ลูกเสียชีวิต

วิธีเยียวยาจิตใจเมื่อ ลูกเสียชีวิต คนที่ยังอยู่ ต้องจับมือกันไว้!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเสียชีวิต
ลูกเสียชีวิต

ลูกเสียชีวิต – เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิตในช่วงวัยชรา คนเรามักยอมรับว่าความตายที่เกิดขึ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องพบเจอกับการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา แต่ประสบการณ์ที่เราจะพูดถึงวันนี้อาจแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ในกรณีที่คุณต้องเผชิญกับการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของลูกชายหรือลูกสาวอันเป็นที่รัก ที่ทั้งพ่อแม่ต่างเฝ้าฟูมฟักดูแลมาแต่อ้อนแต่ออก  สำหรับพ่อแม่ที่สูญเสียลูกไป มันไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้เข้าใจและยอมรับได้กับการที่ชีวิตน้อยๆ จะต้องล่วงลับไปก่อนเวลาอันสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการสุญเสียเกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า หากคุณกำลังเผชิญกับการสูญเสียลักษณะนี้ ในครอบครัวของคุณ ต่อไปนี้คือ 11 เคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณและครอบครัวสามารถรับมือและผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้ายนี้ไปได้ในไม่ช้า

วิธีเยียวยาจิตใจเมื่อ ลูกเสียชีวิต คนที่ยังอยู่ ต้องจับมือกันไว้!

1.อยู่เคียงข้างกันให้กำลังใจกัน

อยู่รวมกันไว้ หันหน้าเข้าหากัน พึ่งพาอาศัยกันเพื่อขอความช่วยเหลือกันและกัน การอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจกันจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในความเศร้าโศกครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในครอบครัว การศึกษาวิจัยในพ่อแม่ของเด็กที่เป็นมะเร็ง (เด็กบางคนเสียชีวิต) ที่ตีพิมพ์ในปี 2010 พบว่าในบรรดาคู่รักเกือบ 5,000 คู่ มีอัตราการหย่าร้างน้อย และได้ข้อสรุปว่า “ความสัมพันธ์ในชีวิตสมรสส่วนใหญ่ รอดพ้นจากความเครียดที่เกิดจากการตายของเด็ก และอาจแข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว” แม้ว่าครั้งหนึ่งเคยมีความเชื่อว่าการตายของเด็ก อาจทำให้เกิดอัตราการหย่าร้างสูงในหมู่พ่อแม่ที่ต้องพบกับความสูญเสีย แต่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไม่สนับสนุนเรื่องนี้

2. ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุกคนอาจเศร้าโศกในระดับที่ต่างกันไป การเผชิญการสูญเสียลูกชายหรือลูกสาวตัวน้อย อาจสร้างความตึงเครียดให้กับการแต่งงาน และความสัมพันธ์ของพ่อแม่รวมถึงพี่น้องที่ยังอยู่ได้ สิ่งสำคัญคือ หัวหน้าครอบครัวต้องเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อต้องรับมือกับการสูญเสียที่หนักหนาสาหัส อย่าพยายามผ่านสถานการณ์นี้อย่างทุลักทุเลด้วยตัวเอง การได้รับคำปรึกษาด้านครอบครัวจากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้คุณและคนในครอบครัวมีทักษะที่จำเป็นในการผ่านพ้นความสูญเสียอันแสนสาหัสนี้ไปได้

หากความตายของสมาชิกตัวน้อยเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน มันอาจจะเป็นเรื่องยากมากที่จะสามารถรับมือได้ในเวลาอันสั้น ตามที่ ดร.เทอรีส แรนโด  นักจิตวิทยา และผู้อำนวยการคลินิกของ The Institute for the Study and Treatment of Loss ในสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ ด้วยเหตุผลนี้ การหาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยคุณค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีและเหมาะสำหรับครอบครัวคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญ กลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้คุณจัดการกับ วัน สัปดาห์ และเดือนต่อๆ ไปได้ ในขณะเดียวกัน ลูกคนอื่นๆ ของคุณอาจได้รับประโยชน์จากการให้คำปรึกษาด้านการรับมือกับความเศร้าโศกเพื่อเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกของพวกเขาได้

3. ยอมรับความช่วยเหลือจากญาติมิตร

เปิดใจกว้างและเต็มใจยื่นมือรับความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือเพื่อนบ้าน ในช่วงแรกหากคุณรู้สึกทำกิจวัตรต่างๆ ได้ไม่เหมือนเดิม จงปล่อยให้พวกเขาช่วยคุณเรื่องต่างๆ ภายในบ้าน ทั้งเรื่องอาหาร และการดูแลลูก ๆ ของคุณในบางโอกาส ให้พวกเขาช่วยทำงานบ้าน ทำธุระให้ และที่สำคัญที่สุดคือการฟังเมื่อคุณต้องการพูดและระบายความุกข์ในใจ นอกจากนี้ ให้พวกเขาช่วยทำงานประจำวัน เช่น ซักผ้า หรือซื้อของ อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเองหรือโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ ให้ตัวเองได้หยุดพักตามที่คุณต้องการ และถ้ามีคนพูดว่า “ให้ช่วยอะไรก็บอกได้เสมอนะ” ก็ควรรับข้อเสนอของพวกเขาไว้ ขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ คนรอบข้างมีความปรารถนาที่จะช่วยคุณ แต่บางทีพวกเขาอาจไม่รู้ว่าควรจะเริ่มมันได้อย่างไร

ลูกเสียชีวิต
ลูกเสียชีวิต

4. เตรียมพร้อมรับความจริงหลังจบพิธีทางศาสนา

ในช่วงเวลาที่คุณจัดการกับงานศพเสร็จลุล่วง และทุกคนต้องกลับมามีชีวิตตามปกติของตัวเอง ครอบครัวที่เศร้าโศกจะเริ่มเผชิญกับชีวิตโดยปราศจากลูกอันเป็นที่รัก คนส่วนใหญ่คิดว่าการจัดการกับการสูญเสียลูกทันทีหลังความตายเป็นฝันร้ายมากที่สุด สิ่งที่พวกเขาไม่รู้ก็คือ ฝันร้ายที่ทำให้หัวใจสลายยังคงดำเนินต่อไป ครอบครัวต้องรับมือกับฝันร้ายต่อไปอีกนาน พวกเขากำลังเผชิญชีวิตที่เหลือโดยไม่มีลูกที่เพิ่งเสียชีวิตไป  สิ่งสำคัญคือต้องเปิดช่องทางการสื่อสารคนในครอบครัวที่ยังอยู่ และหมั่นใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน การพูดคุยกันเกี่ยวกับการสูญเสียของคุณ คนที่คุณรักที่เสียชีวิต และสิ่งที่คุณรู้สึกจะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวของคุณจัดการกับความเศร้าโศกได้ นอกจากนี้ยังจะช่วยให้สายสัมพันธ์ในครอบครัวของคุณแข็งแกร่งขึ้น จำไว้ว่าการรู้ว่าครอบครัวเรายังแข็งแรงอยู่ เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณผ่านพ้นความเศร้าโศกไปได้สำเร็จเช่นกัน

5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าการได้รับความช่วยเหลือเพื่อผ่านพ้นช่วงแรกที่สูญเสียเป็นเรื่องสำคัญ แต่การขอความช่วยเหลือต่อไปก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น คุณจะต้องได้รับการสนับสนุนสำหรับปัญหาที่ไม่คาดฝันที่อาจก่อให้เกิดการสูญเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณก้าวผ่านขั้นตอนของความเศร้าโศก ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเรียนของพี่น้องตกต่ำ ความซึมเศร้าในวัยรุ่น หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ต้องการอยู่โดยปราศจากผู้เป็นที่รักซึ่งเสียชีวิตอีกต่อไป การขอความช่วยเหลือในสถานการณ์เหล่านี้ง่ายกว่ามาก เมื่อคุณพบผู้เชี่ยวชาญที่รู้จักคุณและครอบครัวของคุณกำลังเผชิญปัญหาอยู่ จากนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คุณมีบุคคลที่สามารถช่วยคุณประมวลผลสิ่งที่เกิดขึ้นและผ่านมันไปได้

6. เข้าร่วมกลุ่มกับผู้ที่สูญเสียเช่นกัน

ผู้ปกครองหลายคนพบว่าการเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน ไม่ว่าจะมาเป็นครอบครัวหรือคนเดียวก็สามารถช่วยเยียวยาความรู้สึกได้ แม้ไม่ใช่การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แต่กลุ่มผู้ที่ประสบชะตากรรมเดียวกันสามารถเพิ่มการสนับสนุนที่ดีได้ ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสในการเชื่อมต่อกับผู้คนที่กำลังประสบในสิ่งเดียวกันกับคุณ แต่กลุ่มสนับสนุนที่มีสุขภาพดีมักจะให้ที่ที่ปลอดภัยในการแบ่งปันสิ่งที่คุณคิดและรู้สึกกับผู้ที่ “เข้าใจ” เท่าที่เพื่อนของคุณต้องการเห็นอกเห็นใจและอยู่เคียงข้างคุณ มีองค์ประกอบบางอย่างเกี่ยวกับการสูญเสียลูกที่พวกเขาอาจไม่เข้าใจ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มสนับสนุนจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการบำบัดรักษา

7. ใส่ใจสุขภาพตัวเอง

บ่อยครั้งการต้องจมอยู่กับความเสียใจต่อการสูญเสียคนที่รักไปอย่างกะทันหัน อาจทำให้เกิดความละเลยต่อสุขภาพของตนเอง ขาดความเอาใจใส่เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกาย และพึ่งพาอาหารจานด่วนมากขึ้น เพราะไม่มีแรงพอที่จะทำอาหาร นอกจากนี้อาจละเลยการไปพบแพทย์และตรวจร่างกาย

อย่างไรก็ตามการได้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายอย่างพอเหมาะยังเป็นสิ่งสำคัญ  สิ่งที่จะช่วยได้คือ การตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ ก่อน เช่นการเดินเล่นในละแวกบ้านในแต่ละวัน และกินผลไม้สักชิ้นพร้อมกับมื้ออาหารของคุณ เมื่อคุณเริ่มรู้สึกดีขึ้น คุณสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและกิจวัตรที่ดีต่อสุขภาพที่เคยทำให้กลับเข้ามาในชีวิตของคุณได้อย่างเต็มรูปแบบ คนส่วนใหญ่พบว่าเมื่อพวกเขารู้สึกดีขึ้นทางร่างกาย พวกเขาก็จะเริ่มรู้สึกดีขึ้นทางจิตใจด้วย

ลูกเสียชีวิต

8. อยู่ให้ห่างจากคนที่คำพูดเป็นพิษ

มีผู้คนมากมายที่ไม่รู้ว่าจะตอบสนองด้วยความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งที่คุณและครอบครัวกำลังประสบอยู่ได้เหมาะสมอย่างไร พวกเขาอาจพูดในสิ่งที่ไม่ละเอียดอ่อนหรือไตร่ตรองให้ดีก่อน หรือพวกเขาอาจสร้างความรู้สึกในแง่ลบ เช่น พวกเขาอาจพูดว่า “คุณควรจะจบเรื่องนี้ได้แล้ว” หรือ “อย่างน้อยคุณก็มีลูกอีกคน” สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณหรือครอบครัวของคุณ ความเศร้าโศกเป็นกระบวนการปกติที่เกิดขึ้นหลังจากความสูญเสีย ไม่มีทางไหนไหนที่คุณจะ “เอาชนะมันได้”  หากมีเพื่อนที่เป็นพิษในชีวิตของคุณที่ไม่สามารถเคารพความรู้สึกของคุณ คุณต้องกำจัดพวกเขาออกไปก่อน เพราะคุณไม่ต้องการความเจ็บปวดและความโศกเศร้าในชีวิตของคุณอีกต่อไป คุณควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนที่คอยช่วยเหลือและห่วงใย การทำเช่นนี้จะทำให้กระบวนการเศร้าโศกไม่เลวร้ายเกินไป และผ่านไปได้ในเร็ววัน

9. ให้สมาชิกที่ยังอยู่กลับเข้าสู่วิถีชีวิตปกติ

การได้มีสิ่งต่างๆ ให้ทำในแต่ละวันมักให้ความรู้สึกสบายใจและปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำกิจวัตรและวิถีชีวิตเดิมของคุณกลับมาโดยเร็วที่สุด ความพยายามนี้อาจรวมถึงกิจวัตรประจำวันในการเตรียมพร้อมสำหรับการเรียน และการทำงาน รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน หรือการได้พูดคุยสนทนาในช่วงเวลาค่ำคืนของครอบครัว นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำกิจกรรมกับงานอดิเรกและความสนใจที่คุณมีก่อนที่สมาชิกอันเป็นที่รักของทุกคนจะเสียชีวิต  หากกิจวัตรครอบครัวของคุณอาจต้องงดไปช่วงหนึ่งเพราะคนที่คุณรักไม่อยู่ที่นั่นแล้ว จงพยายามให้ครอบครัวกลับมามีกิจวัตรต่างๆ ร่วมกันเหมือนเคยเพื่อให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างที่ควรจะเป็น

ลูกเสียชีวิต

10. จดบันทึกเพื่อเยียวยาจิตใจ

หาสมุดบันทึกหรือสมุดสเก็ตช์ สำหรับทุกคนในครอบครัว แนะนำให้ลูกๆ ได้เปิดใช้เมื่อรู้สึกไม่สบายใจด้วยการได้ระบายความเศร้าผ่านบันทึกย่อ วาดรูป หรือระบายสี หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือสร้างเพลย์ลิสต์ในความทรงจำของลูก เขียนบทกวี หรือสร้างเพลง อะไรก็ได้จะช่วยระบายความโศกเศร้าของครอบครัวคุณได้อย่างสร้างสรรค์ ช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกของคุณได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกำลังให้โอกาสสำหรับคุณและสมาชิกในครอบครัวในการแสดงความเศร้าโศกและระลึกถึงความทรงจำดีๆ ลงในสมุดบันทึก

11. อยู่กันเป็นครอบครัว

จำไว้ว่าสมาชิกที่ขาดหายไปยังคงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ทุกคนในครอบครัวของคุณจะระลึกถึง และเก็บสมาชิกที่ล่วงลับไว้ในใจไปตลอดชีวิต ดังนั้นควรสร้างประเพณีของครอบครัวที่จะช่วยให้คุณจดจำความทรงจำดีๆ ที่คุณเคยมีร่วมกันเมื่อครั้งที่สมาชิกยังอยู่กันพร้อมหน้า เช่น การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ ในทุกปีที่ครบรอบการเสียชีวิต เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : verywellfamily.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิจัยเผย! แม่เลี้ยงลูกลำพังเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด!

พี่น้อง แย่งของเล่น พ่อแม่ควรทำยังไง? ไม่ให้พี่น้อยใจที่ต้องเสียสละให้น้อง!

ลูกติดโควิด ทำอย่างไรดีใครจะดูแล สธ.ผุดหลักใหม่ไม่แยก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up