ลูกต่อรองเก่ง

เผยสาเหตุที่ ลูกชอบต่อรอง พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกต่อรองเก่ง!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกต่อรองเก่ง
ลูกต่อรองเก่ง

ลูกชอบต่อรอง – สำหรับคนเป็นพ่อแม่ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาตั้งแต่คุณเป็นเด็กจนเติบโต เรียนจบ ทำงาน แต่งงาน ล่วงเลยมาจนมีลูกอย่างทุกวันนี้ คุณเคยเจอใครที่นิสัยดื้อดึงและเต็มไปด้วยข้อแม้มากมายมากไปกว่าลูกของคุณ ที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้สิ่งที่เขาต้องการมั้ยคะ? วันนี้เรามาเจาะลึกถึงพฤติกรรมการชอบต่อรองของเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กวัย ที่เริ่มเป็นตัวของตัวเองกันค่ะว่าเป็นเพราะอะไร พร้อมวิธีรับมือที่จะช่วยให้พ่อแม่หาทางออกได้เมื่อลูกชอบต่อรอง

การต่อรองและการร้องขอ ดูเหมือนจะเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงของเด็กๆ เวลาที่ต้องการความเห็นชอบจากพ่อแม่ในเรื่องต่างๆ อาทิ ขอกินขนม ขอดูมือถือ ขอซื้อของเล่น หรือในขณะที่พ่อแม่พยายามจะเอาตัวลูกไปอาบน้ำ หรือ พยายามจะให้กินข้าว แต่ลูกยังไม่อยากทำสิ่งเหล่านั้น ก็มักจะมีท่าทีต่อรองสร้างข้อแม้ต่างๆ นานา ดูเหมือนเด็กๆ จะคิดว่าพ่อแม่จะต้องยอมใจอ่อนต่อสิ่งที่พวกเขาร้องขอทุกครั้งไป จึงใช้ความพยายามที่มีสร้างข้อแม้และข้อต่อรองต่างๆ อย่างไม่รู้จบ ซึ่งจริงๆ แล้วพ่อแม่เองก็อาจไม่อยากจะยอมหรือตามใจเสมอไปแต่ไม่รู้วิธีที่จะรับมือ จึงยอมลูกตลอดเวลาที่ลูกร้องไห้งอแง ซึ่งหากพ่อแม่ยอมบ่อยเข้า ก็คงไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อตัวเด็กสักเท่าไหร่ เพราะในที่สุดอาจกลายเป็นเด็กที่ขาดความอดทนการยับยั้งชั่งใจ รับมือกับความผิดหวังได้ไม่ดีเมื่อเติบโตขึ้น

เผยสาเหตุที่ ลูกชอบต่อรอง พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกต่อรองเก่ง!

เช่นเดียวกับพฤติกรรมอื่นๆ ของเด็ก ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องเข้าใจต้นตอของพฤติกรรมของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการรับมือได้อย่างเหมาะสม โดยปกติแล้วพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ความดื้อรั้น หรือ การต่อรอง ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ส่งเสริมการเติบโตและพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ต้องการความสุขสมหวังเป็นธรรมดา โดยเด็กจะเริ่มมีพฤติกรรมสร้างข้อต่อรองกับพ่อแม่ในช่วงอายุประมาณ 3-4 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองและมีทักษะการสื่อสารที่ดีขึ้น

วิธีรับมือเมื่อ ลูกชอบต่อรอง

หากลูกของคุณคร่ำครวญ อ้อนวอน และรังควานอย่างหนัก จนกว่าคุณคิดว่าเกือบจะทนไม่ไหว กลยุทธ์ด้านวินัยเหล่านี้สามารถช่วยคุณสอนลูกว่า “ยังไงก็ไม่มีทางที่พ่อแม่จะยอม”

1. ลูกชอบต่อรอง ต้องไม่ยอมจำนน

เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อยว่าการอ้อนวอนพ่อแม่ให้ยอมจำนนต้องการร้องขอ เป็นหนึ่งในอาวุธที่ดีที่สุดที่พวกเขามี แต่ทุกครั้งที่คุณยอมทำตามคำอ้อนวอนของลูก จะยิ่งตอกย้ำให้ลูกรู้สึกว่าการรบกวนพ่อแม่ด้วยการอ้อนวอนร้องขอเป็นวิธีที่ดีและใช้ได้ผลเพื่อให้ได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นควรปฏิบัติให้ชัดเจนว่าการร้องขอของพวกเขาจะไม่มีทางได้ผล อธิบายอย่างชัดเจนว่าการร้องขอต่างๆ จะไม่ทำให้พ่อแม่เปลี่ยนใจ หากพ่อแม่ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากลูก จะส่งผลให้เด็กสามารถปรับตัวได้เร็ว ข้อสำคัญคือพ่อแม่ต้องมีกฎและวินัยในตนเองที่จะบังคบใช้กับลูกได้อย่างเหมาะสม

2. สงบสติอารมณ์ อยู่ในความสงบ

เป็นธรรมดาเวลาที่ลูกของคุณประพฤติตัวไม่เหมาะสม อาจทำให้เราสูญเสียความสงบเยือกเย็น ซึ่งจะตอกย้ำให้เด็กๆ รู้สึกว่าพวกเขามีพลังและอำนาจเพียงพอที่จะทำให้คุณอารมณ์เสีย เพราะยิ่งคุณหงุดหงิด หรือ รำคาญกับการร้องขอต่อรองของลูกมากเท่าไหร่ โอกาสที่คุณจะยอมจำนนต่อลูกก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น หรือ อาจเผลอดุลูกด้วยอารมณ์ ทางที่ดีควรหายใจเข้าลึกๆ ถอยห่าง หรือนึกถึงผลลัธ์ที่ดีในภายหลังหากคุณสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของลูกได้ นอกจากนี้ การตอบสนองลูกด้วยอารมณ์โกรธ หรือดุลูกด้วยถ้อยคำและท่าทีรุนแรงจากการที่เรากำลังอารมณ์เสีย จะทำให้ลูกซึบซับความก้าวร้าวรุนแรงไว้ในจิตใจซึ่งย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดี

ลูกต่อรองเก่ง
ลูกต่อรองเก่ง

​3. ไม่หวั่นไหวไปตามการร้องขอของลูก

การเพิกเฉยพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ ทั้งคำพูด ท่าที สายตา นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมตนเองแล้ว ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการหยุดนิสัยที่ไม่ดีต่างๆ ของเด็กๆ เทคนิคคือ อย่าพูดซ้ำว่าลูกต้องหยุดหรือเงียบ เพราะจะดูเป็นการเพิกเฉยที่ไม่จริงจัง เพียงแค่หันหลังและไม่ให้ความสนใจกับลูกของคุณตราบใดที่ลูกงอแงไม่มีเหตุผล เมื่อเด็กๆ ตระหนักว่าการพยายามเรียกร้องความสนใจไม่ได้ผล ในที่สุดท่าทีในการเรียกร้องของลูกจะอ่อนลงเอง

10 นิสัยที่ควรสอนลูก ปูทางให้เป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต

7 เคล็ด(ไม่)ลับ สอนลูกให้ซื่อสัตย์ ตรงมาตรงไป โตไปไม่โกง

อย่าหาทำ! 10 ข้อผิดพลาดในการ สั่งสอนลูก ที่พบได้บ่อย!

เป็นปกติที่พฤติกรรมของเด็กๆ อาจจะแย่ลงก่อนที่จะค่อยๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเพิกเฉย  ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าลูกของคุณขึ้นเสียงหรือทำพฤติกรรมที่ไม่ดีต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณ หากลูกไม่พอใจที่คุณไม่โต้ตอบ ให้ถือว่าการเพิกเฉยเป็นแนวทางจัดการกับพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเด็กๆ รู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจจากคุณ แม้จะพยายามเรียกร้องความสนใจอย่างเต็มที่ ในที่สุด เด็กๆ จะรู้สึกเหนื่อยและล้มเลิกเมื่อความพยายามไม่ประสบความสำเร็

4. ปฏิบัติตามกฎที่ตั้งขึ้น

หากพฤติกรรมของลูกข้ามเส้นสู่สิ่งที่คุณไม่สามารถเพิกเฉยได้ เช่น ลูกร้องตะโกนเสียงดังในที่สาธารณะ หรือเริ่มดึงเสื้อผ้าของคุณ ให้เตือนหนึ่งครั้งด้วยการส่งสัญญาณว่าถ้าลูกทำแบบนี้ ก็จะไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ  เช่น ลองพูดว่า “ถ้าไม่หยุดตะโกน เราจะกลับบ้านเดี๋ยวนี้ แล้ววันนี้ลูกก็จะไม่ได้อะไรเลยสักอย่าง” หากลูกไม่ปฏิบัติตามที่คุณเตือน ให้ลงมือทำจริงตามคำเตือนอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่พูดหรือยืนกรานว่าคุณจริงจังซึ่งจะทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้จริงจังต่อคำเตือนต่างๆ ดังนั้นให้ตัดสิทธิ์ของลูกตามคำเตือน  แสดงท่าทีให้ชัดเจนให้ลูกรู้ว่าเมื่อลูกข้ามเส้นก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่ตามมาตามที่พ่อแม่ได้บอกได้เตือนไว้แล้ว

5. ทำอย่างจริงจังไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

ความสม่ำเสมอเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูก หากคุณยอมแพ้ในวันที่คุณรู้สึกเหนื่อยหรือท้อแท้ คุณอาจหละหลวมในกฎเกณฑ์ ทุกครั้งที่คุณยอมแพ้ ลูกของคุณจะเรียนรู้ว่าวิธีอ้อนวอนสร้างข้อแม้ของพวกเขานั้นได้ผล และเด็กๆ จะมีแนวโน้มที่จะสร้างข้อแม้บ่อยขึ้น และจะเรียกร้องเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการอย่างหนีักข้อขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในท่าทีของพ่อแม่เช่น เดี๋ยวห้ามเดี๋ยวปล่อย จะเพิ่มปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวได้

 

ลูกต่อรองเก่ง

 

6. สอนลูกจัดการกับความรู้สึก

เด็กเล็กๆ จะรังควานพ่อแม่ด้วยเหตุผลสองประการ คือ พวกเขาต้องการความสมหวัง และ ไม่อยากรู้สึกแย่ ดังนั้นเพื่อจัดการกับความรู้สึกเศร้าหรือผิดหวังที่เกิดขึ้นเด็กๆ อาจสร้างการรบกวนพ่อแม่เพื่อให้ทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นควรสอนลูกถึงวิธีจัดการกับอารมณ์ที่ไม่สบายใจต่างๆ  เช่น ความวิตกกังวล ความเศร้า และความโกรธ การควบคุมอารมณ์เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ลูกของคุณเติบโตเป็นคนที่มีความสุขในชีวิต

7. ชื่นชมและพูดคุยถึงปัญหา

เมื่อลูกมีท่าทีสงบหรือจัดการกับความรู้สึกและความต้องการของตัวเองได้ดีขึ้น ท่าทีในการชื่นชมลูก ของพ่อแม่ คือหัวใจสำคัญในการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้กับลูก เช่น ชมว่า “เก่งมากลูก ที่ไม่เสียงดัง งอแง โวยวาย ” นอกจากนี้ การพูดคุยถึงเหตุและผลกับลูก คือ การเปิดโอกาสให้ลูกได้ทบทวนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุและผล ซึ่งจะช่วยให้ได้ลูกทบทวนความเหมาะสมในพฤติกรรมของตัวเอง ช่วยเสริมสร้างความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดทางอารมณ์ EQ สามารถเข้าใจความต้องการของตัวเองและจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นของตัวเองให้เหมาะสมได้ดี

ในท้ายที่สุด การสอนทักษะในการเผชิญปัญหาที่ดีในเชิงรุกให้กับลูก ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ สามารถจัดการความรู้สึกของตนเองในลักษณะที่สังคมยอมรับได้เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น  ตัวอย่างเช่น สอนพวกเขาให้ระบายสีรูปภาพเมื่อพวกเขารู้สึกเศร้า หรือสอนพวกเขาให้เขียนบันทึกส่วนตัวเมื่อพวกเขาอารมณ์เสีย เมื่อพวกเขาควบคุมความรู้สึกได้ดีขึ้น พวกเขาก็จะไม่วิตกกับการพยายามควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น หากลูกของคุณมีพฤติกรรมร้องขอทุกครั้งไป คุณอาจต้องการทำตามขั้นตอนและพิจารณาแนวทางปฏิบัติต่างๆ ทำตามขั้นตอนเพื่อส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีของลูก แล้วเด็กๆ จะมีพฤติกรรมที่ดีเป็นเด็กน่ารัก ร้องขอน้อยลงมีเหตุผลมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : positiveparentingsolutions.com , verywellfamily.com , samitivejhospitals.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 เคล็ดลับ! สยบ ลูกขี้หงุดหงิด แบบไม่พึ่งหน้าจอ ลูกก็สงบได้!

ผลเสียของการ พูดประชดลูก พ่อแม่ต้องหยุด ถ้าไม่อยากให้ลูกเกลียด!

หมอประเสริฐแนะ บันได 4 ขั้น วิธีจัดการลูกดื้อ อย่างเข้าใจและได้ผลจริง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up