พาลูกไปฉีดวัคซีน

อ่านเลย! ก่อน พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
พาลูกไปฉีดวัคซีน
พาลูกไปฉีดวัคซีน

พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด – หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาประกาศนโยบายการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ให้กลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 12-17 ปี ในเดือน ต.ค. นี้ หรือ วัคซีนตัวอื่นๆ ที่มีการอนุมัติใ้ใช้ในเด็กได้ ผู้ปกครองหลายคนอาจเริ่มคิดหนัก และพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่างๆ ของวัคซีนในเด็ก ว่าฉีดแล้วลูกจะปลอดภัยไหม  ควรรีบจองให้ลูกฉีดเลยดีไหม มีข้อควรรู้อย่างไรบ้าง วันนี้ทีมงาน ABK จะมาไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ค่ะ

อ่านเลย! ก่อน พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้าง?

ควรให้ลูกฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 หรือไม่?

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า การให้เด็กได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะส่งผลดีและมีมีประโยชน์มากมาย เนื่องจากวัคซีนช่วยป้องกันไม่ให้เด็กติดเชื้อโควิด-19 แม้ว่าบางครั้งโรคโควิด-19 ในเด็กจะไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ แต่เด็กบางคนอาจติดเชื้อในปอดขั้นรุนแรง ป่วยหนัก และต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เด็กอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็กที่อาจต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หรืออาการเรื้อรังที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ไวรัสอาจทำให้เสียชีวิตในเด็กแม้ว่าจะพบได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ก็ตาม

วัคซีนจะช่วยป้องกันหรือลดการแพร่กระจายของ COVID-19  เหตุผลเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ คือ เด็ก ๆ ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ หากพวกเขาติดเชื้อ แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม การรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถปกป้องเด็กและคนอื่นๆ ได้ ลดโอกาสที่พวกเขาจะแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่น รวมถึงสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น

การฉีดวัคซีนสำหรับ COVID-19 สามารถช่วยหยุดสายพันธุ์อื่นไม่ให้เกิดขึ้น  นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ coronavirus SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของ COVID-19 ได้กลายพันธุ์ หนึ่งในสายพันธุ์ต่างๆ สายพันธุ์เดลต้า นั้นสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ  กรณีของ COVID-19 เพิ่มขึ้นในหมู่เด็กและสายพันธุ์เดลต้าดูเหมือนจะเป็นตัวการสำคัญ การลดการแพร่กระจายของไวรัสโดยการฉีดวัคซีนยังช่วยลดโอกาสที่ไวรัสจะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการไม่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนด (สำหรับวัคซีนที่ต้องฉีด 2 ครั้ง) จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้

อีกเหตุผลหนึ่งที่ควรคำนึงถึงการให้เด็กได้รับวัคซีนโควิด-19 คือ การช่วยปกป้องชุมชนแวดล้อม สำหรับบุตรหลานของคุณ คือ การปกป้องสุขภาพของผู้ที่อาศัยและอยู่ใกล้ชิดกับเด็กๆ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัสแต่ละคนสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นในชุมชนได้ เพราะการแพร่กระจายของเชื้อแต่ละครั้งจะเปิดโอกาสให้ไวรัสกลายพันธุ์ต่อไป และเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจดื้อต่อวัคซีนและการรักษาที่มีอยู่ ซึ่งการติดเชื้อโดยรวมที่น้อยลงในหมู่ประชากรหมายถึงโอกาสที่การติดเชื้อรุนแรงและการเสียชีวิตในชุมชนน้อยลงและ ป้องกันสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นอันตรายกว่าเดิมไม่ให้เกิดขึ้น

พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด
พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด

วัคซีน COVID-19 ชนิดใดบ้าง ที่อนุมัติให้ใช้สำหรับเด็กในประเทศไทย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) แนะนำให้เด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อช่วยป้องกัน COVID-19  และหยุดยั้งการแพร่ระบาด เด็กที่ได้รับวัคซีนครบแล้วสามารถกลับมาทำกิจกรรมที่เคยทำก่อนการระบาดใหญ่ได้ตามปกติ

สำหรับประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18 ปี ทุกราย หากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปกติแข็งแรงดี และที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยสำนักอนามัย กทม. จะเริ่มมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่เด็กนักเรียนในสังกัดที่อยู่ในกลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงและผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรคเรื้อรัง ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 64 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย ได้อนุมัติให้สามารถฉีดวัคซีนโมเดอร์นาในเด็ก ช่วงอายุ 12-17 ปี ได้ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีสถานพยาบาลเปิดให้จองสิทธิล่วงหน้าหลายแห่งด้วยกัน

และล่าสุดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้มีการเตรียมวัคซีนซิโนฟาร์ม ในโครงการ “VACC 2 School” เพื่อนำร่องฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็กและเยาวชน อายุ 10  ถึง 18 ปี กว่า 2,000 คน จากโรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้ปกครองได้เซ็นยินยอมที่จะให้เด็ก ๆ ได้ฉีดวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 และเตรียมความพร้อมนักเรียนที่จะได้กลับมาเรียนแบบ ON Site ในเทอม 2 เดือนพฤศจิกายน

(update ล่าสุด มติ อย. ไม่อนุญาตให้ฉีดวัคซีน Sinopharm ในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากข้อมูลความปลอดภัย-ประสิทธิภาพไม่เพียงพอ)

ผลในการป้องกันโรค และความปลอดภัยของวัคซีนแต่ละชนิด

  • Pfizer

การวิจัยพบว่าวัคซีน Pfizer มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกัน COVID-19 ในเด็กอายุ 12 ถึง 15 ปี และมีประสิทธิภาพ 91% ในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงด้วย COVID-19 ในผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป การวิจัยเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ 96% ในการป้องกันโรคร้ายแรงด้วย COVID-19 ที่เกิดจากสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในการแพร่ระบาดมากที่สุดในขณะนี้

  • Moderna

จากข้อมูล ณ ขณะนี้ พบว่า วัคซีนโมเดอร์นา  มีประสิทธิภาพ 93% ในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงจาก COVID-19 ในเด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี หลังจากเข็มแรกและ 100% สองสัปดาห์หลังจากเข็มที่สอง โดยไม่มีรายงานผู้ป่วย COVID-19 ในกลุ่มผู้เข้าร่วมการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ ยังไม่มีการระบุข้อกังวลด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรง จากการทดลองในเด็กและวัยรุ่น มากกว่า 3,700 คน

  • Sinopharm

จากข้อมูลการวิจัยในระดับสากล วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ Sinopharm ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับเด็ก  3 ถึง 17 ปี หลังจากการทดลองทางคลินิกในระยะเริ่มต้นและระยะกลางพบว่าปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกลุ่มอายุได้ค่อนข้างดี  โดยกระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดีในผู้เข้าร่วมการทดลองมากกว่า 96 % ที่สำคัญคือ พบว่ามีความปลอดภัยสูง และเกิดผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยมาก ที่พบบ่อยคือ เจ็บตำแหน่งที่ฉีด และมีไข้บ้าง ซึ่งก็หายได้ในเวลาไม่กี่วัน   

ผลข้างเคียงของวัคซีน (ชนิด mRNA)ในเด็กและวัยรุ่น

ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงของวัคซีนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณพ่อคุณแม่กังวล ลูกอาจรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด (ต้นแขน) และอาจพบผลข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราวและโดยทั่วไปจะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งผลข้างเคียงจากวัคซีนชนิด mRNA ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • ปวดบริเวณที่ฉีด
  • ความเหนื่อยล้า
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • มีไข้
  • ปวดข้อ

เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็กอาจพบผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนได้ประมาณ  1 ถึง 3 วัน  อย่างไรก็ตามในเด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีผลข้างเคียง หลังจากที่เด็กได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะได้รับการสังเกตปาการ เป็นเวลา 15 ถึง 30 นาทีเพื่อดูว่ามีอาการแพ้ที่น่ากังวลและต้องได้รับการรักษาหรือไม่

พาลูกไปฉีดวัคซีนโควิด

ข้อควรระวังก่อนการฉีดวัคซีน ชนิด mRNA

  • ไม่ควรให้ยาแก้ปวดเพื่อป้องกันผลข้างเคียงก่อนการฉีดวัคซีน แต่หลังจากที่ลูกของคุณได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถทำได้
  • เด็กที่มีอาการ MIS-C หรือ อาการอักเสบหลายระบบ CDC แนะนำว่าควรพิจารณาเลื่อนการฉีดวัคซีน COVID-19 จนกว่าจะหายจากโรคนี้และเป็นเวลา 90 วัน
  • หากเด็กมีประวัติ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนฉีดวัคซีนชนิด mRNA

ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดวัคซีนชนิด mRNA

หลังจากการฉีดวัคซีน ควรให้ลูกงดออกกําลังกายหนัก หรือการทํากิจกรรมหนักๆ ประมาณหนึ่งสัปดาห์  เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิด mRNA อย่างไรก็ตามยังพบในอัตราที่ต่ำมาก จากการศึกษาพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักสบส่วนใหญ่ที่พบในเด็กนั้นไม่รุนแรง และเกือบทั้งหมดฟื้นตัวในเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ และไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากอาการดังกล่าว

ภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือ หายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลมควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ หากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบควรพิจารณาทําการตรวจค้นเพิ่มเติม

สําหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จนถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จะมีคำแนะนําเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ในอนาคตอันใกล้

ในการให้คำแนะนําด้านการฉีดวัคซีนแก่เด็กและวัยรุ่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่าก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวของเด็กและวัยรุ่น โดยให้ผู้ปกครองชั่งน้ำหนักระหว่างผลเสียที่อาจเกิดขึ้น และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากวัคซีน ทั้งนี้จะให้น้ำหนักเรื่องความปลอดภัยแก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก และจะต้องมีประโยชน์ที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อพิจารณาที่จะให้ลูกรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องปฏิบัติ คือ การให้ความรู้แก่เด็กๆ ถึงสาเหตุที่เราต้องฉีดวัควีนป้องกันโรคในครั้งนี้ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน และหลังจากการได้รับวัคซีน ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เกิดทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ)ได้อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : news.thaipbs.or.th , mayoclinic.org , chinadaily.com.cn

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำความรู้จัก!! วัคซีน Pfizer ป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก

รู้ก่อนป้องกันได้! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เด็กติดโควิดเสียชีวิต คืออะไร?

เคล็ด(ไม่)ลับ ป้องกัน ลูกติดเกมช่วงโควิด ไม่ตึงไม่หย่อน ช่วยลูกผ่อนคลาย!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up