ลูกไม่ยอมทำการบ้าน

ลูกไม่ยอมทำการบ้าน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง พ่อแม่ต้องแก้ยังไง?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่ยอมทำการบ้าน
ลูกไม่ยอมทำการบ้าน

ลูกไม่ยอมทำการบ้าน –  “เดี๋ยวเอาไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยทำพรุ่งนี้”  คือ คำพูดที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คน อาจเคยได้ยินจากลูกๆ วัยเรียน ที่มักผัดวันประกันพรุ่งไม่ยอมจัดการกับการบ้านที่คุณครูสั่งมาให้เสร็จเรียบร้อยในเวลาที่ควรจะเป็น จริงๆ แล้วการผัดวันประกันพรุ่งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย  การผัดวันประกันพรุ่งในเด็กๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติตามวัย เนื่องจากเด็กๆ มักพบว่ามีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าการต้องเปิดสมุดหนังสือเพื่อทำการบ้าน การต้องคอยกระตุ้นลูก ๆ ในวัยนี้อาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายวันนี้เรามีวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกเพื่อให้เลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งมาฝากกันค่ะ

ลูกไม่ยอมทำการบ้าน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง พ่อแม่ต้องแก้ยังไง?

หากทุกวันนี้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการสอนลูกเรื่องความรับผิดชอบ และดูเหมือนว่ามันยากเย็นหลือเกิน อยากแนะนำว่าไม่ต้องกังวลจนเกินไป หรือกลัวว่าลูกจะติดนิสัยแบบนี้จนแก้ไม่หายไปจนโต เพราะมีงานวิจัยในต่างประเทศชิ้นหนึ่ง ที่พบความจริงที่ว่า ผู้คนจะผัดวันประกันพรุ่งน้อยลงเมื่อมีอายุ และประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการวิจัยเกี่ยวกับการผัดวันประกันพรุ่งยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าพ่อแม่สามารถสอนบุตรหลานให้เอาชนะการผัดวันประกันพรุ่งได้ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ  และยิ่งบุตรหลานของคุณปฏิบัติตามมากเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสทำให้พฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งลดน้อย หรือหายไปได้

อย่างไรก็ตามมีความแตกต่างระหว่างการอู้งานเป็นครั้งคราว กับเด็กที่มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งอย่างชัดเจนซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัญหาพื้นฐานบางอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข สำหรับพ่อแม่การจัดการกับสิ่งต่างๆ เพื่อให้ลูกลดละเลิกพฤติกรรมที่ไม่ดีนี้ อาจมีความท้าทายด้วยการต้องคอยสังเกตว่าลูกของเราจัดอยู่ในกลุ่มเด็กที่อู้งานเป็นบางครั้ง หรือชอบอู้ตลอดจนติดเป็นนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

รูปแบบของการผัดวันประกันพรุ่ง

การผัดวันประกันพรุ่งมีหลายรูปแบบ เช่น

  • ลูกไม่เริ่มทำการบ้าน ตั้งแต่เนิ่นๆ ปล่อยไว้จนถึงวันสุดท้ายก่อนกำหนดส่ง
  • ทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
  • การหยุดทำการบ้านกลางคัน เพื่อทำสิ่งอื่นที่ดูไม่สำคัญ

สำหรับเด็กการผัดวันประกันพรุ่งมักจะส่งผลด้านลบต่อตัวเด็กได้หากปล่อยเอาไว้ เช่น ผลการเรียนไม่ดี หรือสอบตก เด็กๆ ไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือผลที่ตามมาของครอบครัว เช่น ผู้ปกครองต้องเหนื่อยกับการกำกับดูแลลูกมากขึ้น

มีขั้นตอนและวิธีต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถลงมือทำได้เพื่อช่วยให้ลูกเลิกพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งได้ โดยสิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ต้องเข้าใจว่าเหตุใดบุตรหลานของคุณจึงชอบดองการบ้านของพวกเขา

ลูกไม่ยอมทำการบ้าน
ลูกไม่ยอมทำการบ้าน

การทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูก

มักมีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ว่าเด็กที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง เป็นเด็กขี้เกียจ หรือมีแรงจูงใจต่ำ แต่ความจริงยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เด็กมีพฤติกรรม ผัดวันประกันพรุ่ง ได้แก่ :

  • ขาดความเชื่อมโยง : บุตรหลานของคุณอาจไม่เห็นว่างานนั้นเกี่ยวข้องกับเป้าหมายในปัจจุบันหรืออนาคตของเขาหรือเธอ
  • ความเบื่อหน่าย : การบ้านบางวิชาอาจไม่น่าสนใจ เช่น เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ อาจมองว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อ และไม่น่าสนใจ
  • ขาดวินัยในตนเอง : การรู้หน้าที่ของตัวเองว่าต้องทำอะไรบางอย่าง ไม่เหมือนกับการเริ่มต้นที่จะทำให้สำเร็จ เด็ก ๆ ต้องเผชิญกับสิ่งรบกวนมากมาย ซึ่งอาจทำให้ยากที่จะจัดลำดับความสำคัญและโฟกัสตามแผนที่ควรจะเป็น
  • การบริหารเวลาไม่ดี : เด็ก ๆ หลายคนประเมินว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ในการทำบางสิ่งและต้องทำให้ดี พวกเขาละเลยการบ้านเพราะอาจสมมติว่ามีเวลาเพียงพอที่จะทำงานให้เสร็จสิ้นได้ตามกำหนด
  • ความวิตกกังวลและ / หรือความกลัวที่จะล้มเหลว : เด็กบางคนไม่สามารถเริ่มงานได้ เนื่องจากพวกเขากลัวว่าผลงานของพวกเขาจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังของตัวเอง หรือความคาดหวังของผู้อื่นเช่นพ่อกับแม่ ที่สำคัญเมื่อปัญหาดำเนินไปสู่จุดสูงสุด ความวิตกกังวลต่างๆ อาจกลายเป็นสิ่งที่ฝังลึกในจิตใจของลูกจนเกิดความเชื่อด้านลบที่ว่าอะไรที่ไม่สมบูรณ์แบบ มักเป็นสิ่งที่ไม่มีใครให้การยอมรับ และคิดว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่ดี จนไม่อยากริเริ่มทำอะไรให้เสร็จลุล่วงอย่างที่ควรจะเป็น

เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งของบุตรหลานคุณต้องพูดคุยอย่างเปิดอกและรับฟังมุมมองของลูก โดยทั่วไปแล้วเด็ก ๆ ยินดีที่จะบอกเล่าปัญหากับพ่อแม่ หากพวกเขารู้สึกว่าพ่อแม่รับฟังและพร้อมให้การสนับสนุนและแก้ปัญหาให้พวกเขา หน้าที่สำคัญของพ่อแม่ คือ ต้องทำให้ลูกรู้สึกได้ว่าคุณพร้อมที่จะรับฟัง และเข้าใจปัญหาต่างๆ ของพวกเขาอย่างแท้จริง

ผู้ปกครองจะทำอะไรได้บ้าง? เมื่อความวิตกกังวลของลูกทำให้เธอไม่สามารถจัดการกับงานที่จำเป็นได้คุณจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง ห้าขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยได้:

1. ตั้งคำถามลูก

คอยสังเกตและเรียนรู้ว่าลูกของคุณมีมุมมองต่อตนเองอย่างไร ความคาดหวังที่พวกเขาต้องเจอ และความเป็นจริงของสถานการณ์ ถามคำถามเช่น “ลูกตั้งมาตรฐานสำหรับตัวเองอย่างไร”  “ ลูกคิดว่าพ่อแม่คาดหวังอะไรจากลูก” “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลูกไม่ทำงานให้สำเร็จตามมาตรฐานที่ตั้งใจไว้” การเข้าใจว่าบุตรหลานของคุณตีความสถานการณ์อย่างไร จะช่วยให้คุณพัฒนาการตอบสนองกับลูกได้อย่างเหมาะสม

2. อธิบายความคาดหวังของคุณ

เด็ก ๆ มักจะประเมินความคาดหวังของผู้ปกครองสูงเกินไป ดังนั้นให้แน่ใจว่าคุณมีความชัดเจนและเป็นจริง ในสิ่งที่คุณคาดหวังจากลูก ตัวอย่างเช่น ผู้ปกครองหลายคนอาจให้ความสำคัญกับความพยายามในการทำโครงงานของโรงเรียน หรือการทดสอบ ไม่ใช่เกรด แต่เด็กอาจคิดว่าคุณคาดหวังให้พวกเขาต้องทำได้ดีในทุกๆ อย่าง
สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องจริงสำหรับเด็กที่ประสบความสำเร็จสูงอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับเด็กที่ต่อสู้กับการแก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ความคาดหวังดังกล่าวอาจสูงเกินไป ในกรณีนี้ให้มุ่งไปที่การระบุความคาดหวังที่เฉพาะเจาะจงและสามารถทำได้ เช่น การกำหนดเวลาทำการบ้าน

จำไว้ว่าต้องชัดเจนและตรงไปตรงมาเมื่ออธิบายให้ลูกได้รู้ถึงความคาดหวังของคุณ การทำเช่นนี้ จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณและบุตรหลานของคุณจะปฏิบัติตัวตามความคาดหวังนั้น – หากบุตรหลานของคุณยังคงผัดวันประกันพรุ่งหลังจากที่คุณกับลูกได้ตกลงและพูดคุยกันแล้ว ให้ทบทวนความคาดหวังของคุณใหม่ และช่วยกระตุ้นให้พวกเขารับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และผลที่ตามมา

ลูกไม่ยอมทำการบ้าน

3. สอนทักษะในการแก้ปัญหา

เด็กที่กลัวความล้มเหลวมักจะวนเวียนอยู่กับความคิดด้านลบที่เกินเลยความเป็นจริง ไร้เหตุผลและมองโลกในแง่ร้ายอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลและการผัดวันประกันพรุ่งแล้ว ยังสามารถนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีได้อีกด้วย เด็กอาจแสดงออกเพราะไม่รู้วิธีแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

คุณสามารถช่วยเป็นโค้ชให้ลูกของคุณได้โดยการสอนเทคนิคในการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ลองแบ่งงานออกเป็นส่วนที่จัดการได้มากขึ้น หรือตั้งเป้าหมายที่เล็กลง และสามารถบรรลุได้มากขึ้น การช่วยให้บุตรหลานของคุณเข้าใจวิธีการจัดทำแผนสำหรับจัดการกับปัญหา จะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกไม่หนักใจกับงานที่ต้องรับผิดชอบตรงหน้า

วิธีรับมือ ลูกทะเลาะกับเพื่อน ต้องเตือนหรือสอนลูกยังไง?

เทคนิคดี สอนให้ลูกคิดเอง หาวิธีแก้ปัญหาเองได้ โดยพ่อเอก

10 เทคนิค สอนการบ้านลูก ให้สำเร็จ แบบไม่เสียน้ำตา

4. ชี้ให้ลูกเข้าใจวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้

ขอให้บุตรหลานของคุณระบุคุณลักษณะที่พวกเขาคิดว่านำไปสู่ความสุขและความสำเร็จในชีวิต เช่น ความซื่อสัตย์ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะของผู้คน ความหลงใหล เป็นต้น การให้บุตรหลานของคุณมุ่งเน้นไปที่ลักษณะบุคลิกภาพที่พวกเขามีอยู่แล้ว หรือมีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้นจะช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองและส่องแสงสว่างให้กับลูกมุ่งไปสู้เป้าหมายในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

5.ใช้ประสบการณ์ของคุณเพื่อเชื่อมโยง

เล่าถึงปัญหาต่างๆ ของคุณเองในอดีตให้ลูกฟัง และ อธิบายว่าคุณจัดการและผ่านปัญหาเหล่านั้นมาได้อย่างไร  เนื่องจากความวิตกกังวลที่สะสมเรื้อรังและไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม อาจทำให้การแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่สำเร็จ คุณอาจต้องช่วยลูกที่จะเริ่มต้นเปลี่ยนหรือปรับปรุงตัวเอง พิจารณากำหนดเวลาเริ่มต้นให้กับลูก ตัวอย่างเช่น“ หลังอาหารเย็นเวลา 6.00 น. เรามาเริ่มกันเลย” คุณยังลองตั้งกฎบางอย่างเกี่ยวกับการเริ่มปรับเปลี่ยน เช่น ให้ลูกทำการบ้านโดยไม่หยุดพักจนกว่าจะเสร็จเรียบร้อย หรือ ทำงานเฉพาะส่วนให้เสร็จก่อนที่จะหยุดพัก ด้วยวิธีนี้สามารถช่วยให้เด็กๆ  จัดการกับความวิตกกังวลและสร้างความรู้สึกมีแรงผลักดันและความมั่นใจในการทำงานให้สำเร็จได้

ท้ายที่สุด เป้าหมายของคุณ คือ การช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะตั้งความคาดหวังกับตัวเองอย่างสมเหตุสมผลและสามารถจัดการกับความวิตกกังวลตอดจนความกลัว ต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยพยายามที่จะประสบความสำเร็จในงานที่ทำ แทนที่จะหลีกเลี่ยงหรือละเลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด เพราะด้วยการสนับสนุนจากผู้ปกครอง รวมถึงวิธีการที่ใช้จัดการกับปัญหา และความเต็มใจที่จะพยายามให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของลูก จะทำให้การจัดปัญหาต่างๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

การหมั่นปลูกฝังให้ลูกลดละเลิกพฤติกรรมด้านลบต่างๆ  ด้วยความช่วยเหลือที่เหมาะสมของพ่อและแม่  จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ เช่น การผัดวันประกันพรุ่ง การรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายไม่ดีพอ การปล่อยปละละเลยสิ่งที่ต้องทำตามหน้าที่ มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นได้แน่นอน การให้ความสำคัญต่อการพูดคุยกับลูกเพื่อหาทางแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอ จะช่วยให้ลูกเป็นเด็กที่รู้จักกับความ ผิดชอบชั่วดี และมีทักษะด้านความฉลาดทางคุณธรรม (MQ) ซึ่งถือเป็นทักษะจำเป็นสำหรับเด็กยุคนี้ เพราะจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการปลูกฝังความดีลงไปในจิตสำนึก ซึ่งจะทำให้ตัวเด็กสามารถพัฒนา MQ ได้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคตค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : empoweringparents.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การบ้านอนุบาล เรื่องปวดหัวทั้งตัวพ่อและตัวแม่ โดยพ่อเอก

ต่างกันอย่างไรระหว่าง ลอกการบ้าน เพื่อนกับให้เพื่อนลอก

ลูกไม่อยากทำการบ้าน ทำอย่างไรดี?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up