาการไม่ค่อยดีขึ้นจากวันแรก ช่วงเวลาที่ไข้ลดลงยังคงรู้สึกอ่อนเพลียมาก แต่เบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ค่อยลง หากไข้สูงติดต่อกัน 3 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

ทั้งนี้หากเป็นแต่ไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ สามารถพบแพทย์เพื่อรับยา และรักษาตามอาการได้ สำหรับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นๆ ที่ติดเชื้อกันได้ง่าย ก็อย่าลืมใช้ช้อนกลางเมื่อทานข้าว ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับคนอื่นด้วย นอกจากนี้คนใกล้ตัว และตัวคุณเอง สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ เพื่อป้องกันโรคติดต่อได้อีกทางหนึ่ง

ส่วน อาการ ไข้เลือดออก วิธีป้องกันคือ อย่าให้โดนยุงลายกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น น้ำในแจกัน กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์ ชามหรือกะละมังรอบบ้านที่มีน้ำขัง และอย่าไปในที่ๆ เสี่ยงยุงลายชุกชุม เช่น ในพงหญ้าชื้นๆ พื้นที่มืดๆ หลังบ้าน มุมบ้าน ชายตลิ่ง ริมแม่น้ำ หรือพื้นที่ใกล้ขยะเปียก เป็นต้น

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า… การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้น โดย

  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี แบ่งการฉีดเป็น 3 เข็ม ระยะห่างกัน 6 เดือน(0, 6, 12 เดือน) แต่ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกจากไวรัสเดงกี่เท่านั้น
    • จากการวิจัยพบว่า ป้องกันการติดเชื้อได้ 60 % ป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ 90% แต่ถ้าร่างกายของผู้รับการฉีดวัคซีนเคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่แล้ว จะเป็นการเสริมภูมิป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือ การไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sanook.com , www.thaihealth.or.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up