ฝีดาษลิง

มาแล้วแม่จ๋า ฝีดาษลิง ระบาดหลายที่ทั่วโลก

Alternative Textaccount_circle
event
ฝีดาษลิง
ฝีดาษลิง

มาแล้วแม่จ๋า ฝีดาษลิง ระบาดหลายที่ทั่วโลก

คุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้ยินชื่อโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ กันมานานมากแล้ว ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคฝีดาษสูญพันธ์ไปจากโลกแล้วตั้งแต่ปี 2517 คนไทยจึงเลิกปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ แต่ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวการะบาดของโรค ฝีดาษลิง ในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้คนไทย รวมถึงคนทั่วโลกกลับมาตระหนักถึงโรคนี้กันอีกครั้ง ว่าอันตรายมากแค่ไหน คนเสี่ยงติดโรคนี้มากแค่ไหนค่ะ

สถานการณ์ของผู้ป่วย ฝีดาษลิง ทั่วโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยฝีดาษลิงแล้วประมาณ 80 คนทั่วโลก และผู้ต้องสงสัยติดเชื้ออีกประมาณ 50 คน ที่ผ่านมาโรคฝีดาษลิงมักพบเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ หรือเดินทางไปแอฟริกาตะวันตก และแอฟริกากลาง แต่ผู้ป่วยที่พบเมื่อไม่นานมานี้ใน อังกฤษ สเปน โปรตุเกส อิตาลี สหรัฐ สวีเดนและแคนาดา ส่วนใหญ่เป็นชายอายุน้อยที่ไม่มีประวัติไปแอฟริกา นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียมและออสเตรเลียด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอล ได้แถลงว่า พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกของประเทศ และมีความเป็นไปได้ที่เป็นรายแรกในตะวันออกกลาง ซึ่งผู้ติดเชื้อคนดังกล่าวเข้ารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในกรุงเทลอาวีฟแล้ว สุขภาพทั่วไปยังแข็งแรงดี พร้อมกันนี้รัฐบาลยังประกาศเตือนผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่มีไข้และรอยโรคพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย

ไทยยังไม่พบผู้ป่วยแต่เฝ้าระวัง

สำหรับไทยนั้น ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง แต่ระยะนี้เป็นช่วงเริ่มเปิดให้เดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น  ดังนั้น อาจมีความเสี่ยงจากผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ สหราชอาณาจักรอังกฤษ สเปน โปรตุเกส อิตาลี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมันนี สวีเดน สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในทวีปแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตกได้ ทั้งช่องทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ หรือผู้เดินทางจากประเทศดังกล่าวไปจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ

โรคฝีดาษลิงคืออะไร

ฝีดาษลิงเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus ที่แพร่จากสัตว์สู่คน ด้วยอาการที่คล้ายกับฝีดาษแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว ในทวีปแอฟริกาเชื้อฝีดาษลิงพบในสัตว์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระรอกเชือก กระรอกต้นไม้ หนูกระเป๋าแกมเบีย หนูดอร์ไมซ์ รวมถึงลิงสายพันธุ์ต่าง ๆ และสัตว์อื่น

ฝีดาษลิง
ฝีดาษลิง ระบาดหลายที่ทั่วโลก

วิธีการระบาดของโรคนี้

การระบาด มีลักษณะติดต่อแบ่งเป็น

1.จากสัตว์สู่มนุษย์ จากการสัมผัสทางผิวหนัง หรือเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก หรือตา กับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค สารคัดหลั่ง เลือด ผิวหนัง หรือการนำซากสัตว์ป่วยมาปรุงอาหาร รวมทั้งถูกสัตว์ป่วย ข่วน กัด หรือสัมผัส เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น

2.จากมนุษย์สู่มนุษย์ ติดต่อผ่านละอองฝอยทางการหายใจขนาดใหญ่ จากการอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะประชิด การสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย การสัมผัสเลือด หรือรอยโรคที่ผิวหนัง หรือ ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัว 7-14 วัน หรืออาจนานถึง 21 วัน

อาการของโรค ฝีดาษลิง

ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคฝีดาษลิงหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยคือ

  1. มีไข้ หนาวสั่น
  2. ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต (ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการสำคัญที่แตกต่างจากฝีดาษคน)
  3. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
  4. อ่อนเพลีย
  5. จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
  6. จากผื่น จะกลายเป็นตุ่มหนอง
  7. ในระยะสุดท้ายตุ่มหนอง จะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา

โรคนี้จะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มเป็นจนหายประมาณ 2–4 สัปดาห์

อัตราการเสียชีวิตจากฝีดาษลิง

อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 10 มีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำ และภาวะสมองอักเสบ

วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง

  1. ปลูกฝี แม้จะยกเลิกการปลูกฝีไปนานแล้ว แต่จากการระบาดของโรคฝีดาษลิงในแถบยุโรป และอเมริกาเหนือ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า หากสถานการณ์ไม่ดี อาจต้องเริ่มปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคอีกครั้ง
  2. การหลีกเลี่ยงการใกล้ชิด และสัมผัสกับลิงป่วย รวมถึงผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ไม่เข้าใกล้หรือสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยโดยตรง
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ
  4. หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง
  5. งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า
  6. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจลและสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทุกครั้ง ที่ต้องเข้าใกล้พื้นที่โรคระบาด
  7. กรณีพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่แยกกักตัวผู้ป่วยได้
  8. รับวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ป้องกันโรคฝีดาษลิงในสหรัฐอเมริกาคือ JYNNEOS

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

มติชน ออนไลน์, แนวหน้า

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแม่ต้องระวัง! 5 โรคฮิตมาพร้อมเปิดเทอม

7 อาการต้องสงสัย ลูกป่วยRSV ดูแลอย่างไรไม่ให้เป็น

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ระบาดหมอชี้มีโอกาสติดเชื้อพร้อมโควิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up