สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาล

สารเคมีรั่วไหล ไม่ทันตั้งตัวรับมือไม่ดีส่งผลระบบประสาทได้

Alternative Textaccount_circle
event
สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาล
สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาล

สารเคมีรั่วไหล พบบ่อยครั้งขึ้นในปัจจุบัน นักวิชาการชี้สูดดมเข้าไปผลกระทบระยะยาว เสี่ยงมะเร็ง ภัยอันตรายที่ไม่รู้วิธีรับมือไม่ได้แล้ว รู้ไว้ปลอดภัยกว่า

สารเคมีรั่วไหล ไม่ทันตั้งตัวรับมือไม่ดีส่งผลระบบประสาทได้!!

อ.อ๊อด แนะอพยพ ปชช.ออกจากจุดสารเคมีรั่วให้ไกลที่สุด หากสูดดมนานส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง – เสี่ยงก่อให้เกิดมะเร็ง  ล่าสุดผู้ว่าฯ นครปฐม ลงพื้นที่สั่งปิดโรงงานสารเคมีรั่ว ชั่วคราว วัน เพื่อตรวจสอบสาเหตุและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ จำกัด ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลังเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลแต่สามารถปิดวาล์วได้แล้ว แต่ต้องตรวจสอบว่ามีน้ำมันรั่วไหลมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเจ้าหน้าที่ยืนยันกลิ่นสารเคมีที่ลอยไปไม่อันตราย แต่อาจเกิดการระคายเคืองตา เหตุดังกล่าวเกิดเมื่อประมาณ 6 โมงเช้าวันนี้ (22 ก.ย. 2565) เบื้องต้น สั่งโรงงานหยุดการดำเนินการผลิตชั่วคราว 1 วัน เพื่อให้ช่างตรวจสอบจุดที่ชำรุด และให้อุตสาหกรรมจังหวัดเข้ามาตรวจสอบก่อนเปิดการผลิต ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีประชาชนได้รับผลกระทบรุนแรง แต่เนื่องจากกลิ่นกระจายตัวออกไปในวงกว้าง จึงทำให้ประชาชนเกิดความสงสัย

  • นักวิชาการแนะอพยพจากพื้นที่

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลกับ workpointTODAY ถึงกรณีสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานย่านนครชัยศรี จ.นครปฐม ว่า สารเคมีที่รั่วไหลออกมานั้นน่าจะเป็นสารเคมีอะโรเมติกเบนซิน กลุ่มโทลูอีนที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติก สารโทลูอีน จะมีลักษณะเป็นของเหลว ใสๆ และมีกลิ่นที่รุนแรง เมื่อสูดดมเป็นเวลานานจะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคืองอย่างรุนแรง จะมีอาการแสบจมูก หากสะสมในร่างกายจำนวนมากสารเคมีชนิดนี้จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในเม็ดเลือด

ที่มา : https://workpointtoday.com
สารพิษ สารเคมีรั่วไหล จากโรงงาน
สารพิษ สารเคมีรั่วไหล จากโรงงาน

จากเหตุการณ์เหตุสารเคมีรั่วไหล โรงงานพื้นที่ขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี อาจมีโอกาสที่สารพิษอันตรายจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอันตราย ดังนั้นหากเรารู้วิธีดูแลตัวเองในขณะ สารพิษรั่วไหล ว่าจะต้องรับมืออย่างไรให้ได้รับสารพิษที่ระเหยมาให้น้อยที่สุด และการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความสูญเสียได้

เมื่อ สารเคมีรั่วไหล ทำให้ร่างกายเสี่ยง 3 กลุ่มโรค!!

สารเคมีที่รั่วออกมานั้น ระเหยออกมาตามอากาศ ที่เราสูดดม ดังนั้นจึงเป็นการหลีกเลี่ยงได้ยากหากเราอยู่บริเวณใกล้เคียง  โดยสารเคมีที่รั่วไหลมานั้น เป็นสาร Biphenyl และ Diphenyl oxide เป็นสารเคมีที่มีลักษณะก่อผลึกใสไม่มีสี จะทำให้เกิดการระคายเคืองตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับ สาร Biphenyl หรือสัมผัสเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อตับ และระบบประสาท ซึ่งสารพิษอาจส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงป่วยจาก 3 กลุ่มโรค ดังนี้

1) กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ อาเจียน คลื่นไส้

2) กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย

3) กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา ตาแดง

ทั้งนี้ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น หากได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป

การปฐมพยาบาล เมื่อได้รับสารพิษ

สารเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพร่างกายอย่างแน่นอน เพราะเป็นสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการ และอาจทำให้เกิดเป็นสารพิษเมื่อสารนั้นไปทำลายระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ดังนั้นนอกจากเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิด สารเคมีรั่วไหล ที่เป็นอันตรายต่อผู้คนในจังหวัดนครปฐมแล้ว เราทุกคนควรรู้หลักการเบื้องต้นของการปฐมพยาบาล หรือรับมือกับสถานการณ์ที่คล้ายเคียงกันนี้ หรือแม้แต่การพบเจอผู้ที่ได้รับสารพิษโดยตั้งใจก็ตาม เพราะความจริงแล้วสารพิษจากสารเคมีนั้นไม่ได้อยู่ไกลตัวเราเลย เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างท่อ โซดาไฟ เป็นต้น เราจึงควรทำความเข้าใจไว้เพื่อความปลอดภัย

ช่องทางการรับสารพิษ

  1. การกิน
  2. การสูดดม
  3. สัมผัสผ่านเยื่อบุ (ผิวหนัง ตา และจมูก)
สูดดมสารพิษในปริมาณมากอาจหมดสติได้
สูดดมสารพิษในปริมาณมากอาจหมดสติได้

การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ

การได้รับสารพิษ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลที่รีบด่วน และเฉพาะเจาะจง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องประเมินจำแนกให้ได้ว่าอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้น  ว่าเกิดจากสารพิษใด นอกจากประเมินอาการแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตสภาพการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยร่วมด้วย ดังนี้

  • การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
  • เพ้อ ชัก หมดสติ  มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป  ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
  • หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า  หรือบริเวณริมฝีปาก   ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
  • ตัวเย็น  เหงื่อออกมาก  มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารพิษจากการกิน

ควรรีบส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่หากผู้ป่วยมีอาการซึม หมดสติ แน่นหน้าอก หรือหายใจติดขัด ควรติดต่อรถพยาบาลมาส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาล สามารถติดต่อสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669 โดยในระหว่างรอรถพยาบาล เราสามารถปฎิบัติตัว ดังนี้

  • ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก เพื่อลดการสัมผัสสารพิษจากเสื้อผ้าผู้ป่วยที่ไปสัมผัสโดน
  • จับผู้ป่วยให้นอนตะแคง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
  • รอรถพยาบาลมารับไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

    สวมใส่หน้ากากอนามัยสองชั้น ป้องกัน สารเคมีรั่วไหล
    สวมใส่หน้ากากอนามัยสองชั้น ป้องกัน สารเคมีรั่วไหล

สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อได้รับสารพิษจากการกิน

ด้วยความเชื่อดังต่อไปนี้ ที่มักจะบอกต่อ ๆ กันมาเพื่อนำมาใช้เป็นวิธีล้างพิษเป็นวิธีที่การที่ผิด ไม่แนะนำ ในความเป็นจริงแล้ววิธีต่าง ๆ เหล่านั้นจะยิ่งช่วยเพิ่มความอันตรายต่อผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากการกินมากขึ้นไปอีก เพราะสารพิษเหล่านี้เมื่อไปทำด้วยวิธีการเหล่านั้นจะยิ่งทำให้เกิดพิษต่อผู้ป่วยมากขึ้น และอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจมากขึ้นด้วย

  1. ล้วงคอให้อาเจียน
  2. ห้ามผู้ป่วยที่รับสารพิษกินไข่ดิบ โดยหวังจะให้อาเจียน
  3. ให้ผู้ที่ได้รับสารพิษดื่มน้ำ หรือนมในปริมาณมาก ๆ เพื่อหวังเจือจาง

อ่านต่อ>> วิธีปฐมพยาบาล เมื่อได้รับสารพิษที่พ่อแม่ควรรู้ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up