กระตุ้นปากมดลูก

4 วิธี กระตุ้นปากมดลูก โดยหมอ ที่แม่ท้องควรรู้ก่อนคลอด

event
กระตุ้นปากมดลูก
กระตุ้นปากมดลูก

เจาะถุงน้ำคร่ำ

หากปากมดลูกขยายมากพอแล้วแต่ ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก คุณหมอจะช่วยเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกหลังจากที่ปากมดลูกเปิดออกได้ราว 3 เซนติเมตร การเจาะถุงน้ำคร่ำจะช่วยกระตุ้นให้คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเกิดขึ้น เพราะศีรษะของเด็กจะเลื่อนต่ำลงมาหลังจากถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว และจะไปกดขยายปากมดลูกให้เปิดออก นอกจากนี้แล้วยังทำให้เกิดการหลั่งของสารเคมีพรอสตาแกลนดินออกมามากขึ้น จึงส่งผลให้มดลูกหดตัว และยังช่วยให้หมอตรวจรู้ได้ง่ายขึ้นด้วยว่าเด็กอยู่ในท่าใด เพื่อจะได้ทำคลอดได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยนั่นเอง

การใช้อุปกรณ์ไปถ่างขยายรูปากมดลูกให้กว้างขึ้น

อุปกรณ์ขยายรูปปากมดลูกนี้ จะมีลักษณะเป็นแท่ง เรียกว่า Dilator ขณะที่แท่งนี้แห้ง จะเป็นแท่งเล็กๆ แต่เมื่อสอดเข้าไปในรูปากมดลูก แท่งนี้จะดูดซึมน้ำเข้าไปในแท่ง จึงทำให้แท่งขยายขนาดใหญ่ขึ้น แล้วจึงไปช่วยถ่างขยายรูปากมดลูกให้กว้างขึ้นๆ นอกจากนั้น บางครั้งอาจใช้กระเปาะของสายสวนปัสสาวะ(Forley balloon)ช่วยขยายปากมดลูกได้ วิธีใช้อุปกรณ์ถ่างขยายรูปากมดลูกนี้ มักต้องใช้ร่วมกับการให้ยา Oxytocin

ใช้ยาเร่งคลอด

ยาเร่งคลอด เป็นยาที่จะช่วยให้มดลูกของคุณแม่บีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งแพทย์จะใช้ยานี้ใน 2 กรณี คือจะใช้เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์เพื่อกระตุ้นให้เจ็บครรภ์เร็วขึ้นและคลอดได้เร็วขึ้น และใช้ในกรณีที่การตั้งครรภ์มีปัญหา หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายทั้งแม่และลูก ซึ่งการใช้ยานี้จะช่วยเร่งให้เจ็บครรภ์ได้เร็วและทำให้การคลอดเสร็จสิ้นเร็วขึ้นด้วย แต่เนื่องจากยาเร่งคลอดมีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้น จึงอาจทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องมากกว่าการคลอดทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ใช้ยานั่นเอง

กระตุ้นปากมดลูก
อาการเจ็บท้องคลอด หลังหมอใช้วิธี กระตุ้นปากมดลูก

จำเป็นต้องเร่งคลอดหรือไม่

ถ้าการตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นไปอย่างปกติดีทุกประการ คุณแม่ควรรอให้มีการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะดีที่สุด เพราะการใช้ยาเร่งคลอดอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือมดลูกอาจแตกจากการเร่งคลอดที่รุนแรงเกินไป และยังมีโอกาสที่จะถูกผ่าตัดคลอดได้สูงหากเร่งคลอดไม่สำเร็จ โดยเฉพาะคุณแม่บางรายที่ให้หมอเร่งคลอดตามฤกษ์ยามที่กำหนดไว้

สำหรับคุณแม่ที่มีอายุมาก คุณหมอจะเฝ้าระวังและดูแลเป็นพิเศษ เพราะความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น อาจเกิดภาวะรกทำงานไม่เพียงพอ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนและอาหารน้อยลง ซึ่งถือเป็นภาวะที่อันตราย คุณหมออาจพิจารณากระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ครบกำหนดแล้ว โดยไม่ต้องรอให้มีการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สำหรับหมอบางท่านก็เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะคุณแม่ได้รับการตรวจฝากครรภ์มาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และไม่ตรวจพบสิ่งผิดปกติใด ๆ ส่วนในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น คุณหมอจะเร่งให้เกิดการคลอดในทันทีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม การจะเลือกใช้ วิธีกระตุ้นปากมดลูก หรือ วิธีเร่งคลอด แค่วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน นั่น ก็แล้วแต่กรณี ซึ่งทั้งหมดนั้น จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอสูติเจ้าของครรภ์เป็นหลักนั่นเอง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก :  medthai.com (เรื่องการเร่งคลอด) , www.sanook.com และ haamor.com (เรื่องการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up