ตารางวัคซีน 2566

ตารางวัคซีน พื้นฐานเด็กไทย 2566 เก็บไว้ไม่ลืมเพื่อลูกน้อย

Alternative Textaccount_circle
event
ตารางวัคซีน 2566
ตารางวัคซีน 2566

ตารางวัคซีน 2566 สำหรับเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ และแนะนำให้พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนให้ครบ และตรงตามกำหนด เพราะสุขภาพของลูกไม่อาจเสี่ยงได้

ตารางวัคซีน พื้นฐานเด็กไทย 2566 เก็บไว้ไม่ลืมเพื่อลูกน้อย!!

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแนวทางแนะนำปฎิบัติ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพราะเด็กนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย และอาจเกิดความรุนแรงของโรคได้ง่าย เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีน การพาลูกไปรับวัคซีนจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของพ่อแม่

วัคซีนสำหรับเด็กไทย!!

การให้วัคซีนหรือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีเป้าหมายหลักในการจัดการกับโรคติดต่อ ทั้งเรื่องของการป้องกัน การควบคุมโรค การกำจัด และการกวาดล้าง สำหรับวัคซีนพื้นฐานเป็นวัคซีนที่จำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกที่ไปเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของวัคซีนเสริมอาจมีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีนที่ฉีด และสถานพยาบาลที่เข้ารับการฉีด โดยวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนหลักตามการแนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2565 ซึ่งได้ประกาศไว้ และยังคงยึดถือเป็นหลักปฏิบัติมาจนปัจจุบันนั้น ได้แก่

ตารางวัคซีน 2566
ตารางวัคซีน 2566
  • วัคซีนบีซีจี BCG

วัคซีนวัณโรคจะฉีดเมื่อแรกเกิด หรือหลังการคลอด ฉีด 0.1 มล.ในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย ไม่ควรฉีดที่สะโพก ถ้าไม่แผลเป็นที่เกิดขึ้น และไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนมาก่อน แนะนำให้ฉีดทันที ถ้าเคยได้รับวัคซีนมาก่อนไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น

  • วัคซีนป้องกันโรคตับอับเสบบี

วัคซีนตับอักเสบบี เป็นวัคซีนอีกตัวหนึ่งที่เด็กจะได้รับหลังคลอด ซึ่งวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้ง และเข็มสุดท้ายที่ได้รับต้องอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 6 เดือน โดยมีข้อแนะนำในการรับวัคซีนตับอักเสบบี ดังนี้

  1. เด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มี HBsAg เป็นลบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้ง ภายใน 24 ชม. เข็มแรกหลังการคลอด เข็มที่ 2 ช่วงอายุ 1 – 2 เดือน และเข็มสุดท้ายในช่วงอายุ 6 เดือน ตามลำดับ • กรณีไม่ทราบผลเลือดของคุณแม่ ควรให้วัคซีนครั้งแรกภายใน 12 ชม. หลังคลอด ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ที่อายุ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
  2. เด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะ HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมกันคนละข้างกับ HBIG
  3. กรณีเด็กได้รับ HBIG ให้ฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 1 – 2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
  4. กรณีเด็กไม่ได้รับ HBIG ควรให้วัคซีนครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 1 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
  5. ในกรณีที่มาทราบภายหลังว่า คุณแม่มี HBsAg เป็นบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าเด็กได้รับวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน
  6. ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ใช้วัคซีนรวมที่มี คอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน – ตับอักเสบบี – ฮิบ (DTP-HB-Hib) ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน ถ้าหากคุณแม่มี HBsAg เป็นบวก และเด็กไม่ได้รับ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)
  7. เด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มี HBsAg เป็นบวก ควรตรวจ HBsAg และ anti-HBs เมื่ออายุประมาณ 9 – 12 เดือน
  • วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน

วัคซีนนี้เด็กช่วงวัย 2 4 และ 6 เดือนจะได้รับ สามารถใช้วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง ในกรณีที่ใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้งสามครั้ง

  1. สำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ 18 เดือน อาจใช้ DTwP หรือ DTaP หรือ pentavalent (DTP-HB-Hib) ชนิดใดก็ได้
  2. เมื่ออายุ 4 – 6 ปี อาจจะใช้ DTwP, DTaP หรือ Tdap (Boostrix™ หรือ Adacel™) ก็ได้
  3. เมื่อเด็กอายุ 11 – 12 ปี ควรได้รับการฉีด Td หรือ TdaP (Boostagen™) ไม่ว่าจะเคยได้รับ Tdap เมื่ออายุ 4 – 6 ปี มาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรได้รับการฉีดกระตุ้นด้วย Td/Tdap ทุก 10 ปี
  4. สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับ Tdap หรือ TdaP 1 เข็ม ไม่ว่าจะเคยได้รับ TT หรือ Td มานานเท่าไหร่แล้วก็ตาม จากนั้นให้ฉีดกระตุ้นด้วย Td/Tdap ทุก 10 ปี
  5. หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ Tdap/TdaP 1 เข็ม ที่อายุครรภ์ 27 – 36 สัปดาห์ทุก ๆ การตั้งครรภ์
  6. ในปัจจุบันมีวัคซีน aP (Pertagen™) สำหรับผู้ที่มีอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่ต้องการภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนเพียงอย่างเดียว โดยมีภูมิคุ้มกันต่อคอตีบ และบาดทะยักเพียงพอแล้ว
ตารางวัคซีน เด็กไทย 2566
ตารางวัคซีน เด็กไทย 2566
  • วัคซีนฮิบ Hib

วัคซีนรวมที่มีคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบบี ฮิบ (DTP- HB- Hib)ใช้ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขที่อายุ 2 4 และ 6 เดือน ฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นฉีดในเด็กที่แข็งแรง ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน Hib ในเด็กภูมิคุ้มกันปกติที่อายุ 2 ปีขึ้นไป

  • วัคซีนโปลิโอ

สำหรับวัคซีนโปลิโอ จะเป็นวัคซีนชนิดกิน (OPV) และชนิดฉีด (IPV)  ให้หยอด bivarent OVP Type 1,3 จำนวน 5 ครั้ง ร่วมกับฉีด IPV 1 ครั้งที่อายุ 4 เดือน ที่อายุ 2 เดือนหากทำได้ให้ใช้ IPV แทน OPV สามารถใช้ชนิดฉีด แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง หากใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวโดยตลอดอาจให้เพียง 4 ครั้ง โดยงดเมื่ออายุ 18 เดือนได้

อ่านต่อ >> วัคซีนพื้นฐาน ตาม ตารางวัคซีน เด็กไทย 2566 มีอะไรบ้าง คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up