อาการไข้เลือดออก

พ่อแม่ต้องรู้! 10 ความแตกต่าง อาการไข้เลือดออก vs อาการโควิด 19

event
อาการไข้เลือดออก
อาการไข้เลือดออก

อาการไข้เลือดออก vs อาการโควิด – 19 ต่างกันอย่างไร..พ่อแม่ควรรู้!? พร้อมสังเกตลูกน้อยและตัวเองให้ดี หากมีอาการเหล่านี้..!? ควรรีบไปหาหมอทันที

ไข้เลือดออกระบาด!!
กับ อาการไข้เลือดออก ที่พ่อแม่ต้องรู้เท่าทัน?

ด้วยความที่ทุกคนพุ่งความสนใจกับ โรคโควิด–19 จึงอาจหลงลืมหรือละเลย ที่จะนึกถึงโรคซึ่งมักจะมีการระบาดในช่วงปลายร้อนต้นฝน นั่นคือ ไข้หวัดใหญ่ และ ไข้เลือดออก

ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น 3 โรคที่พร้อมจะเป็นเพชฌฆาตร้ายคร่าชีวิตมวลมนุษยชาติได้ตลอดเวลา และหากเจาะข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค นอกจากโรคโควิด 19 ที่เราทราบผู้ป่วยรายวันอยู่แล้ว (ตั้งแต่วันที่ 13 ม.ค.-28 เม.ย.63 ผู้ป่วยรวมสะสม 2,938 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 54 ราย) ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-20 เม.ย. พบผู้ป่วย 97,398 ราย เสียชีวิต 3 ราย และ โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-20 เม.ย. พบผู้ป่วย 8,746 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 6 ราย!

อ่านข่าว >> “โรคไข้หวัดใหญ่ ระบาดหนัก 3 เดือนแรก พบเด็กแรกเกิด-4 ปี ป่วยมากสุด!”

อ่านข่าว >> “1 พ.ค. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี 2563 พร้อมคำแนะนำเรื่องรับวัคซีนช่วงโควิดระบาด”

ทั้งนี้แม้โรคโควิด–19 จะมีจำนวนผู้ป่วยจะลดลง แต่ก็ไม่ควรประมาทและต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังต่อเนื่อง ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม ใส่หน้ากากทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน และหมั่นล้างมือบ่อยๆ เพื่อร่วมกันกดตัวเลขผู้ป่วยและเสียชีวิตลง ชะลอเวลาให้สามารถผลิตยาที่ใช้รักษาโรค รวมทั้งผลิตวัคซีนเพิ่มภูมิป้องกันความรุนแรงของโรคลงได้

อาการไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก โรคเจ้าถิ่นฤดูฝน

ขณะที่โรคเจ้าถิ่น อย่าง โรคไข้เลือดออก ก็ยังไม่ควรมองข้าม ยิ่งขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูฝน บางพื้นที่ฝนตกมีน้ำขังในภาชนะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด–19 หากมี อาการไข้เลือดออก ร่วมด้วย จะทำให้การรักษายุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น

ซึ่งมีรายงานพยากรณ์ สถานการณ์โรคไข้เลือดออก 2563 จากกองโรคติดต่อนำโดยแมลง คาดการณ์ว่าในปี 2563 ไทยจะมีการระบาดต่อเนื่องจากปี 2562 ซึ่งใกล้เคียงกับการระบาดใหญ่ในปี 2558 โดยแนวโน้มจะสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน และจํานวนผู้ป่วย ไข้เลือดออก จะสูงลอยไปจนถึงสิ้นปี ทั้งนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่การระบาดของไข้เลือดออก และประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่ระบุในรายงาน ดังนี้…

สําหรับพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการระบาดโรคไข้เลือดออกระดับอําเภอ มีจํานวน 224 อําเภอ ใน 60 จังหวัด โดยพบว่าอําเภอเสี่ยงสูงส่วนใหญ่เป็นอําเภอเมือง และอําเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญเทียบเท่าอำเภอเมือง โดยเป็นที่ตั้งของสถานที่สําคัญต่างๆ เช่น สถานศึกษา ศูนย์ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ

อ่านต่อ >> วิธีสังเกตอาการไข้เลือดออกและอาการโควิด-19” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up