แม่เลี้ยงเดี่ยว

14 เคล็ดลับ แม่เลี้ยงเดี่ยว ฉบับฉุกเฉิน รับมือได้ไม่สะดุด

Alternative Textaccount_circle
event
แม่เลี้ยงเดี่ยว
แม่เลี้ยงเดี่ยว

แม่เลี้ยงเดี่ยว พ่อเลี้ยงเดี่ยว เมื่อจำเป็นต้องแยกทาง มาดูวิธีรับมือกับชีวิต ทำยังไงให้ไปต่อได้ไม่มีสะดุด กับ 14 ข้อวิธีรับมือ เมื่อต้องเผชิญแบบฉุกเฉิน

14 เคล็ดลับ แม่เลี้ยงเดี่ยว ฉบับฉุกเฉิน รับมือได้ไม่สะดุด!!

เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนสถานะมาเป็น พ่อ หรือ แม่เลี้ยงเดี่ยว อย่าเพิ่งถอดใจ วันนี้เรามีเคล็ดลับ ในการรับมือกับการเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ฉบับฉุกเฉินมาฝากกัน เพื่อช่วยให้คุณก้าวข้ามผ่านปัญหาที่เข้ามาแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ไม่มีสะดุด เพราะถึงอย่างไร ลูก ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องจูงมือ พากันก้าวเดินต่อไป

แม่เลี้ยงเดี่ยว ทำตัวอย่างไรดี
แม่เลี้ยงเดี่ยว ทำตัวอย่างไรดี

14 เคล็ดลับช่วยให้ แม่เลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่โดดเดี่ยว

1. ดูแลตัวเองให้ดีก่อน

ดูแลความรู้สึกของตัวเองให้กลับมาเป็นปกติ ตอบสนองความต้องการพื้นฐานไม่ให้บกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ดี ให้มีสุขภาพที่ดี เพื่อให้เรามีพลังในการดูแลลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะก่อนที่คุณพ่อคุณ แม่เลี้ยงเดี่ยวทั้งหลายจะสามารถดูแลคนอื่นได้ เราต้องดูแลตัวเองให้ดีเสียก่อน

ซึ่งโดยส่วนใหญ่เมื่อตกเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว สิ่งแรกที่เรามักจะทำคือ การชดเชยให้แก่ลูกอย่างเต็มที่จนลืมนึกถึงตัวเองไป ลูกต้องมาที่หนึ่งเสมอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเราทุ่มเทจนเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ความสามารถในการดูแลลูกของคุณพ่อคุณแม่ก็จะลดลงไปตามด้วย จนบ้างครั้งจะเป็นเราเสียเองที่ทำให้เขาเสียใจ

เมื่อคุณไม่ละเลยในการดูแลตัวเอง แน่นอนว่าคุณก็จะไม่ละเลยในการดูแลลูก ๆ เช่นกัน เพราะ ลูก ๆ ของคุณต้องพึ่งพาคุณ และนั่นก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะมีความพร้อมแค่ไหนในการดูแลพวกเขา

 2. หาเพื่อนแบ่งเบา ภาระใจ

อย่ามัวแต่คิดว่าปัญหาที่เข้ามาเป็นปัญหาใหญ่ ต้องแบกไว้เพียงลำพัง การที่เราได้ระบายความในใจ ระบายทุกข์ และปัญหาที่ประสบพบเจอให้แก่ใครสักคนที่พร้อมจะรับฟัง อย่างน้อยก็ช่วยให้ใจคุณเบา สบายขึ้น หากคุณไม่สามารถหาคนที่จะพูดคุยด้วยได้ ลองค้นหากลุ่มพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวตามกลุ่มออนไลน์ ตามเพจโซเซียลมีเดีย คุณจะได้รับคำแนะนำ และกำลังใจดี ๆ จากคนที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน แถมยังได้แนวทางการเรียนลูกจากพ่อแม่คนอื่น ๆ อีกด้วย

3. ออกไปพบปะผู้คน หลีกหนีบรรยากาศเดิม ๆ 

หากิจกรรมอื่น ๆ ทำ เพื่อให้เราได้พบปะผู้คนใหม่ ๆ เปลี่ยนบรรยากาศ ไม่จมอยู่กับอดีต เช่น การพาลูกไปเรียนว่ายน้ำ เรียนศิลปะ ออกทริปท่องเที่ยว เป็นต้น การพบคนกลุ่มใหม่ ๆ ได้พูดคุยในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ปัญหา ทำให้เราลืม และวางปัญหานั้นไปได้บ้าง แม้จะเป็นเพียงชั่วคราว แต่การได้หยุดคิด แล้วค่อยมองย้อนกลับไป อาจทำให้คุณมองเห็นในสิ่งที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน และนั่นอาจเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัญหาของคุณก็เป็นได้

เคล็ดลับ แม่เลี้ยงเดี่ยว พาลูกเปลี่ยนบรรยากาศเดิม ๆ พบปะเพื่อนบ้าง
เคล็ดลับ แม่เลี้ยงเดี่ยว พาลูกเปลี่ยนบรรยากาศเดิม ๆ พบปะเพื่อนบ้าง

4. ยอมรับความช่วยเหลือบ้างก็ได้

เพราะคุณไม่ได้เป็นซุปเปอร์ฮีโร่ หรือ มีพลังพิเศษ ไม่จำเป็นต้องทำด้วยตัวเองไปทั้งหมด อาจมีคนในชีวิตของคุณที่เป็นห่วงคุณ และลูก ๆ ของคุณอยู่ไม่น้อย และพวกเขาก็ยินดีที่จะช่วยเหลือคุณ เช่น การยอมให้เพื่อนข้างบ้านโรงเรียนเดียวกับลูก ไปรับไปส่งลูกแทนบ้างในบางคราว เป็นต้น การยอมรับความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้าง ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ แต่การรับน้ำใจจากพวกเขา ก็เสมือนการเยียวยาทั้งทางร่างกาย ให้ได้พักผ่อน หยุดจัดระเบียบชีวิตใหม่ และยังเป็นพลังทางใจให้เรากลับมาสู้ต่อ และเราไม่ได้สู้เพียงลำพัง ยังมีมิตรอีกมากที่พร้อมจะช่วยเหลือ

5. หาโอกาสในการหารายได้พิเศษ

พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ในวันที่ต้องรับภาระหน้าที่เพียงคนเดียว ไม่มีคนมาช่วยหารอีกต่อไป โดยเฉพาะ แม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ไม่ได้ทำงานข้างนอก ขณะที่ยังเป็นครอบครัวพ่อแม่ และลูก ทำให้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายดูจะเป็นเรื่องใหญ่อยู่ไม่ใช่น้อย การเริ่มหางานประจำทำ ผ่านความช่วยเหลือของคนที่ต้องการช่วยเหลือ ก็เป็นสิ่งที่ควรรับไมตรีนั้น แต่หากยังหาไม่ได้ การหารายได้เสริมจากงานอดิเรก เช่น การทำขนมขาย การรับจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะช่วยแบ่งเบาในระหว่างขยับขยายไปได้บ้าง แหล่งการเรียนรู้ในอาชีพเสริม หรือกลุ่มสอนงานอาชีพต่าง ๆ ปัจจุบันมีเปิดสอนฟรีมากมาย ลองเริ่มต้นกันใหม่ บางทีอาจเป็นโอกาสสร้างอาชีพที่มั่งคั่งให้แก่คุณในอนาคตได้

6. วางแผนไว้เสมอ

ในฐานะคุณพ่อหรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว สิ่งหนึ่งที่คุณต้องระลึกกอยู่เสมอนั่นคือ การวางแผนล่วงหน้าสำหรับเหตุฉุกเฉิน แผนสำรองหรือแผนสอง เป็นสิ่งที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน สร้างรายชื่อที่คุณรู้จัก หรือ สามารถโทรหาได้ในเวลาที่คุณมีเหตุฉุกเฉิน สิ่งสำคัญคือ คุณจะได้รู้ว่า เมื่อมีเหตุการ์ณคับขันขึ้นมา มีใครที่คุณสามารถพึ่งพาได้ หรืออาจตรวจสอบดูว่าละแวกบ้านที่คุณอยู่นั้น มีบริการรับเลี้ยงเด็กเป็นรายวัน หรือรายครั้งหรือไม่ และลองไปสำรวจดูว่าเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยพอสำหรับลูกคุณหรือไม่ การที่รู้ว่ามีใครสามารถดูแลลูกของคุณได้ในยามคับขัน ก็สามารถบรรเทาความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ตึงเครียดได้

7. สร้างตารางเวลาให้ลูก

ร่วมกำหนดเวลาในชีวิตประจำวันของลูก เป็นตารางเวลา โดยกำหนดร่วมกันกับลูก ให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อให้เขาตระหนัก และรู้ว่าในวันหนึ่ง ๆ เขามีหน้าที่ต้องทำสิ่งใดบ้าง เป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่คุณพ่อคุณแม่ เช่น ตารางเวลาตื่นนอน เข้านอน เวลาทำการบ้าน เวลาเล่น เป็นต้น นอกจากจะทำให้เขารู้ว่าต้องทำตัวอย่างไร ยังช่วยให้ลูกรู้จักหน้าที่ของตนเอง และรับผิดชอบตัวเองได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า ตารางเวลานี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้เลย เราต้องรู้จักยืดหยุ่น ไม่เข้มงวดจนลูกรู้สึกว่าเป็นการบังคับ ไม่อยากทำตาม

นอกจากนี้ตารางเวลายังช่วยให้คุณวางแผน ตารางชีวิตของคุณได้อีกด้วย ว่าเวลาว่างของเรามีช่วงไหนบ้าง จะได้จัดสรรเวลาให้แก่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน ทำงาน หรือทำกิจกรรมอื่นใดส่วนตัวได้

วางตารางชีวิตประจำวันให้ลูก ช่วยแบ่งเบาภาระ แม่เลี้ยงเดี่ยว
วางตารางชีวิตประจำวันให้ลูก ช่วยแบ่งเบาภาระ แม่เลี้ยงเดี่ยว

8. การปฏิบัติตามกฎระเบียบและวินัย

นั่นคือหากลูกของคุณมีผู้ดูแลหลายคน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ พี่เลี้ยงเด็ก คุณอาจต้องสื่อสารให้ชัดเจนเลยค่ะว่า จะจัดการเรื่องระเบียบวินัยอย่างไร เพราะการที่ลูกตระหนักถึงกฎระเบียบ และวินัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะเป็นประโยชน์ให้กับลูก ไม่ใช่ว่าอยู่กับแม่เข้มงวด อยู่กับตายาย พี่เลี้ยง เป็นอีกแบบ จะทำให้เด็กสับสน และนำมาซึ่งการไม่ทำตามกติกา อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขีดจำกัด พฤติกรรม การพูดจา เป็นต้น ในภายหลัง

9. คิดบวกอยู่เสมอ

คำว่า “โชคดีที่โชคร้าย” เป็นการให้กำลังใจตนเอง และทำให้เรามองหาข้อดีได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย อย่างเช่น การที่ต้องมาเป็นพ่อ แม่เลี้ยงเดี่ยว บางคนอาจเก็บไว้คนเดียวไม่บอกลูก ทำให้เขาสับสน และทำตัวไม่ถูก บางครั้งหากเราตั้งสติ และเล่าเรื่องราวให้ลูกฟัง คุณอาจจะพบว่าลูกเรามีความคิดอ่านที่ใช้ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว สถานการณ์ที่เลวร้ายอาจเป็นการช่วยให้เขารู้จักโต และรับผิดชอบตัวเองมากขึ้นการคิดบวกจะทำให้สภาพแวดล้อมในบ้านมีความสุขมากขึ้น รักษาความอารมณ์ขันของคุณ และอย่ากลัวที่จะโง่บ้าง มองไปสู่อนาคต และเดินก้าวไปพร้อมกันกับลูก ค้นหาและกำหนดคุณค่าของครอบครัวคุณเพื่อลูก และตัวคุณเอง

10. พ่อแม่ ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ 100%

พ่อแม่หลาย ๆ คนมักจะคิดว่าเราจะต้องเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบให้แก่ลูก แต่การที่พ่อแม่ทำผิดบ้างไม่ใช่เรื่องแปลก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา ยิ่งโดยเฉพาะพ่อ แม่เลี้ยงเดี่ยว ด้วยแล้ว เราต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า การที่เราจะผิดพลาดในจุดใดไปบ้างไม่ใช่เรื่องที่ไม่น่าให้อภัย ปล่อยวางสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้ในฐานะพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว แต่คิดถึงสิ่งดี ๆ ที่คุณสามารถมอบให้กับลูก ๆ ของคุณได้แทน

ทิ้งความคิดที่ว่าชีวิตจะง่ายขึ้น หรือดีขึ้นหากลูกมีทั้งพ่อและแม่พร้อมหน้าพร้อมตา เพราะนอกจากจะไม่เป็นความจริงแล้ว จะทำให้กำลังใจคุณถูกบั่นทอนไปเสียเปล่า ๆ อย่าจมอยู่กับความรู้สึกผิดหรือเสียใจ คุณไม่สามารถจะควบคุมชีวิตใครได้ แต่สิ่งสำคัญคือ คุณสามารถเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ที่มีอยู่จริงของลูกได้ เพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเขาแล้ว

ไม่ใช้อารมณ์กับลูก ในวันที่เขาสับสน
ไม่ใช้อารมณ์กับลูก ในวันที่เขาสับสน

11. ตอบคำถามลูกด้วยความจริงใจ

ลูกอาจเกิดคำถาม หรือสงสัยบ้าง ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมพ่อ หรือ แม่หายไปไม่เหมือนเดิม ทำไมบ้านของพวกเขาถึงได้แตกต่างจากเพื่อน ๆ หลายคน เมื่อคุณถูกถามแบบนี้แล้ว ให้ใช้โอกาสนี้อธิบายความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น และสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุของพวกเขาอธิบายให้สมกับวัยของลูก อย่าให้รายละเอียดมากเกินความจำเป็น หรือพูดไม่ดีเกี่ยวกับอีกฝ่าย แต่จงพยายามตอบอย่างซื่อสัตย์ และใช้ความจริงใจต่อลูก ๆ ของคุณ

12. รับฟังความคิดเห็นของลูก

ลูก คือ อีกคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กับคุณ ดังนั้นการให้เขาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องต่าง ๆ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นบ้าง ก็เป็นการเคารพในการตัดสินใจของลูก เกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเขาเช่นกัน ถึงแม้บางครั้งเขาอาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่ได้ไปทางเดียวกับคุณ อย่าใช้อารมณ์ อย่าโกรธลูก คุณต้องแยกแยะความต้องการทางอารมณ์ของคุณให้ได้ และปฏิบัติต่อลูกด้วยความเข้าใจว่าเด็กอาจไม่สามารถรับรู้ได้เท่ากับผู้ใหญ่ ค่อย ๆ สอน อธิบาย และรอเวลาที่เขาจะทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ได้มากขึ้น

13. ค้นหาแบบอย่างที่ดีของเพศตรงข้ามคุณให้ลูก

เพราะจะเป็นการช่วยสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่ลูก ไม่สร้างความสัมพันธ์เชิงลบกับคนเพศตรงข้ามกับคุณให้แก่เขา เป็นเรื่องปกติที่ลูกจะรู้สึกไม่ดีกับคนที่มาทำร้ายคนที่เขารักที่สุด นั่นคือ พ่อ หรือแม่ แต่การที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีต่อเพศตรงข้ามกับคุณไปด้วยจะทำให้เขามีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน ค้นหาญาติสนิทมิตรสหาย หรือ สมาชิกในครอบครัวที่ยินดีจะใช้เวลากับลูกของคุณแบบตัวต่อตัว นั่นก็เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่คุณไว้วางใจ และเชื่อใจ

แสดงความรัก ชื่นชมลูกบ้าง
แสดงความรัก ชื่นชมลูกบ้าง

14. แสดงความรักให้ลูกได้เห็น และรับรู้บ้าง

เด็กทุกคนต้องการความรัก การมีตัวตนของพ่อแม่ นั่นคือ การที่เขารับรู้ได้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ลูกจะมีคุณอยู่ข้าง ๆ เสมอ ดังนั้นการที่เราแสดงความรักให้เขาได้รับรู้เป็นสิ่งที่ดี เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ หากคุณคิดว่า การแสดงความรักกับเด็ก จะทำให้เด็กเหลิง เสียคน เพราะจากงานวิจัยมากมาย ก็แสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากการบอกรักลูก หรือแสดงพฤติกรรมใด ๆ ให้เขารู้ว่าเรารักเขา นั่นจะทำให้ลูกรู้สึกถึงความมั่นใจ มี safe zone ในยามที่ต้องการ ชื่นชมที่การกระทำมากกว่าผลลัพธ์ที่ลูกทำ จะช่วยให้ลูกไม่รู้สึกกดดัน และสบายใจ

ข้อมูลอ้างอิงจาก bestreview.asia

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

8 เคล็ดลับ สู่การเป็น Single Momอย่างมืออาชีพ!

เล่นกับลูกไม่เป็น เราช่วยได้กับกิจกรรมเล่นดีสมวัยสร้างสรรค์

บาดแผล ทางใจในวัยเด็ก ส่งผลกระทบกับลูกมากกว่าที่คิด

10 รีวิวแปรงสีฟันเด็ก แปรงสนุก สะอาดทั่วถึง ไม่บาดเหงือก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up