วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด

แพทย์แนะ! วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด โวยวายอาละวาด

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด
วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด

หมดปัญหาคาใจคุณแม่ กับคำแนะนำของแพทย์ พบ “วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด” อาลาะวาดเอาแต่ใจได้ที่นี่!

 

 

สวัสดีค่ะทีมงาน Amarin Baby and Kids  … ดิฉันมีลูกสาววัย 2.5 ปีอยู่หนึ่งคน ดิฉันไม่รู้ว่าลูกเป็นอะไรเวลาที่ไม่ได้อะไรดังใจ ก็มักที่จะชอบอาละวาดร้องกรี๊ดกร๊าดตลอดเวลา บางทีถึงขั้นไปนอนชักดิ้นชักงอที่พื้นเลยก็มี ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีคะ กลัวคนรอบข้างไม่เข้าใจ แล้วจะมาพลอยว่าลูกดิฉันเป็นเด็กเอาแต่ใจไป ทีมงานพอจะมีคำแนะนำอะไรให้ได้บ้างไหมคะ

หลังจากที่ทีมงานได้รับข้อความหลังบ้านจากคุณแม่ท่านนี้ ทีมงานก็ทราบทันทีเลยค่ะว่า การกระทำของลูกสาวของคุณแม่นั้น ถือเป็นหนึ่งในอาการของเด็กทุกคนที่เราเรียกกันว่า “วัยต่อต้าน” จึงได้รีบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมทันที พร้อมกับ วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด โวยวายเอาแต่ใจ เพราะคาดว่า ยังมีคุณแม่อีกหลาย ๆ ท่านกำลังประสบกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้อยู่แน่นอน

วัยต่อต้าน คือวัยที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 1 – 3 ปีค่ะ เป็นวัยที่เริ่มมีความคิดความอ่านเป็นของตัวเอง วัยที่พร้อมจะกระทืบเท้า ร้องกรี๊ด โวยวาย อาละวาดลงไปชักดิ้นชักงออยู่ที่พื้น เพื่อต้องการเอาชนะคุณพ่อคุณแม่ เพราะมั่นใจว่า การกระทำนี้คือท่าไม้ตายที่เมื่อไรก็ตามที่เขาทำ คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องใจอ่อนยอมตามใจแต่โดยดี แล้วคุณจะยอมให้เป็นอย่างนั้นหรือ???

ด้านแพทย์หญิงสินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี ได้กล่าวถึงพฤติกรรมนี้ว่า การแสดงออกเช่นนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยนี้ควรที่จะเข้าใจมากกว่า การดุด่า ว่าทอ หรือตบตีลูก

เนื่องจากพวกเขา เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากเห็น มีความต้องการที่จะควบคุมทุกอย่าง อยากมีอิสระ และพยายามที่จะทำอะไรก็แล้วแต่ที่เกินความสามารถของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ยังไม่โตพอที่จะรู้จักควบคุมตัวเองได้ดีพอ และเมื่อไรก็ตามที่เหนื่อย หิว หงุดหงิด หรือกลัว ความก้าวร้าวก็เริ่มทวีคูณมากขึ้นตามไปด้วย

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นเช่นนี้?

  • ข้อจำกัดเรื่องภาษา – ด้วยความที่ลูกยังเล็กเกินไป ลูกก็เลยยังไม่รู้จะสื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทราบได้อย่างไรว่า อาการที่ลูกเป็นนั้น เป็นเพราะลูกหิว ลูกร้อน ลูกหงุดหงิด หรือแม้แต่ง่วงนอน ลูกรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ดี และด้วยสาเหตุดังกล่าวยิ่งส่งผลทำให้พวกเขาหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น
  • อยากทำบางสิ่งบางอย่างแต่ทำไม่ได้ – ยกตัวอย่างเช่น ลูกอยากที่จะเขียนหนังสือ อยากผูกเชือกรองเท้า หรืออยากติดกระดุมเสื้อเอง แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร พอพวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะทำ แต่กลับทำไม่ได้เลยยิ่งส่งผลทำให้หงุดหงิด และร้องโวยวายมากขึ้น
  • อยากเป็นหนึ่ง – เด็กวัยนี้ รับรู้มาตลอดว่าทุกคนให้ความรักและความสำคัญเพราะพวกเขาเด็กที่สุด แต่เมื่อไรก็ตามที่มีน้อง หรือมีเด็กคนอื่น หรือบุคคลอื่นมาทำให้ความสำคัญของเขาลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ลูกก็จะยิ่งแสดงความไม่พอใจออกมา เนื่องจากเกิดอาการหึงหวง และรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญลดน้อยลงด้วย เป็นต้น
  • ไม่สบายตัว – เมื่อไรก็ตามที่ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่สบายตัว ยกตัวอย่างเช่น อยู่ในอากาศที่ร้อนหรือหนาวจัด ง่วงนอนหรือนอนไม่พอ หรือแม้แต่หิวละก็ ลูกก็จะไม่สามารถบอกคุณพ่อคุณแม่ให้เข้าใจได้ ดังนั้น จึงเกิดเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารักนี้ขึ้น

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up