วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง

5 เคล็ดลับ วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง ทำตามด้วยใจ

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง
วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง

วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง ไม่ดื้อ รับฟังเหตุ และผล สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เขาสามารถพัฒนาตนเองไปสู่อนาคตที่ดีได้ มาดูเคล็ดลับไม่อยากบอกกันเถอะ

5 เคล็ดลับ วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง ทำตามด้วยใจ 

พัฒนาการของเด็กไม่ได้มีหน้าาที่ เชื่อฟัง เพียงอย่างเดียว การที่เด็กแสดงความดื้อ ต่อต้าน นั่นเป็นอาการบ่งบอกถึงการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองของเด็ก เมื่อลูกอายุ 8 เดือน เขาจะเริ่มแยกแยะตัวเอง และคนอื่น ๆ ได้ เขาจะเริ่มเรียนรู้หลักการของความแตกต่างอย่างช้า ๆ จนอายุประมาณ 18 เดือน เด็กจะสามารถจำตัวเองได้เมื่อส่องกระจก ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มสร้างลักษณะนิสัยเฉพาะตัว เป็นการเริ่มการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง และการจะสื่อให้แม่รับรู้พัฒนาการในส่วนนี้ จุดมักจะพบว่าเด็กจะแสดงอาการต่อต้าน ปฎิเสธอยู่เสมอ แม้ว่าเขาจะอยากทำสิ่งที่พ่อแม่บอกก็ตามที เช่น เมื่อบอกให้ลูกไปอาบน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เขาชอบมาก แต่เมื่ออยู่ในวัยนี้มักจะเห็นลูกส่ายหัว บอก “ไม่” ปฎิเสธมาเสียก่อน เป็นต้น จากที่คุณแม่เคยเป็นผู้ตัดสินใจ ตอนนี้กลายเป็นลูกเป็นคนตัดสินใจเสียแล้ว แบบนี้พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เข้าใจธรรมชาติ พร้อมรับมือ!!

การที่ลูกมีความเป็นตัวของตัวเอง เขากำลังพัฒนาความรู้สึกเป็นอิสระ และความรับผิดชอบต่อตนเอง ลูกจะได้เรียนรู้การเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสม และเป็นที่พอใจของตนเอง เลือกคำตอบที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้นเราในฐานะพ่อแม่ย่อมต้องเข้าใจในธรรมชาติของลูก และช่วยส่งเสริมให้เขาสามารถพัฒนาความคิดอ่านของตนเองไปในทางที่ดี การส่งเสริมให้ลูกสามารถพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองได้ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างถูกต้อง เราจึงต้องทั้งปล่อยและดึง ในเวลาเดียวกัน การพูดให้ลูกเชื่อฟัง จึงเป็นสิ่งที่นับว่าเป็นศาสตร์ขั้นสูงของพ่อแม่ ที่จะพูดอย่างไรให้เขารู้สึกคล้อยตาม เชื่อฟัง โดยไม่เป็นเพียงการทำตามคำสั่ง

อยากให้ลูกเชื่อฟัง เรามีเคล็ดลับ
อยากให้ลูกเชื่อฟัง เรามีเคล็ดลับ

เคล็ดลับ 5 ข้อ กับ วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง

1. พูดให้หนักแน่น ชัดเจน เป็นคำสั่งที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อเราต้องการสอนลูก เราควรใช้คำพูดที่ชัดเจน น้ำเสียงหนักแน่น จริงจัง เคล็ดลับ คือ การบอกลูกว่าเขาควรทำอะไร มากกว่า การบอกว่าไม่ควรทำอะไร …

การบอกให้สิ่งที่เขาควรทำ จะทำให้ลูกไม่สับสน เป็นคำสั่งที่ชัดเจนว่าเขาต้องทำตัวอย่างไร เช่น ขณะเดินไปพบแอ่งน้ำบนถนน พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเหยียบกลัวสกปรก ไม่ควรบอกว่า “อย่าเดินเหยียบแอ่งน้ำนะ!” สิ่งที่พ่อแม่ควรพูด คือ “ลูกเดินไปด้านข้างทาง รอบแอ่งน้ำนะ”  เมื่อเราบอกเด็กว่าไม่ควรทำอะไร (อย่าเดินในแอ่งน้ำ) พวกเขาอาจทำอย่างอื่นที่ไม่เหมาะ (รีบวิ่งผ่านแอ่งน้ำหรือพยายามกระโดดข้ามแอ่งน้ำ)

เช่นเดียวกัน เมื่อลูก ๆ ของคุณต้องการเล่นกับคุณ หรือเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ในขณะที่คุณกำลังทำงานอยู่ ทำงานบ้านอยู่ การบอกเด็กว่า “พ่อแม่กำลังยุ่ง ไว้ก่อน” “เดี๋ยวไป” หรือ “อย่ามายุ่งตอนนี้” มักจะได้ผลเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น คำสั่ง ห้ามทำ ไม่ได้ชี้แจงว่าเมื่อใด “เดี๋ยว” ไม่ได้อธิบายว่านานแค่ไหน  อย่างไร พ่อแม่จึงควรใช้คำพูดเหล่านี้แทน และบอกลูกว่า “แม่ยังไม่ไปเล่นตอนนี้ เพราะกำลังทำงาน ถ้าลูกเงียบสัก 10 นาทีแล้วออกไปจากห้องนี้ แม่จะได้ทำอะไรให้เสร็จ แล้วเราจะคุย/เล่นด้วยกัน

2.ถามคำถามให้น้อยลง มุ่งเน้นไปที่สิ่งสำคัญเท่านั้น

แม้ว่า พ่อแม่จะได้รับรู้มาว่า ควรต้องพูดคุยถามไถ่ลูก เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเขา เพื่อจะได้คอยสังเกตว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ แต่หากมากเกินไป หรือเมื่อพ่อแม่พูดซ้ำ ๆ เดิม ๆ จนกลายเป็นเรื่องที่เด็กเรียนรู้ได้ว่า ไม่จำเป็นต้องตอบทุกคำถามของพ่อแม่ เขาจะเรียนรู้ว่า“ทำไมฉันต้องทำทุกอย่างที่พ่อถามในครั้งแรก ในเมื่อในที่สุดพ่อก็จะถามครั้งที่สอง สาม หรือสี่ในที่สุด ในระหว่างนี้ ฉันจะทำสิ่งที่ฉันทำต่อไป” (เล่นเกม หลีกเลี่ยงการแปรงฟันหรือเข้านอน)

เมื่อลูกไม่ตอบคำถามเหล่านี้ แม้จะดูเป็นเรื่องไม่ใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่ามันเป็นจุดเริ่มต้น มันเป็นรูปแบบหนึ่งของการไม่เชื่อฟัง เป็นการตอกย้ำว่าการไม่ตอบสนองต่อคำสั่งของผู้ปกครองนั้นยอมรับได้ และไม่มีผลกระทบใด ๆ

การถามคำถามเด็กมากเกินไป – “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง” “โรงเรียนเป็นยังไงบ้าง” “คุณเรียนอะไร?” “คุณนั่งข้างใคร” “คุณกำลังทำอะไร?” “คุณสามารถมาที่นี่ได้ไหม?” อาจไม่จำเป็น หากคุณต้องการให้เขาทำตาม หรือเชื่อฟังในเรื่องที่จำเป็นกว่านี้ ลองลดคำถามให้น้อยลงบ้าง เพื่อสิ่งที่สำคัญกว่า

วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง
วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง

3.จริงจังกับการไม่ปฎิบัติตาม

เมื่อใดที่คุณออกคำสั่งออกไป จงทำให้ลูกเห็นว่าหากไม่ทำตามคำสั่งนั้น ๆ จะได้รับผลอย่างไร ข้อนี้จะใช้ได้ผลเมื่อคุณทำตามข้อแนะนำที่ได้ให้ข้างต้นเสียก่อน คำสั่งที่เราสั่งให้ลูกปฎิบัติตามนั้น หากเป็นคำสั่งที่มีประสิทธิภาพ ไม่พร่ำเพรื่อ การบังคับใช้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำทำให้ลูกเชื่อฟังเช่นกัน เมื่อเด็กไม่ทำตามคำสั่ง มักมีเหตุผล เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เช่น มีเวลาเล่นวิดีโอเกมมากขึ้น หรือเลิกทำสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ เช่น เข้านอน พฤติกรรมของเด็กมักจะไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าพวกเขาจะมองว่า การไม่ปฏิบัติตามกฎเป็นปัญหา หากคุณเป็นพ่อแม่ที่คอยสั่ง แต่เมื่อลูกอิดออด อิดเอื้อนที่จะปฎิบัติตามจนคุณเองที่ถอดใจ และทำสิ่งเหล่านั้นให้กับพวกเขาเอง ทำได้เพียงแค่บ่น หรือว่าไปตามประสา คุณควรเริ่มจริงจังได้เสียที

เราไม่ได้พูดถึงการลงโทษหากเด็กไม่ปฎิบัติตาม การลงโทษ เช่น การตีก้น การตะคอก หรือการขู่เข็ญ แต่การทำให้เด็กเรียนรู้ว่าการปฎิบัติตามสิ่งที่พ่อแม่สั่งเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยหากเขาไม่ปฏิบัติตามหมายความว่าเด็กจะสูญเสียสิทธิพิเศษ หรือรางวัลบางประเภท เช่น กิจกรรมสนุกๆ หรือเวลาหน้าจอ หรือโทเค็นสำหรับเกม เป็นต้น

 

อ่านต่อ>> วิธีเลื้ยงลูกให้เชื่อฟัง ทำตามด้วยใจ 5 เคล็ดลับที่คุณควรรู้ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up