ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน

วิธีรับมือ ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ลูกนอนไม่พอ แม่อย่ารอช้า!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน
ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน

ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน – การได้นอนกลางวันแม้เพียงไม่กี่ชั่วโมงสามารถส่งผลต่ออารมณ์ของเด็กได้ เนื่องจากการนอนกลางวันมีส่วนช่วยในการปรับอารมณ์ความรู้สึกของเด็กๆ ช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ  อาทิ ร้องไห้ ไม่ร่าเริง หงุดหงิด เป็นต้น มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ได้นอนกลางวันทุกวันยังมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยน้อย ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ การนอนกลางวันยังช่วยเพิ่มสมาธิในการเรียนรู้ และพัฒนาสมองไปในทิศทางที่ดี

ทำไมเด็กเล็กต้องนอนกลางวัน

การที่เด็กๆ ได้นอนกลางวัน จะช่วยชดเชยการนอนหลับที่ขาดหายไปในตอนกลางคืนได้ เพราะแม้แต่เวลานอนโดยรวมที่ไม่เพียงพอเพียงหนึ่งชั่วโมงในแต่ละวัน ก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้ ความตื่นตัวและการทำงานของสมองของเด็กจะลดลงและแทนที่ด้วยความเหนื่อยล้าและปัญหาของอารมณ์ด้านลบที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้การนอนกลางวันของเด็กปฐมวัยยังมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการ การให้ลูกนอนกลางวันจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและฟื้นฟูร่างกาย ดังนั้น การนอนกลางวันจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เจ้าตัวน้อยมีชั่วโมงการนอนหลับที่เหมาะสมตามวัย จากการศึกษาของ PsychCentral.com พบว่า การนอนหลับที่ไม่เพียงพอบ่อยๆ สามารถส่งผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างกันของเด็ก ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านอารมณ์ไปจนตลอดชีวิตได้

มีแนวคิดวิธีต่างๆ มากมายในการช่วยให้เด็กๆ นอนกลางวันได้อย่างราบรื่น แต่แนวคิดที่ดีที่สุดในโลก อาจไม่เหมาะกับลูกของเราก็เป็นไปได้ หากวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงเหตุผลว่าทำไมลูกของคุณถึงหลับยาก หรือไม่ยอมนอนในตอนกลางวัน ไม่ใช่แค่เหตุผลเดียวที่ทารกและเด็กเล็กนอนกลางวันได้ยาก ยังมีหลายเหตุผลที่แตกต่างกัน ก่อนที่เราจะแก้ปัญหา ต้องเข้าใจถึงแรงจูงใจของลูกก่อน

วิธีรับมือ ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ลูกนอนไม่พอ แม่อย่ารอช้า!

เมื่อทราบสาเหตุที่ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน หรือนอนหลับได้ยากแล้ว เราจะสามารถหาวิธีต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมกับลูกของเราได้ตรงจุด ต่อไปนี้คือเหตุผลทั่วไปบางประการที่เด็กๆ ไม่ยอมนอนกลางวัน และทางออกสำหรับปัญหาในแต่ละข้อ

1. ลูกโตเกินกว่าที่จะนอนกลางวันตามเวลาเดิม

การเปลี่ยนแปลงในชีวิต การเติบโต พัฒนาการของลูกที่เปลี่ยนไปตามวัย เช่น การเรียนรู้ที่จะคลาน เริ่มกินอาหารแข็ง เกาะยืน เริ่มเดินได้ จดจำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น  การเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางด้านพัฒนาการของเด็ก ล้วนส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับของพวกเขาได้ ดังนั้นควรตรวจสอบคุณภาพในการนอนของลูกอยู่เสมอ และพยายามปรับตารางเวลาให้เหมาะสมและตรงกับวัยของลูก

2. เวลานอนกลางวัน ไม่ตรงกับนาฬิกาชีวิต

ไม่ว่าจะนอนกลางวัน นอนตอนกลางคืน เวลาอาหาร การเปิดรับแสงและความมืด ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันของเด็ก ล้วนส่งผลต่อนาฬิกาชีวิตของเด็กได้ ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนอนกลางวันของลูกคุณ ควรจะเป็นเวลาเดียวกันในแต่ละวัน และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปตามวัย  ที่สำคัญต้องกำจัดบางกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบกับคุณภาพในการนอนของลูก เช่น ให้ลูกดูหน้าจอเป็นเวลานานก่อนเข้านอน เป็นต้น

ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน
ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน

3. เวลานอนกลางวันไม่สอดคล้องกันในแต่ละวัน

ยกตัวอย่าง เมื่อลูกของคุณงีบหลับในช่วงเวลาหนึ่งที่สถานรับเลี้ยงเด็กแต่เป็นเวลาที่แตกต่างกันที่บ้าน หรือหากพวกเขางีบหลับยาวในวันที่คุณอยู่บ้าน แต่เวลาเดียวกันในวันถัดไปจำเป็นต้องนอนหลับในรถในขณะที่คุณกำลังเดินทาง เวลาและสถานที่ที่แตกต่างกันเหล่านี้ สามารถส่งผลกระทบต่อการนอนกลางวันของเด็กๆ ได้ ทางที่ดีควรกำหนดตารางเวลาการงีบหลับที่เป็นไปได้สำหรับบุตรหลานของคุณ และพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะควบคุมเวลานอนให้อยู่ภายในช่วงเวลาที่คุณกำหนดเอาไว้

4. พร้อมที่จะนอน แต่ไม่ได้นอน

หากคุณพลาดสัญญาณของความอ่อนล้าของลูก เด็กๆ อาจต้องพลาดการนอนกลางวันไปอีกหนึ่งวัน การร้องไห้ เอะอะโวยวาย เสียงร้องไห้ และความโกรธเกรี้ยว คือสัญญาณความง่วงนอนของเด็กๆ เมื่อพ่อแม่หรือคนเลี้ยง พลาดสัญญาณที่อ่อนล้าเหล่านี้ของลูกไปลูกก็อาจต้องลากยาวไปหลับอีกทีในตอนกลางคืน

หากต้องการทราบสัญญาณในการง่วงนอนของเด็กๆ  ให้เฝ้าดูลูกของคุณในชั่วโมงหลังจากที่ตื่นนอนตอนเช้าเป็นครั้งแรกจากการได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เปรียบเทียบพฤติกรรมนี้กับพฤติกรรมของพวกเขาในช่วงอาหารเย็นจนถึงเวลาเข้านอน เมื่อเด็กส่วนใหญ่แสดงอาการอ่อนล้า เมื่อใกล้ถึงเวลานอนตามปกติ ให้สังเกตว่าพฤติกรรมและภาษากายของพวกเขาแตกต่างจากตอนที่เขาตื่นตัวและสดชื่นอย่างไร ทางที่ดีควรให้ลูกได้เข้าสู่โหมดเตรียมนอนทันทีที่มีอาการเหนื่อยล้า เด็กที่เหนื่อยล้าจะหลับได้ง่าย และหลับได้นานขึ้น

5. ลูกติดวิธีใดวิธีหนึ่งในการกล่อมนอน

เด็กที่คุ้นเคยกับการทำให้ง่วง หรือทำให้นอนหลับได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะอยู่เป็นประจำ จะคุ้นเคยกับวิธีเหล่านั้นไปโดยปริยาย  หากพ่อแม่พยายามทำให้ลูกหลับด้วยวิธีอื่นๆ หรือพยายามให้นอนหลับในสภาพแวดล้อมที่ลูกไม่คุ้นเคย ท้ายที่สุดแล้วลูกของคุณอาจนอนไม่หลับ เรื่องนี้ก็ไม่ต่างจากที่เราอาจรู้สึกหลับสบายหลับง่ายบนเตียงและห้องของเราเอง แต่มีปัญหาในการนอนที่โรงแรมหรือบ้านของคนอื่น

การให้นมขวดเพื่อการนอนหลับ การถูกอุ้มกล่อมด้วยแขน หรือนอนบนชิงช้า เปลหรือเบาะ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยกล่อมให้เด็กๆ นอนหลับได้อย่างน่ามหัศจรรย์ เมื่อเด็กๆ ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่คุ้นเคยในการนอน ก็มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปัญหาสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกนอนหลับได้ดังใจ

6. ลูกได้งีบหลับก่อนถึงเวลานอนกลางวัน

เมื่อลูกรู้สึกง่วงนอนการงีบหลับสั้นๆ เพียงห้านาที อาจลดอาการง่วงนอนของเด็กๆ ได้ หากลูกของคุณรู้สึกง่วง และเผลอนอนหลับไปบนโซฟา หรือนั่งรถไป พวกเขาอาจสัปหงกห้าหรือสิบนาที ซึ่งการงีบช่วงสั้นแบบนี้จะยิ่งช่วยให้เด็กๆ กระปรี้กระเปร่า และอาจทำให้พวกเขานอนหลับได้ยาก หรือนอนไม่หลับเมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนกลางวันจริงๆ เพื่อรับมือกับปัญหานี้ ควรหลีกเลี่ยงการวางลูกของคุณในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้พวกเขางีบหลับ เช่น พาลูกขึ้นรถ นั่งบนคาร์ซีทในช่วงเวลาเดียวกับเวลานอนกลางวันตามปกติ เป็นต้น

ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน

7. ลูกอาจมีปัญหาด้านสุขภาพ

หากเจ้าตัวน้อยของคุณมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง จะส่งผลต่อการนอนของเด็กๆ ได้อย่างแน่นอน โรคภูมิแพ้และโรคหอบหืดเป็นโรคที่พบบ่อย ในเด็กเล็กๆ ที่ป่วยภูมิแพ้และหอบหืดอาจหายใจไม่สะดวกเมื่อนอนราบ นอกจากนี้อาการจุกเสียดในท้อง กรดไหลย้อน การติดเชื้อที่หู และการงอกของฟัน ก็เป็นปัญหาของสุขภาพที่จะส่งผลกระทบต่อการนอนของลูกได้โดยตรง หากลูกของคุณมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง การได้นอนกลางวันอย่างเต็มที่และมีคุณภาพสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพโดยรวมของพวกเขา  ทางที่ดีไม่ควรปล่อยให้ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข การได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณภาพในการนอนของลูกคุณดีขึ้นได้

เคล็ดลับ ช่วยลูกนอนกลางวัน

มีข้อมูลบางอย่างที่อาจเป็นประโยชน์ เมื่อคุณต้องการให้ลูกได้นอนกลางวันเป็นประจำ หลักการพื้นฐานบางอย่างเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง ตลอดจน รักษาตารางเวลาประจำวันที่สม่ำเสมอ  สร้างรูปแบบของกิจวัตรประจำวันที่ดี ด้วยมื้ออาหารและช่วงเวลานอนกลางวันที่เหมาะสม

  • ปรับเปลี่ยนตารางเวลาของคุณตามสัญญาณความง่วงนอนของบุตรหลาน
  • สัญาณความง่วงของเด็กคือ หมดความสนใจในของเล่น หรือเวลาเล่น เอะอะ  ขยี้ตาหรือหู และหาว
  • มีกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรก่อนเวลานอน ที่เป็นสิ่งที่ช่วยเตือนให้ลูกรู้ว่าใกล้เวลานอนกลางวันแล้ว เช่น การอ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน
  • จัดที่นอนที่อบอุ่นสบายสำหรับการนอน เสื้อผ้าที่ลูกสวมใส่ควรสบายเหมาะกับการนอนหลับพักผ่อน
  • สร้างช่วงเช้าตอนตื่นที่สดใส และกระฉับกระเฉงให้ลูก และสร้างบรรยากาศในครึ่งชั่วโมงก่อนการงีบหลับตอนกลางคืนแต่ละครั้งให้เงียบสงบให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน

แม้เราจะไม่สามารถบังคับเด็กให้หลับได้ดั่งใจ แต่เราสามารถปฏิบัติตามกฎพื้นฐานทั่วไปได้ เช่น การมองหาสัญญาณในการง่วงนอนของลูก และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนอนหลับและการผ่อนคลาย เมื่อเด็กๆ ได้นอนหลับอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้ร่างกายได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทานโรค เป็นเด็กอารมณ์ดี สดชื่นแจ่มใส จดจำสิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นควรสนับสนุนให้เด็กๆ นอนให้เพียงพอ และหมั่นปลูกฝังความสำคัญของการนอนหลับพักผ่อนให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อเสริมสร้างให้เด็กๆ มีทักษะความฉลาดรอบด้าน ด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความฉลาดที่สำคัญสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : mother.ly

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

พร้อมไหม ให้ลูกนอนคนเดียว ฝึกลูกให้นอนเองได้ ตอนไหนดี

สัญญาณเตือน! ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนสายเกินแก้

ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up