ชวนลูกทำอาหาร

ชวนลูกเข้าครัว พัฒนาทักษะชีวิต ด้วย E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน”

Alternative Textaccount_circle
event
ชวนลูกทำอาหาร
ชวนลูกทำอาหาร

ในยุคที่พ่อแม่ และผู้ปกครองต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ใช้เวลาอยู่บ้านร่วมกันกับเด็ก ๆ มากขึ้น นับเป็นโอกาสอันดีที่จะหากิจกรรมที่ช่วยสร้างเวลาคุณภาพเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ และ พัฒนาทักษะชีวิตใหม่ ๆ พร้อมปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับลูก เนสท์เล่ E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบวกให้กับเด็กผ่านการลงมือทำ เพราะเชื่อว่าเด็ก ๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการเล่น ควบคู่ไปกับการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé for Healthier Kids) จึงริเริ่มกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ (#MealTogether)” ชวนทุกคนในครอบครัวร่วมผนึกกำลัง เปลี่ยนพฤติกรรมเด็กไทย สนับสนุนให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในการเตรียมมื้ออาหาร เพื่อสร้างการเรียนรู้โภชนาการจากสิ่งใกล้ตัว และปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมเสริมสร้างพัฒนาการสมองส่วนหน้า ที่ช่วยความสามารถในการจัดการ กระบวนการคิด วางแผนไปสู่เป้าหมาย (Executive Functions)  และ บูรณาการประสาทสัมผัส (Sensory Integration)

รวมมื้อสนุก

เนสท์เล่เปิดตัว E-Cook Book เล่มแรก เพื่อนำเสนอเมนูสร้างสรรค์ ที่มีโภชนาการที่ดีของเด็ก สอดแทรกเคล็ดลับการทำอาหาร เกร็ดน่ารู้เสริมโภชนาการ และข้อคิดจิตวิทยาเด็ก มาร่วมค้นพบไอเดียดี ๆ สำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครองที่กำลังมองหากิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์เชิงบวก ทำกิจกรรมร่วมกับลูกที่บ้านผ่านการเข้าครัว หลังจากที่ทางเนสท์เล่ได้ออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางกายและสานสัมพันธ์ที่ดีทางใจให้ครอบครัวไทย ด้วยแคมเปญ #เมนูหนูช่วยทำ (#MealTogether)”  คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองให้การตอบรับเป็นอย่างดีด้วยการส่งภาพเมนูสุขภาพที่สร้างสรรค์ประจำบ้าน และภาพประทับใจขณะที่ลูกมีส่วนร่วม เนสท์เล่จึงสานต่อกิจกรรมด้วยการจัดทำ E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” ขึ้นมา

คุณกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์

คุณกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ จำกัด (ไทย) กล่าวถึงแรงบันดาลใจของการจัดกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ (#MealTogether)” ในครั้งนี้ว่า โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé for Healthier Kids) มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเยาวชนไทยสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โดยมุ่งปลูกฝัง 5 พฤติกรรมสุขภาพได้แก่ กินหลากหลายเพิ่มผักผลไม้ กินสัดส่วนเหมาะสม กินพร้อมหน้า ขยันขยับออกกำลังกาย และเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวานจัด เน้นการเรียนรู้โภชนาการผ่านกิจกรรมที่สนุกสนานเพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของเด็กคือ การให้เด็กลงมือทำ (Active Learning) และเรียนรู้ผ่านการเล่น ให้เด็ก ๆ มีความสุขที่ได้มีส่วนร่วม เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมจากสิ่งใกล้ตัว เข้าใจเหตุและผลของกิจกรรม โดยต้องอาศัยความร่วมมือ ความเอาใส่ใจที่ต่อเนื่องระหว่างบ้านและโรงเรียน เพื่อสร้างการเรียนรู้ซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัยหรือพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ (#MealTogether)” นี้ เกิดขึ้นเพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ที่พ่อแม่ และผู้ปกครองมีเวลาอยู่บ้านกับลูกมากขึ้น เนสท์เล่จึงเล็งเห็นโอกาสในการสร้างเวลาคุณภาพในบ้าน ที่จะช่วยสานสัมพันธ์สมาชิกในครอบครัว ไปพร้อม ๆ กับการปลูกฝังโภชนาการที่ดีให้กับเด็ก และฝึกทักษะใหม่ ๆ รอบด้าน ผ่านกิจกรรมการเข้าครัว สนับสนุนให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในมื้ออาหาร ห้องครัวก็สามารถเปลี่ยนเป็นห้องเรียนรู้ที่จับต้องได้ อาทิ การชวนคิดสร้างสรรค์เมนู หาวัตถุดิบในบ้าน เลือกผักสีที่ชอบ เก็บผักที่ปลูกเอง หยิบจับชั่งตวงวัดส่วนผสม ตื่นเต้นไปกับการลองหั่น ผัด หรือปรุงอาหาร โดยเริ่มจากการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่ได้พ่อแม่ และผู้ปกครองจากหลากหลายครอบครัวมาแบ่งปันเมนูโปรดประจำบ้าน โดยเนสท์เล่ได้รวบรวมและจัดทำ E-Cook Book เล่มแรก “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” นำเสนอเมนูสร้างสรรค์ของแต่ละครอบครัว พร้อมสอดแทรกเคล็ดลับการทำอาหาร เกร็ดน่ารู้เสริมโภชนาการ และข้อคิดจิตวิทยาเด็กจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการให้ต่อยอดเพื่อสร้างโภชนาการและสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจให้กับเด็ก อีกทั้งจะเป็นไอเดียสำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครอง ที่กำลังมองหากิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์เชิงบวกทำร่วมกับลูกที่บ้าน และเปลี่ยนเรื่องโภชนาการให้เป็นเรื่องใกล้ตัวและสนุกสำหรับเด็ก”

อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ มาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการเข้าครัวต่อพัฒนาการเด็ก “ปัญหาของสังคมในปัจจุบัน คือเราอยู่ในสังคมปัจเจกนิยม (Individualism) เด็กในยุคนี้เติบโตอย่างโดดเดี่ยวมากขึ้น กล่าวคือ วิถีชีวิตของเด็กหมุนวนอยู่แต่เรื่องของตัวเอง เช่น เรียนหนังสือ กวดวิชา ติดจอ เล่นเกมส์ จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพของสังคมในมุมกว้าง ที่มีบุคคลอื่นอยู่ด้วยได้ ไม่ถนัดการทำงานเป็นทีม ซึ่งกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ (#MealTogether)” นี้ ก็เหมือนการเล่นขายข้าวแกงของเด็กสมัยก่อน เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รู้จักบทบาทสมมติ และการทำงานเป็นทีม รับบทเป็นลูกมือบ้าง เป็นพ่อค้าแม่ขายบ้าง

ห้องครัวนับเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ชั้นเยี่ยมในบ้าน เพราะการเข้าครัวลงมือทำอาหารร่วมกับพ่อแม่ หรือผู้ปกครองจะช่วยส่งเสริมทักษะและพัฒนาการรอบด้านให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทักษะทางสังคม (Social Skill) ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับคนอื่น ช่วยเหลือผู้อื่น เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับพ่อแม่ และผู้ปกครอง เด็กจะสามารถเห็นภาพลักษณ์เชิงบวกหรือข้อดีของบุคคลในครอบครัวให้เป็นบุคคลต้นแบบ หรือ ฮีโร่ (Role Model) ให้เด็ก ๆ ซึมซับพฤติกรรมจากบุคคลต้นแบบในครอบครัว นั่นคือ พ่อแม่ แทนการซึมซับพฤติกรรมจากบุคคลอื่น หากมองลึกถึงกระบวนการพัฒนาสมอง การทำอาหารเป็นกิจกรรมเดียวที่ได้ใช้ประสาทสัมผัสการรับรส ทำให้เกิดการบูรณาการประสาทสัมผัส (Sensory Integration) ที่เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสครบทั้ง 7 องค์ประกอบพร้อมกัน ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การได้สัมผัส การเคลื่อนไหวและทรงตัว รวมถึงการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่รวมกัน อีกทั้งยังช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้า ที่ช่วยความสามารถในการจัดการ กระบวนความคิด วางแผนไปสู่เป้าหมาย (Executive Functions) ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากต้นจนจบกระบวนการ หรือการเรียนรู้เชิงขั้นตอนจากกระบวนการทำอาหาร เริ่มต้นจากคิดเมนู หาวัตถุดิบ เตรียมส่วนประกอบในเมนู ลงมือปรุงอาหาร จัดจานตกแต่งจาน ทานอาหารกับครอบครัว และเก็บล้าง นอกจากทักษะที่เด็กได้พัฒนาจากการลงมือปฏิบัติแล้ว ยังได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ในการใช้ชีวิต ทั้งทักษะการคิด อารมณ์ และสังคม หรือที่เรียกว่า Soft Skills เด็กจะได้ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ ฝึกความรับผิดชอบ ความมีวินัย จัดการอารมณ์ ฝึกความอดทนรอคอย และ สุดท้ายคือความภาคภูมิใจที่ได้ทำกิจกรรมสำเร็จ”

“การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กต้องเรียนรู้จากองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ ความรู้ และ ประสบการณ์จากการลงมือทำ ดังนั้น E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” เล่มนี้ คือองค์ความรู้ แต่สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ และผู้ปกครองต้องต่อยอด นำไปลงมือทำ เข้าครัวจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับเด็ก และแนะนำให้ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดเป็นวินัย เคล็ดลับง่าย ๆ สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองในการชวนลูกเข้าครัว คือการเปลี่ยนคำสั่ง เป็นคำถาม สังเกตความชอบของลูก และถามความต้องการของเด็ก อาจเริ่มจากเมนูง่าย ๆ ที่เด็กชอบ เช่น นมเย็น หวานเย็น วุ้น 7 สี ใช้สีสันกระตุ้นทำให้เด็กสนใจ มีความสุขที่จะเข้าครัว กิจกรรมนี้สามารถเริ่มได้ตั้งแต่เด็กเล็กที่เริ่มใช้มือหยิบจับสิ่งของเองได้แล้ว พ่อแม่สามารถสอนเด็กให้ใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธี และระมัดระวังสิ่งของมีคม โดยให้เขาอยู่ในสายตาตลอดเวลา การห้ามจะยิ่งอันตรายเพราะเด็กจะแอบไปทำลับหลัง เมนูที่เกิดจากการลงมือทำเองจะทำให้เด็กภาคภูมิใจ และสามารถทานอาหารได้หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย” อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง กล่าวเสริม

ข้อดีเหล่านี้ทางเนสท์เล่จึงได้รวบรุวมและจัดทำ E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” ขึ้นมา เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ได้ปรับเปลี่ยนโภชนาการการกินของลูกให้เป็นโภชนาการที่ดี ให้ลูกสามารถกินอาหารได้อย่างมีความสุข สอดแทรกเคล็ดลับการทำอาหาร เกร็ดน่ารู้เสริมโภชนาการ และข้อคิดจากจิตวิทยาเด็ก

อาหาร

ลูกกินยาก อยากให้ลูกกินได้หลากหลาย ต้องทำอย่างไร

การกินหลากหลายต้องเริ่มฝึกในวัยเด็ก เพราะจะเป็นการฝึกง่ายกว่าตอนโต หากลูกไม่ชอบกินผัก คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะพาเขาปลูกผักไว้ทำอาหารเพื่อที่จะให้เขาสร้างความคุ้นชินกับผักและสนุกกับการปลูกผักได้อีกด้วย ยังช่วยเสริมสร้างทักษะการรับผิดชอบที่ได้ปลูกผัก เมื่อผักเริ่มโตก็ให้เขานำผักที่เขาปลูกเองมาทำเป็นอาหาร ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการทำทุกขั้นตอนเพื่อให้เขาเกิดความสนใจผัก ทำให้เขาสามารถกินอาหารได้หลากหลายขึ้น ที่สำคัญคุณพ่อ คุณแม่อย่าบังคับลูกเมื่อเขาไม่อยากกินอาหารชนิดใดก็ตามเพราะจะทำให้เขากลัวการกินสิ่งนั้นไปเลย ให้เปลี่ยนคำสั่งเป็นคำถามแทน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าลูกต้องการอะไร ให้ลูกได้ตัดสินใจเองเลือกเองในสิ่งที่ลูกชอบ

เคล็ดไม่ลับ หากคุณพ่อ คุณแม่ ทำอาหารไม่เป็น

คุณพ่อ คุณแม่ ไม่ต้องกังวลเพราะเราสามารถที่จะเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับลูกของเราได้ เริ่มจากค่อย ๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน เริ่มหาข้อมูลพร้อมกันว่าเราจะทำเมนูอะไร วิธีการทำเป็นอย่างไร และวัตถุดิบมีอะไรบ้าง จากนั้นก็ชวนลูกของเราไปซื้อวัตถุดิบด้วยกัน ลูกจะได้เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกับเรา ลูกสามารถเข้าครัวกับคุณพ่อ คุณแม่ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2-3 ขวบขึ้นไป ก็สามารถเข้าครัวได้เลยค่ะ เพียงแต่ต้องให้อยู่ในสายตาคุณพ่อ คุณแม่ตลอด อุปกรณ์ของครัวก็ให้เป็นพวกพลาสติกเพื่อไม่ให้มีคมและเกิดอันตรายต่อลูกของเรา ในขั้นตอนการทำอาหารก็สามารถให้ลูกมีส่วนร่วมได้ เริ่มจากการทำสิ่งเล็ก ๆ เช่น การหั่น การตำ เมื่อลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหารตั้งแต่แรกเริ่มเขาก็จะสามารถกินอาหารได้หลากหลายขึ้น เพราะว่าเขามีส่วนร่วมในการทำนั่นเอง

คุณพ่อ แม่สามารถดาวน์โหลด E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” ได้ฟรี!!
ที่นี่เลย>> bit.ly/3rlTyo8

การที่คุณพ่อคุณแม่ ได้ใช้เวลาว่างอยู่กับลูกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กในยุคนี้  เพราะการที่ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูก จะช่วยสานสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวแล้ว ยังช่วยพัฒนาทักษะชีวิตได้รอบด้าน ห้องครัวถือว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ที่สนุกสนานของเด็ก ๆ ที่ช่วยทั้งปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถพัฒนาทักษะสมองของลูกเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จได้ค่ะ

บทความที่น่าสนใจ

ทำอาหารเช้ายังไงให้ลูกทันไปโรงเรียน

ซีอิ๊วขาว กับซอสปรุงรส เลือกแบบไหนทำอาหารอร่อย เค็มน้อย ลูกปลอดภัย

ชวนลูกทำอาหาร “สร้างความมั่นใจ” ติดตัวไปจนโต โดย พ่อเอก

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nestle.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up