ล่วงละเมิด ลวนลาม ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก

อย่ารอให้เกิดก่อน! เทคนิคสอนลูกไม่ให้ถูก ล่วงละเมิด

Alternative Textaccount_circle
event
ล่วงละเมิด ลวนลาม ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก
ล่วงละเมิด ลวนลาม ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก

ล่วงละเมิด ลวนลาม เด็กเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด เปิดสถิติน่าตกใจที่ผ่านมา พร้อมวิธีสอนลูกป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิด

อย่ารอให้เกิดก่อน! เทคนิคสอนลูกไม่ให้ถูก ล่วงละเมิด

ข่าวลวนลาม ล่วงละเมิด เด็กในปัจจุบันเป็นที่พบเห็นกันมากขึ้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

สถิติการล่วงละเมิดเด็ก 2563

วันที่ 28 ธันวาคม 2563 มติชน รายงานว่า นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี  จังหวัดปทุมธานีแถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิฯ ประจำปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 – 25 ธันวาคม 2563 รวมรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 10,147 ราย

ทั้งนี้มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้จำแนกเป็นปัญหาต่าง ๆ ซึ่งปัญหาอันดับ 1 ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ การข่มขืนและทำอนาจาร จำนวน 863 ราย จัดเป็นประเภทปัญหาที่ต้องความสำคัญและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พบว่า ปี 2563 มีผู้มาร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือเพิ่มมากกว่าปี 2562 (786 ราย) ถึง 77 ราย ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 2.40 ราย เปรียบเทียบกับปี 2562 จำนวน 786 ราย เพิ่มขึ้น 9.80 % พบว่า

  • อันดับ 1 ผู้ที่ข่มขืนเป็นคนรู้จัก/แฟน/เพื่อน 340 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 43.26%
  • อันดับที่ 2 ผู้ที่ข่มขืนเป็นญาติ/คนในครอบครัว/พ่อเลี้ยง 241 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 30.6%
  • อันดับ 3 ผู้ที่ข่มขืนเป็นคนข้างบ้าน 44 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 5.60% ข่มขืน

จากสถิติที่นำเสนอมาให้เห็นนั้น จะพบว่า คนร้ายที่ทำการ ล่วงละเมิด เด็กนั้น ล้วนเป็นคนใกล้ตัว คนรู้จักของเด็กแทบทั้งสิ้น แต่ใช่ว่าคนร้ายที่จ้องทำมิดีมิร้ายกับลูกคุณจะมีเพียงคนใกล้ตัวเท่านั้น เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางเพจดัง Drama addict ได้มีการออกมาแจ้งเตือนให้ระวังคนร้ายที่ไล่ลวนลามเด็กนักเรียนย่านห้างดัง พบว่าก่อเหตุมาเป็นเดือนแล้ว ยังไม่สามารถจับตัวได้ จนโรงเรียนละแวกดังกล่าวต้องออกหนังสือแจ้งเตือนผู้ปกครองให้ระวังดูแลเด็กนักเรียนให้ดี

ที่มา เพจ Drama addict
ที่มา เพจ Drama addict

เมื่อภัยร้าย การล่วงละเมิด การลวนลาม นั้นมีอยู่รอบตัวลูกมากมายเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่คงหนักใจว่าแล้วเราจะป้องกันระมัดระวังภัยให้แก่ลูกของเรากันได้อย่างไรดี เมื่อเราไม่สามารถคุ้มครอง ดูแลเขาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ลวนลาม ต้นตอไปสู่ปัญหาใหญ่!!

“โรคใคร่เด็ก” (Pedophilia) หนึ่งในอาการบกพร่องทางจิตประเภทหนึ่งในกลุ่มโรคกามวิปริตที่มักเกิดความต้องการทางเพศกับเด็ก ชอบเด็กหรือรักเด็กมากในลักษณะคลั่งไคล้เกินขอบเขตปกติ โดยมักจะเกิดอารมณ์เมื่อเห็นภาพเด็ก และเกิดความติดตาตรึงใจ จนนำไปสู่การนำเด็กมาเป็นเหยื่อบำบัดความใคร่ทางเพศ โดยโรคใคร่เด็กมักพบได้บ่อยในเพศชายที่มีอายุ 35-40 ปีขึ้นไป แต่ทั้งก็อาจเจอได้ในวัยรุ่นตอนปลายเช่นกัน ทางการแพทย์จึงมีการกำหนดว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่า 16 ปี ที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กอายุน้อยกว่าอย่างน้อย 5 ปี จะจัดเป็นโรคใคร่เด็ก

ลักษณะของการล่วงละเมิดทางเพศ  มีรูปแบบต่างๆดังนี้

การล่วงละเมิดโดยไม่มีการสัมผัส ได้แก่

  • เปิดอวัยวะเพศให้เด็กดู
  • การให้เด็กดูภาพหรือวิดีโอโป๊
  • การสำเร็จความใคร่ต่อหน้าเด็ก
  • ทำกิจกรรมทางเพศให้เด็กดู

การล่วงละเมิดโดยการสัมผัส

  • การสัมผัสกอดจบลูบคลำร่างกายหรืออวัยวะเพศของเด็ก
  • การให้เด็กลูบคลำจับต้องอวัยวะเพศของผู้ใหญ่ หรือให้เด็กสำเร็จความใคร่ให้
  • สอดใส่อวัยวะเพศ หรือสิ่งของอย่างอื่นทางช่องคลอด หรือ ทวารหนัก หรือ ทางปาก ของเด็ก

การใช้เด็กเพื่อหาผลประโยชน์

  • ใช้เด็กในการถ่ายภาพหรือวิดีโอโป๊
  • การใช้เด็กค้าประเวณี

หลังจากที่เราทำความรู้จักกันไปบ้างแล้ว เรามาลองดูกันบ้างว่าในทางกฎหมาย เราจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร?

บาดแผลทางใจ ล่วงละเมิด เด็ก ที่เด็กไม่อาจบอกใคร
บาดแผลทางใจ ล่วงละเมิด เด็ก ที่เด็กไม่อาจบอกใคร

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษและลงโทษโดยคำนึงถึงความผิดปกติทางจิต “โรคใคร่เด็ก” และอาจไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวชผู้ทำความผิดจึงมีความผิดและรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา แบ่งออกตามรูปแบบของการกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก

  1. ไม่มีการสัมผัสร่างกาย เช่น เปลือยกายให้เด็กดูอวัยวะเพศ แอบดูเด็กอาบน้ำ พูดจาลวนลาม ให้เด็กดูภาพ-คลิปลามกเพื่อเร่งเร้าหรือกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  2. สัมผัสร่างกายแต่ไม่ได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ เช่น กอด จูบ ลูบคลำอวัยวะเพศเด็กด้วยมือหรือปากให้เด็กจับอวัยวะเพศเพื่อสำเร็จความใคร่
  3. ล่วงละเมิดทางเพศ หลังจากกระทำชำเราแล้วจะบังคับ ข่มขู่เด็ก ให้เก็บเป็นความลับและกระทำชำเราซ้ำๆ หรือทำร้ายร่างกายหรือฆ่า

ยูนิเซฟชี้!! ไทยขาดความเชี่ยวชาญการคุ้มครองเด็กในระดับชุมชน

วันที่ 22 เมษายน 2562 องค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย องค์กรส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เผยแพร่บทความเรื่อง ประเทศไทยยังขาดความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็กในระดับชุมชน ประเทศไทยได้มีการดำเนินงานด้านคุ้มครองเด็กในหลายด้าน เช่น การจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Centre) ในระดับจังหวัดและอำเภอ และจัดตั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวในทุกจังหวัดเพื่อให้การดูแลรักษาและช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบางรวมทั้งเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง อีกทั้งยังจัดให้มีบริการสายด่วน 1300 เพื่อรับเรื่องร้องเรียนทุกปัญหาสังคมรวมทั้งการกระทำรุนแรงต่อเด็ก

แต่ปัญหาของไทยอยู่ที่ ยังขาดบุคลากรที่ดูแลเรื่องนี้ในระดับท้องถิ่น หรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นระดับที่มีเหตุการณ์รุนแรง หรือล่วงละเมิดเด็กมากที่สุด ปัจจุบัน อัตราส่วนของนักสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทยคือราว ๆ 4 คนต่อประชากร 100,000 คน เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 207 คน หรืออังกฤษซึ่งมี 137 คนต่อประชากร 100,000 คน ในระดับท้องถิ่น คาดว่ามีการขาดแคลนนักสังคมสงเคราะห์ราว 7,000 คน

ซึ่งการขาดแคลนนักวิชาชีพเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองเด็กที่มีประสิทธิภาพ และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจทำให้เด็กต้องถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าก่อนจะเข้าถึงความช่วยเหลือที่เหมาะสม หรือไม่ก็อาจตกหล่นในกระบวนการส่งต่อ

อ่านต่อ >>สอนเด็กให้รู้จักภัยใกล้ตัว หากถูกล่วงละเมิด ด้วยนิทาน คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up