เงินชดเชยว่างงาน

5 ขั้นตอน รับ “เงินชดเชยว่างงาน” พิษโควิด-19 จาก ‘ประกันสังคม’

Alternative Textaccount_circle
event
เงินชดเชยว่างงาน
เงินชดเชยว่างงาน

การระบาดใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายกิจการจำเป็นต้องหยุดกิจการ เพื่อระงับการแพร่เชื้อไม่ให้กระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งส่งผลกระทบกับพนักงานหลายๆ คน ที่ถูกให้หยุดงาน Work From Home หรืออาจะถึงขึ้นให้ออกจากงาน กระทรวงแรงงาน จึงมีมาตรการให้ความช่วยเหลือ โดย สำนักงานประกันสังคม จะจ่าย เงินชดเชยว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดระลอกใหม่ในไทย

5 ขั้นตอน รับ “เงินชดเชยว่างงาน” พิษโควิด-19 จาก ‘ประกันสังคม’

จากการประเมินของ กระทรวงแรงงาน การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ภาครัฐ สั่งหยุดกิจการกว่า 6,098 แห่ง มีลูกจ้างต้องหยุดงานกว่า 103,800 คน จึงเร่งรัดการช่วยเหลือคนว่างงาน โดยคาดว่าจะใช้เงินประกันว่างงานเยียวยากว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งหลักการจ่าย เงินชดเชยว่างงาน มีดังนี้

 

เงินชดเชยว่างงาน

เงื่อนไขผู้ได้เงินชดเชยว่างงาน?

  • ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค
  • ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน เนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่ และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น
  • ผู้ประกันตนที่มีเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน

Must Read >> วิธี เช็คยอดเงินประกันสังคม อย่างละเอียด เช็กง่ายแค่ปลายนิ้ว

เงินชดเชยการว่างงานได้เท่าไหร่

“ลูกจ้าง” ที่ต้องหยุดงานกรณีกักตัว หรือราชการสั่งปิดสถานที่เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 มีสิทธิได้รับ เงินชดเชยว่างงาน 50% ของค่าจ้างรายวัน หรือของฐานเงินเดือน แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยจะได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวัง หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว (แล้วแต่กรณี) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

เช่น กรณีค่าจ้างรายวัน มีวิธีคิดเงินชดเชยดังนี้

น.ส. สมสวย พนักงานร้านนวด มีรายได้วันละ 300 บาท เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโควิดมาใช้บริการที่ร้าน ทางร้านจึงต้องหยุดกิจการเป็นจำนวน 14 วัน น.ส.สมสวย ได้ยื่นขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน ซึ่งจะคำนวนเงินชดเชยดังนี้

เงินค่าจ้างที่หยุดงาน   300 x 14 = 4,200 บาท

ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชย 50% ของ 4,200 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

น.ส. สมสวยจะได้รับเงินชดเชยการว่างงาน 2,100 บาท

กรณีค่าจ้างรายเดือน มีวิธีคิดเงินชดเชยดังนี้

——————————————————————————————–

กรณีค่าจ้างรายเดือน มีวิธีคิดเงินชดเชยดังนี้

นาย พละ พนักงานออฟฟิศ ได้รับเงินเดือน 18,000 บาท แต่เนื่องจากบริษัทปิดกิจการจากการระบาดของโควิด-19 เป็นเวลาสองเดือน  นายพละ จึงได้ยื่นขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน ซึ่งจะคำนวนเงินชดเชยดังนี้

เงินเดือนที่หยุดงาน 15,000 x 2 = 30,000 บาท (คิดที่ฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาทเท่านั้น)

ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชย 50% ของ 30,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท

นายพละ จะได้รับเงินชดเชยการว่างงาน  15,000 บาท

———————————————————————————————

กรณีหยุดงานเกินกว่า 90 วัน มีวิธีคิดเงินชดเชยดังนี้

นาย กิตติ ได้รับค่าจ้างวันละ 350 บาท แต่กิจการหยุดเนื่องจากปัญหาโควิด-19 เป็นเวลา 100 วัน นาย กิตติ ได้ยื่นขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน ซึ่งจะคำนวนเงินชดเชยดังนี้

เงินค่าจ้างที่หยุดงาน   350 x  90 = 31,500 บาท

ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชย 50% ของ 31,500 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท

นาย กิตติ  จะได้รับเงินชดเชยการว่างงาน 15,750 บาท

 

ทั้งนี้คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายถึง ภัยที่เกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนถึงขนาดที่ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ การกำหนดให้กรณีมีเหตุสุดวิสัยและหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายอันส่งผลให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้

Must Read >> ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิบัตรทองและประกันสังคม

ขั้นตอนลงทะเบียนและรับเงินชดเชย

1.ลูกจ้างผู้ประกันตน เข้าเว็บประกันสังคม  www.sso.go.th เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง

ใช้แบบคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01/7 หรือกดโหลดได้ที่นี่ (ดาวโหลดแบบขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน)

แบบขอรับประโยชน์ทดแทน

2. ลูกจ้างกรอก  แบบคำร้อง ระบุเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากที่ถูกต้อง

3. นายจ้างรวบรวมแบบคำร้องจากลูกจ้าง พร้อมหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว

4.นายจ้างเข้าระบบ E-services ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบ สปส 2-01/7

หากนายจ้างเพิ่งเคยใช้ระบบ E-service ของประกันสังคมเป็นครั้งแรกต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานก่อน ซึ่งขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งาน E-service ของสำนักงานประกันสังคม ทำได้ไม่ยุ่งยาก ดังนี้ ขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งาน E-service

 

เงินชดเชยว่างงาน

5. นายจ้างรวบรวมเอกสารทั้งหมด และส่งนำส่งไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้ง

เอกสารที่ต้องจัดส่ง ประกอบด้วย

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) ของลูกจ้างที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-service 
  • หนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว

จัดส่งภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ E-services บน www.sso.go.th ไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ (ส่งแบบลงทะเบียน)

Must Read >> ขึ้นทะเบียนว่างงาน ผู้ประกันตน ประกันสังคม ทำได้อย่างไร?

เริ่มลงทะเบียนได้เมื่อไหร่ และได้รับเงินเยียวยาช่วงไหน

สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดให้ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และเมื่อนายจ้างได้ส่งเอกสารครบเรียบร้อย หากข้อมูลถูกต้องครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ (ไม่รับรวมเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ) กรณีเงินไม่เข้าบัญชี โทร.สายด่วน 1506

ขอบคุณข้อมูลจาก :  https://www.bugaboo.tv/watch/535054 , www.sso.go.th/eservices/ , ประชาชาติธุรกิจ

ประกันสังคม เพิ่มเงินคลอดบุตร-ฝากครรภ์ ให้แม่รับปีใหม่!!

วิธีเช็คเงินสมทบ-ค่าคลอดบุตร ผ่าน แอพเช็คประกันสังคม

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ! ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนอายุ 50 ปีขึ้นไป

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up