เทคนิคช่วยลูกขี้อาย ให้กล้าแสดงออก

7 เทคนิคช่วยลูกขี้อาย ให้กล้าแสดงออก

Alternative Textaccount_circle
event
เทคนิคช่วยลูกขี้อาย ให้กล้าแสดงออก
เทคนิคช่วยลูกขี้อาย ให้กล้าแสดงออก

5. ให้ลูกได้ลองทำงานบ้าน

ทั้งเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย การที่คุณแม่จะลองแบ่งหน้าที่การช่วยทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกได้ช่วยกันทำก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกได้ เพราะการที่เขามีหน้าที่รับผิดชอบ จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และยังเป็นการสอนให้ลูกได้รู้จักกการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อเวลาที่เขาต้องออกไปสู่สังคมอื่น เช่น สังคมเพื่อนที่โรงเรียน สังคมการทำงาน ที่ต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นที่มากหน้าหลายตา ลูกก็กล้าที่จะเข้าไปเอ่ยปาก ถามไถ่ ว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรไหม มีอะไรให้ช่วยทำบ้าง

 

Must Read >> เมื่อลูกตื่นเวที

 

หรือถ้าลูกขี้อายมากๆ ลองฝึกเขาตั้งแต่เล็กๆ ที่เวลามีคนมาที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง เพื่อนของพ่อแม่ ขอให้เด็กเป็นคนเอาน้ำ เอาขนมมาให้แขกที่มาที่บ้าน เพื่อให้เด็กเกิดการคุ้นเคยกับคนแปลกหน้า และไม่กลัวเวลาที่ต้องพบเจอคนใหม่ๆ

การฝึกให้ลูกค่อยๆ ปรับตัวกับคนแปลกหน้าอาจต้องใช้เวลามากหน่อยในช่วงแรก แต่เมื่อลูกคุ้นเคยมากขึ้น เขาก็จะสามารถลบอาการขี้อายของตัวเองลงไปได้ค่ะ ที่สำคัญพ่อแม่อย่าลืมชื่นชม ให้คำพูดที่เป็นกำลังใจกับลูกๆ กันด้วยนะคะ

6. การซักซ้อม การเตรียมตัวลูกให้พร้อม

ในเด็กที่มีอาการขี้อายมากๆ เขาอาจเกิดการประหม่า ไม่มั่นใจ เวลาที่ต้องออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน หรือขึ้นแสดงบทเวที ที่มีผู้คนมากมายโฟกัสสายตามาที่ตัวลูก ดังนั้นการเตรียมตัวลูกให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การช่วยลูกในการซักซ้อมการแสดง หรือการซ้อมพูด หากลูกจะต้องออกไปพูดรายงานหน้าชั้นเรียน

พยายามซ้อมกับลูกบ่อยๆ ก่อนที่ลูกต้องออกไปทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายนั้นมาในวันจริง อาจจะให้ลูกฝึกต่อหน้ากระจก หรือต่อหน้าพ่อแม่ คนอื่นๆ ในครอบครัว แล้วที่สำคัญสายตาของพ่อแม่ และคนรอบข้างต้องเป็นแววตาที่ชื่นชม และให้กำลัง ไม่ว่าลูกจะพูดผิด แสดงผิดจังหวะไปบ้าง ก็อย่าทำหน้าตกใจ หรือแสดงสีหน้าไม่พอใจออกมา เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเกิดการประหม่ามากยิ่งขึ้น และก็ไม่กล้าที่จะทำกิจกรรมนั้นจนจบได้

พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ จากคลินิกเด็ก.คอม แนะนำพ่อแม่ในการซักซ้อม เตรียมตัวให้กับลูก ว่า “ก่อนที่จะพาลูกออกงานใหญ่ เล่าถึงลักษณะงาน และเรื่องต่างๆ ที่เด็กจะต้องทำ เพื่อให้เด็กไม่เกิดความตื่นเต้น (ตื่นกลัว) เมื่อต้องออกงานจริงๆ ถ้าเป็นไปได้ควรจะพาลูกไปยังสถานที่นั้น และพาเดินดูไปทั่วๆ ก่อนถึงเวลาที่ลูกจะต้องพบปะผู้คนอื่นๆ เพื่อให้ลูกได้รู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่ และลักษณะงานที่กำลังดำเนินไป ยิ่งถ้าคุณจะต้องปล่อยลูกไว้กับผู้อื่น เนื่องจากคุณเองก็ต้องทำการพบปะผู้อื่น ก็ควรจะให้ลูกได้มั่นใจว่า ลูกจะได้อยู่กับคนที่เขาคุ้นเคย และทำให้เขามีความรู้สึกมั่นใจ และปลอดภัยด้วย (sense of security) เด็กเล็กบางคนยังอาจจะติดตุ๊กตาตัวโปรด หรือผ้าห่มประจำตัว (security doll or blanket) ก็ควรอนุญาตให้เขานำติดตัวไปงานด้วย แต่คุณอาจต้องเตรียมตัวลูกว่า บางครั้งเพื่อนๆ อาจจะมาขอดู หรือเล่นกับตุ๊กตาของลูกบ้าง ซึ่งลูกควรจะยอมให้เพื่อนได้เล่นด้วยบ้าง[1]

7. พาลูกไปรู้จักคุ้นเคยกับเพื่อนวัยเดียวกัน

การปล่อยให้ลูกเล่นอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ไม่เป็นผลดีกับตัวลูกเลย ยิ่งถ้าลูกเป็นคนที่ขี้อายเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วยนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องพาลูกให้ไปทำความรู้กับเพื่อนบ้าน ที่มีลูกอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน เพื่อให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จัก ได้เห็นหน้า ได้รู้จักกการแบ่งปันของเล่นกับเพื่อนๆ

การที่ลูกได้พูดคุย ได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนวัยเดียวกัน จะทำให้เขาเป็นคนที่กล้าคิด กล้าเป็นผู้นำในบางเรื่องขึ้นมาบ้าง และเมื่อถึงเวลาที่ลูกต้องเข้าสู่สังคมโรงเรียน ก็จะทำให้ลูกสามารถปรับตัวได้เร็วมากขึ้น อาการขี้อาย ความประหม่าต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปค่ะ

อาการขี้อายของลูก เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กเกือบจะทุกคน ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการขี้อายมากบ้าง น้อยบ้าง แต่พ่อแม่ไม่ต้องกังวลใจมากไปค่ะ เพราะเราทุกคนสามารถช่วยลูกได้ ที่เริ่มแรกหากไม่รู้ว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร ขอให้ไปปรึกษากับกุมารแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็กกันก่อนค่ะ เพื่อที่จะได้แนวทางในการนำมาใช้ปรับแก้ไขพฤติกรรมขี้อายให้ลูกได้อย่างถูกจุด จากนั้นพ่อแม่ก็ต้องเป็นผู้ช่วยที่ดีในการสร้างความมั่นใจให้ลูก ให้เขากล้าคิด กล้าแสดงออกมาได้ในทุกๆ เรื่องที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์กับตัวเขาเองกันค่ะ การสร้างลูกจากเด็กขี้อายให้กลายเป็นเด็กที่กล้าแสดงออก มีความมั่นใจ อาจต้องใช้เวลาสักนิด แต่ถ้าปรับแก้กันตั้งแต่ที่ลูกยังเป็นเด็กน้อย ก็จะช่วยให้ลูกดีขึ้นได้อย่างไม่ยากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่หน้าสนใจคลิก

3 ขวบแล้ว ทำไมยังขี้อาย
ช่วยลูกขี้อายมั่นใจขึ้น (ทีละนิด)
ถึงเวลาลูกขี้อายต้องไปโรงเรียน

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
[1]พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ คลินิกเด็ก.คอม. www.clinicdek.com
www.paolohospital.com

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up