เสี่ยงติดโควิด-19

วิธีเช็กความ เสี่ยงติดโควิด-19 อาการแบบไหนต้องรีบไปตรวจหาเชื้อ

account_circle
event
เสี่ยงติดโควิด-19
เสี่ยงติดโควิด-19

ยิ่งตรวจยิ่งเจอไม่หยุด  ผู้ติดเชื้อคลัสเตอร์ผับ-บาร์ สถานบันเทิงกลางกรุงแพร่ระบาดทั่วประเทศ เกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆในหลายวงการจนทำให้หลายโรงพยาบาลเริ่มเต็ม!! โควิดสายพันธุ์ใหม่ ติดง่ายแต่ไม่แสดงอาการ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใคร เสี่ยงติดโควิด-19 บ้าง วิธีสังเกตอาการเมื่อไหร่ควรไปตรวจเชื้อ

ระบาดหนักมาก จะรู้ได้อย่างไรว่าบ้านนี้ เสี่ยงติดโควิด-19 หรือยัง

จากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ (เมื่อวันที่ 9 เม.ย.64) 559 คน กระจายตัวในหลายจังหวัดทั่วประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนหนึ่งเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์สายอังกฤษ ที่แพร่ง่าย ติดไว ไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้รับเชื้อยังใช้ชีวิตตามปกติ และขยายวงการระบาดกว้างขึ้นเรื่อยๆ และในหลายแวดวง ทั้งข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชน ตำรวจ บุคลากรทางการแพทย์ ดารา-นักแสดง นักร้อง-นักดนตรี นางแบบ ลิเก นักข่าว ซึ่งส่วนใหญ่มีการพบปะกับผู้คนจำนวนมาก หลายที่ หลายโอกาส ทำให้ยากต่อการสืบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาด ต่างจากคลัสเตอร์บางแคกับคลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้งที่ผ่านมา

เสี่ยงติดโควิด-19

และเมื่อจำนวนผู้เข้ารับการตรวจเชื้อในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑณมากขึ้น จนมีภาพของโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งออกมาประกาศงดรับตรวจหาเชื้อ เพราะเตียงที่เตรียมไว้รองรับผู้ป่วยคิดเต็มแล้ว ทำให้หลายคนเริ่มสงสัยว่าตัวเอง เสี่ยงติดโควิด-19 แค่ไหน ติดเชื้อหรือยัง ต้องรอนานแค่ไหนถึงควรไปตรวจ ทีมแม่ abk มีวิธีสังเกตตัวเองเบื้องต้น พร้อมแบบประเมินมาให้คุณแม่เตรียมพร้อมกันรับมือไปด้วยกันค่ะ

เสี่ยงติดโควิด-19

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า เสี่ยงติดโควิด-19 แค่ไหน

ความเสี่ยงติดโควิด-19 มากหรือน้อยต้องดูจากความใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  1. กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด หมายถึงคนที่อยู่ใน timeline เดียวกับผู้ติดเชื้อ ได้แก่ เป็นครอบครัวเดียวกัน อยู่บ้านเดียวกัน พูดคุยกันในระยะ 1 เมตร นานเกิน 5 นาที โดนผู้ป่วยไอหรือจามรด และอยู่ในห้องแอร์ หรือสถานที่ปิดใกล้ชิดกันในระยะ 1 เมตร นานเกิน 15 นาที จากนั้นต้องมาพิจารณาว่าตอนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยได้ใส่เครื่องป้องกันเช่น หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าหรือ face shield หรือไม่

ถ้าไม่ใส่หรือใส่ไม่ถูกต้อง ก็จะถือว่าเป็น “ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง”  จะต้องกักตัว 14  วันและเข้ารับการตรวจเชื้อทันที แต่ถ้าป้องกันตัวเองดีจะยังถือว่าเป็น “ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ” ไม่ต้องกักตัว แต่หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด สวมหน้ากาก และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน หากมีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ

MUST READ: 8 วิธีรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19 ฉบับพ่อแม่ที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะ!

MUST READ :“พ่อแม่ไปพื้นที่เสี่ยงโควิด” กักตัว 14 วัน ที่บ้านอย่างไร? ให้ลูกปลอดภัย ปลอดเชื้อ!

 

  1. กลุ่มผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัส เป็นคนอีกกลุ่มที่มีความ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ลดหลั่นลงมา คือไม่ได้เป็นผู้สัมผัส พบเจอหรือพูดคุยกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เพียงแต่ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือเสี่ยงต่ำ ซึ่งไม่ใช่ผู้แพร่เชื้อโดยตรงจึงถือว่ามีความเสี่ยงต่ำมาก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องป้องกันตัวเองตามมาตรการและหมั่นสังเกตตัวเองตลอด 14 วัน

กรณีที่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือต่ำตรวจพบว่าติดเชื้อ คนในกลุ่มนี้จะต้องได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งว่ามีเชื้อโควิดในร่างกายด้วยหรือไม่ หากไม่พบเชื้อแต่ก็จะถูกจัดให้อยู่ใน “กลุ่มผู้สัมเสี่ยงสูงหรือต่ำทันที”

3. กลุ่มคนทั่วไป ที่อยู่ในชุมชมเดียวกัน เช่น อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมเดียวกัน อยู่ในจังหวัดที่พบการระบาดน้อย เป็นผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงจากผู้ป่วยรายนี้ เพราะไม่ได้สัมผัสใกล้ชิด แต่ยังต้องยกการ์ดสูง เพื่อป้องกันตัวเอง เพราะอาจมีผู้ติดเชื้อรายอื่นในชุมชน

ดังนั้นหากคุณแม่สังเกตตัวเองแล้วว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ 1  ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือเสี่ยงต่ำก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อ แต่เพื่อความมั่นใจมากขึ้น คุณแม่สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยง ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ นอกจากจะช่วยลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่ ประหยัดทรัพยากรอย่างน้ำยา หรืออุปกรณ์ต่างๆแล้ว ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อระหว่างรอตรวจด้วย

เช็กก่อน แบบประเมินความเสี่ยงติดโควิด-19 มากแค่ไหน

สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ  สามารถเข้าไปทำแบบประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเองได้ที่ BKKCOVID-19 ซึ่งจะเป็นแบบสอบถามเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ใช้คัดกรองผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ซักประวัติความเสี่ยง 14 วันก่อนเริ่มป่วย เช่น ไปสถานที่เสี่ยง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือเข้าข่ายว่าติดเชื้อ

  • วัดอุณหภูมิหรือประวัติว่ามีไข้

  • ประเมินอาการระบบทางเดินหายใจ

เมื่อคุณแม่ทำแบบประเมินแล้วเสร็จ ระบบจะประเมินและจัดกลุ่มว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับใด พร้อมให้ความรู้ในการปฏิบัติตนตามระดับความเสี่ยงนั้น ๆ หากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จะมีการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปให้คำความรู้และประเมินอาการทุกวัน เป็นเวลา 14 วันเพื่อประเมินอาการต่อไป ดังนั้นคุณแม่ต้องกรอกข้อมูลตามจริงเท่านั้นเพื่อเป็นประโยชน์ให้มากที่สุด

เสี่ยงติดโควิด-19

พบว่าเสี่ยงติดโควิด มีสิทธิตรวจที่ไหนบ้าง

หลังการประเมินตัวเองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นผู้ติดเชื้อโควิด ทุกคนสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ฟรี!! ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่ง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเตรียมไว้แล้ว สำหรับโรงพยาบาลเอกชนทุกแหล่งสามารถเข้ารับบริการได้ทั้งผู้มีสิทธิ์บัตรทอง บัตรประกันสังคม ข้าราชการ และสิทธิ์สุขภาพอื่นๆ ด้วย

เสี่ยงติดโควิด-19

ใครมีสิทธิ์ตรวจโควิดฟรีบ้าง

1.มีประวัติเสี่ยงในช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ (หรือมีความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ เดินทางจากพื้นที่ระบาด ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับคนมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้สงสัย

2.มีอาการโควิด-19 ได้แก่ มีไข้อุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส มีอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส  หายใจเหนื่อยหอบ

3.เป็นผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีประวัติดังนี้ ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด  แต่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์

ก่อนเข้ารับการตรวจหาเชื้อ ควรล้างมือให้สะอาด ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น และควรเดินทางไปสถานที่ตรวจด้วยรถส่วนตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นในชุมชม

โควิดรอบแรกเราทุกคนผ่านมาได้แล้ว สงกรานต์ปีนี้ถ้าทุกคนในครอบครัวคงต้องปกป้องกันและกันให้ปลอดภัย ยกการ์ดให้สูง งดการเดินทาง งดเข้าพื้นที่เสี่ยง เชื่อว่าจะผ่านมันไปได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล www.bangkokbiznews.com / bkkcovid19.bangkok.go.th / w0ww.nhso.go.th

 

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

สสส. แนะวิธี ป้องกันลูกจากโควิด กับ 4 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง!

 

8 วิธีรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19 ฉบับพ่อแม่ที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะ!

โควิดสายพันธุ์อังกฤษ ต้นตอโควิดระลอกใหม่ อันตรายแค่ไหน แม่ต้องรู้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up