รูข้างหู ear pit

แม่แชร์ประสบการณ์! ลูกมี “รูข้างหู” ภัยเงียบที่ไม่ควรชะล่าใจ

Alternative Textaccount_circle
event
รูข้างหู ear pit
รูข้างหู ear pit

จากการตรวจของแพทย์ ได้ตัดสินใจทำการผ่าทันทีเลย เพราะการเข้าใจผิด ไปในส่วนรามาธิบดี ปกติ ทำให้หมดค่าใช้จ่ายแค่หลักพัน  เพราะไม่ได้เปิดห้องผ่าตัด

หลังการผ่าทำการรักษาปกติ หากใครเคยเป็นฝีจะทราบ ต้องคว้านทำความสะอาดแผลต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดหนอง เด็ก 1 ขวบกับการคว้านล้างแผลโดยยัดผ้าก๊อซ เช้า-เย็น หลังๆขอหมอทำแค่ 1 ครั้งต่อวันเพราะแม่แทบใจสลาย
ตอนนัดพบแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตอนแผลหายดี แพทย์เองอยากให้น้องทำการผ่า ear pit ออก เนื่องจากด้านในเป็นโพรงใหญ่ และเคยเป็นฝีแล้ว อาจเกิดอาการขึ้นได้อีก

เราและสามีคิดทบทวนนานมาก และได้สอบถามคนใกล้ชิดที่เป็นแพทย์ ได้คำแนะนำว่า อยากให้น้องโตขึ้นมาอีกหน่อย เพราะการผ่าอาจต้องวางยาสลบ การวางยาสลบในเด็กเล็กอาจส่งผลให้เด็กฝันร้ายไปจนโต ซึ่งเราเคยได้ยินเรื่องนี้เหมือนกัน รวมไปถึงการผ่า ear pit ในเด็กเล็ก ตำแหน่งที่ผ่า และด้วยความที่เป็นเด็กเล็ก พื้นที่การผ่ามีน้อย เกรงอาจไปโดนเส้นประสาทที่อาจทำให้ปากเบี้ยว จึงแนะนำให้ผ่าตอนเด็กโตขึ้นมาแล้ว

บางคนก็บอกว่าผ่าตอนเด็กแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า เพราะความทรงจำ ความเจ็บปวดจะไม่ติดไปจนเป็นผู้ใหญ่

เรื่องทั้งหมดที่มาแชร์ เพราะตอนลูกเริ่มมีอาการอักเสบหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นเด็กเล็กด้วย
จึงอยากให้พ่อ-แม่ ที่ตั้งใจจะส่งลูกเล็กที่เป็น Ear pit เรียนว่ายน้ำ ว่าอาจมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ให้ระมัดระวังในเด็กเป็นพิเศษ เพราะตอนลูกต้องล้างแผล โดนคว้านยัดผ้าก๊อซทุกวัน สงสารลูกมาก ซึ่งตอนแพทย์เห็นที่ รพ. รามาธิบดี เอง แพทย์ก็ตกใจมากที่ให้น้องเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ 6-7 เดือน แต่ส่วนตัวเรามองว่ามันเป็นอุบัติเหตุเพราะน้องเองก็ชอบ และทำให้น้องแข็งแรง รวมไปถึงพัฒนาการในหลายๆด้านเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเดิน หรือการพบเพื่อนๆ
และถึงแม้จะไม่ได้ว่ายน้ำ แต่เป็น Ear pit ก็มีโอกาสเป็นฝีได้เช่นกันหากไม่รักษาความสะอาด
และในปัจจุบันเอง เราก็ยังคงให้น้องว่ายน้ำต่อนะคะ เรา Drop เรียนว่ายน้ำช่วงรักษาแผลจนหายสนิท แล้วกลับไปเรียนใหม่โดยหาวิธีป้องกันโดยเฉพาะตอนดำน้ำ ซึ่งเราได้นำพลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกันน้ำมาตัดเป็นวงกลมเล็กเพื่อปิดแผล และปิดด้วยเทปกาวชนิดพิเศษทับอีกทีอีกชั้น สำหรับป้องกันแรงดันน้ำตอนดำน้ำ  จากหลังผ่าจนถึงปัจจุบันน้องเรียนไปแล้วมากกว่า 20 ครั้ง ก็ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด

แต่เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะพาน้องไปผ่าตอนช่วงอายุเท่าไหร่ หากใครเป็นแพทย์ หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เป็น ear pit สามารถแนะนำได้นะคะ เรายินดีรับฟังทุกคามคิดเห็นค่ะ

และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ พยาบาลหน้าเคาน์เตอร์ ที่อุ้มไปให้แพทย์ดูอาการทันที และคุณหมอ รพ.รามาธิบดี ที่ช่วยเหลือตัดสินใจผ่าน้องทันที ในวันนั้น ต้องขอขอบคุณจริงๆค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

รูข้างหู
รูข้างหู earpit อันตรายไหม

โรค Ear Pit รูข้างหู คืออะไร?

โรค Ear Pit รูข้างหู ในทางการแพทย์เรียกว่า “Preauricular sinus” เป็นลักษณะหนึ่งของความผิดปกติแต่กำเนิด โดยจะพบรูขนาดเล็กอยู่ที่หน้าใบหู รูเปิดที่ผิวหนังนั้นมีความลึกมากหรือน้อยก็ได้ โดยความผิดปกตินี้เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ และรูข้างหูนี้เกิดขึ้นได้เองเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชายก็มีสิทธิ์ที่จะเกิดรูข้างหูได้เท่ากันและไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์อีกด้วย

ปัญหาหลักของรูข้างหูคือสามารถพัฒนาไปเป็นซีสต์ได้ หากเกิดการอักเสบบ่อย ๆ จนเป็นหนอง และฝี โดยปกติ รูข้างหู จะไม่หายไปจนกว่าจะได้รับการผ่าตัด แต่หากยังไม่มีปัจจัยจำเป็นที่จะผ่าตัด เช่น เกิดการอักเสบจนเป็นหนอง เมื่อรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะแล้วยังไม่หาย หรือหายแต่กลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ แพทย์ก็จะพิจารณาให้ผ่าตัดเพื่อรักษาให้หายขาด

อาการของโรค Ear Pit

เด็กแต่ละคนจะมีอาการของโรค Ear Pit แตกต่างกันไป เด็กทุกคนที่มีรูข้างหู ไม่จำเป็นต้องเกิดอาการเหล่านี้ครบทุกข้อ เด็กที่เป็นโรค Ear Pit ส่วนมากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีรูเล็ก ๆ เกิดขึ้นบริเวณหน้าใบหู
  • อาจมีรอยบุ๋มหรือติ่งเนื้อเกิดขึ้นได้ (หากเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
  • หากเกิดการติดเชื้อ จะมีอาการปวดบวมแดง มีไข้ หรือมีเลือดหรือหนองไหลออกจากรูข้างหู
  • อาจพัฒนาเป็นซีสต์ได้ในภายหลัง
  • อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการได้ยินได้

การรักษาโรค Ear Pit

แพทย์เฉพาะทางด้านหูคอจมูก จะเป็นผู้ประเมินและรักษาล โดยมีแนวทางดังนี้

  • หากไม่มีการติดเชื้อหรือสร้างปัญหาใด ๆ จะปล่อยไว้ ไม่จำเป็นต้องทำอะไร เพียงแต่จะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่คอยดูแล รูข้างหู นี้เป็นพิเศษ คือคอยรักษาความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
  • หากมีอาการบวมแดง จะรีบให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรง
  • หากเกิดการติดเชื้อและการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล แพทย์อาจเพาะเชื้อจากหนองที่ทำให้อักเสบเพื่อการรักษาที่แม่นยำมากขึ้น
  • ทำแผลและระบายหนอง หากฝียังไม่ยุบ
  • หากมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อซ้ำได้อีก แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด

สำหรับเด็กที่มีรูข้างหู คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอด้วยค่ะ หากพบว่ามีความผิดปกติอื่น ๆ แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อความสบายใจ และหากเกิดปัญหาจริง ๆ ลูกจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่

5 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อน พาลูกเล่นน้ำ

แพทย์เตือนพ่อแม่ระวัง! ลูกติด 6 โรคจากสระว่ายน้ำ

โรคในทารกแรกเกิด 10 โรคฮิตลูกมักเป็นในขวบปีแรก

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : คุณอู่หลงหอมละมุน, Children Hospital of Philadelphia

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up