abscess in salivary gland-fe

ฝีในต่อมน้ำลาย ก้อนแข็ง ๆ หลังติ่งหูทารก สัญญาณบอกโรค

Alternative Textaccount_circle
event
abscess in salivary gland-fe
abscess in salivary gland-fe

ฝีในต่อมน้ำลาย ก้อนไตแข็ง ๆ ที่ปูดนูนขึ้นมาบนผิวหนังของลูก อันตรายไหม คุณหมอจะรักษาอย่างไร

ฝีในต่อมน้ำลาย

ทุกครั้งที่อาบน้ำ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่คุณพ่อคุณแม่จะได้สังเกตอาการของเจ้าตัวน้อย ตลอดตั้งแต่หัวจรดเท้าว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ เพราะอาการบางอย่างอาจไม่แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน จำเป็นต้องใช้การสังเกตอย่างใกล้ชิด อย่างคุณแม่ท่านนี้ ขณะที่กำลังอาบน้ำให้ลูกน้อยวัย 6 เดือน ก็เริ่มสังเกตเห็นว่า ลูกมีก้อนที่หลังติ่งหูเป็นก้อนไตแข็ง ๆ จากตอนแรกยังไม่บวมแดง สีของผิวหนังเป็นสีเนื้อตามปกติ หลังจากที่เห็นอาการผิดสังเกต คุณแม่ไม่รอช้า รีบพาลูกไปหาหมอ ซึ่งในตอนนั้นคุณหมอแจ้งว่า ลูกน่าจะเป็นคางทูม และให้กลับบ้าน

ฝีในต่อมน้ำลาย
ฝีในต่อมน้ำลาย

อาการของเจ้าตัวน้อยไม่แสดงออกมาเลย ไม่มีไข้ ไม่งอแง ไม่มีอาการแทรกซ้อนให้คุณแม่ต้องกังวล ตอนแรกแม่ยังคิดว่าน้องอ้วน แก้มออก เพราะน้องตัวใหญ่ แต่ลึก ๆ หัวอกคนเป็นแม่ย่อมรู้สึกได้ถึงควาผิดปกติบางอย่าง คุณแม่เล่าว่า หลังจากนั้น 2 วัน ลูกเริ่มงอแง โดยเฉพาะเวลามือไปโดนบริเวณที่เป็นก้อนไตแข็ง ๆ จะยิ่งร้องไห้ แม่ไม่สบายใจเลยพาไปหาหมอที่คลินิคเด็กค่ะ ตอนนั้นคุณหมอแจ้งว่าน่าจะต่อมทอนซิลอักเสบ และให้ยามาทาน

“ลูกทานยาได้ 2-3 วัน มันบวมแดง แม่เลยพาไปโรงพยาบาลอีกครั้ง ไปครั้งนี้คุณหมอให้แอดมิท ตอนไปถึง คุณหมอรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อค่ะ ให้อยู่ 3-4 วัน ก็ไม่ยุบ คุณหมอเลยส่งตัวทำการเอกซเรย์ ผลออกมาคุณหมอแจ้งว่าเป็นฝีเลยค่ะ”

จากนั้นคุณหมอได้ส่งตัวไปอัลตราซาวด์ ดูจุดที่เป็น คุณหมอแจ้งว่า บริเวณที่เป็นคือต่อมน้ำลาย ขอประเมินการรักษาอีกที เพราะเนื่องจากน้องยังเล็ก ถ้าผ่าตัดกลัวจะมีผลกระทบหลายอย่าง อีกวันน้องโดนส่งตัวไปพบกับคุณหมอหูตาคอจมูก คุณหมอจึงทำการรักษาด้วยวิธีการเจาะเข็มแล้วดูดหนองออก

“ตอนแรกแม่กังวลมากค่ะ นอนไม่หลับเลย กลัวลูกโดนผ่า ตอนที่น้องเข้าไปเจาะคุณหมอก็ต้องให้แม่เข้าไปดูด้วย เห็นแล้วสงสารลูกมาก ๆ ค่ะ แต่พอเจาะไปแล้ว ผลออกมาดีมากค่ะ ก้อนเริ่มยุบและเริ่มลอก หลังจากเจาะคุณหมอจึงให้ยาต่อ”

อาการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้เจ้าตัวน้อยต้องนอนโรงพยาบาลนานถึง 7 วัน ตอนนี้อาการของลูกโอเคแล้ว แต่คุณหมอแจ้งว่ามีโอกาสที่จะเป็นได้อีก อาจจะจุดอื่น หรือจุดเดิม เหมือนคนที่เป็นฝีบ่อย ๆ แต่หลังจากนั้นมาก็ยังไม่เคยเป็นซ้ำ ส่วนการดูแลและป้องกัน คุณหมอไม่ได้ห้ามทำอะไรเป็นพิเศษ เพียงแค่ต้องทานยาฆ่าเชื้อให้หมด

คุณแม่ยังทิ้งท้ายฝากให้แม่ ๆ คอยสังเกตลูกอยู่ตลอด เวลาอาบน้ำ หรือแต่งตัว คอยสัมผัสตัวของลูกดู เพราะตอนที่เจอฝีที่ต่อมน้ำลายก็ไม่มีอาการอะไรบ่งบอกเลย

การคอยดูแลและสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นอาการผิดปกติได้ไว และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที สำหรับฝีในต่อมน้ำลาย เป็นได้ทุกเพศทุกวัย จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อทำการอัลตราซาวด์ต่อมน้ำลาย

ฝีในต่อมน้ำลาย
ฝีในต่อมน้ำลาย

ฝีคืออะไร

ฝีเกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อสแตฟิโลค็อคคัส ออเรียส ซึ่งสาเหตุของการเกิดฝียังไม่แน่ชัด แต่แค่มีผิวถลอก เกิดแผลเล็ก ๆ ก็ทำให้เชื้อเข้าไปได้แล้ว โดยฝีเกิดได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย เป็นได้ทั้งการติดเชื้อในต่อมต่าง ๆ หรือบริเวณรูขุมขนใต้ผิวหนัง ลักษณะสำคัญของฝีคือ ไตแข็ง ๆ หรือมีอาการอักเสบบวมแดง ทำให้คนที่เป็นฝีรู้สึกเจ็บโดยรอบ ๆ แต่ในเด็กเล็กหรือทารกจะไม่สามารถพูดออกมาได้ พ่อแม่จึงต้องคอยตรวจเช็คร่างกายลูกอย่างละเอียด

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อลูกเป็นฝี

ไม่ควรไปบีบ เค้น ทำให้ฝีแตกออกมาเป็นแผล เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายกับตัวทารกได้ หากพบว่าลูกเป็นฝีควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ซึ่งคุณหมออาจเจาะฝีแล้วดูดหนองออกด้วยอุปกรณ์ที่สะอาดและปลอดภัย พร้อมกันนั้นคุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

วิธีป้องกันฝีในทารก

  • พ่อแม่ควรสำรวจร่างกายลูกทุกวัน ดูความผิดปกติ มีบาดแผลหรือไม่ ตรงไหนบวมแดง หรือมีรอยนูน เป็นจ้ำ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายที่ร่างกายลูกจะแสดงให้เห็น
  • หมั่นดูแลรักษาความสะอาดลูกและตัวคุณพ่อคุณแม่เองด้วย ไม่ควรให้ใครมาหอมมาจูบลูก หากต้องการอุ้มให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือเสียก่อน
  • ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ของลูกทุกครั้ง หมั่นเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว หรือข้าวของเครื่องใช้ลูก นำไปทำความสะอาดอยู่เสมอ
  • ลูกในวัยต่ำกว่า 6 เดือนควรกินนมแม่ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับทารก เมื่อลูกอายุเกิน 6 เดือน พยายามให้ลูกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามที่แพทย์และนักโภชนาการแนะนำ พร้อมกับเสริมด้วยนมแม่ ลูกจะยิ่งแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย

ฝีในทารกทั้งบนชั้นผิวหนังและต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย ปกติแล้วอาจจะหายได้เองในบางกรณี แต่ถ้าลูกมีอาการบวมแดง มีไข้ ร้องไห้งอแง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อ้างอิงข้อมูล : thaihealth และ smj.ejnal.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ผื่นแพ้สัมผัส ลูกเป็นตุ่มแดง บวม คัน แพ้ไส้ในเบาะกันขอบเตียง

อย่ากลัว ลูกติดอุ้ม !! หมอเด็กเผยเหตุผลดี ๆ ที่แม่ควรอุ้มลูก

10 อาหาร “บำรุงสมอง” ลูกยิ่งกิน ยิ่งความจำดี-ไอคิวสูง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up