ลูกติดเกมช่วงโควิด

เคล็ด(ไม่)ลับ ป้องกัน ลูกติดเกมช่วงโควิด ไม่ตึงไม่หย่อน ช่วยลูกผ่อนคลาย!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกติดเกมช่วงโควิด
ลูกติดเกมช่วงโควิด

ลูกติดเกมช่วงโควิด – ในช่วงที่เด็กๆ ต้องอยู่กับบ้านมากขึ้นด้วยสถานการณ์โควิด-19 และต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอ ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือ แท็บเล็ต มากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนด้วยความจำเป็นต้องเรียนในรูปแบบออนไลน์ เพราะโรงเรียนยังไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนตามปกติได้ ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่หลายบ้านอาจต้องเจอในสถานการณ์ช่วงนี้นอกจากความเครียดในเรื่องการที่ทั้งพ่อแม่และเด็กต้องปรับวิถีชีวิตและพบกับความท้าทายในการเรียนแบบออนไลน์แล้ว การแบ่งเวลาในการเล่นเกมบนมือถือหรือคอมพิวเตอร์ของลูกก็อาจกลายเป็นปัญหาที่พ่อแม่ต้องปวดหัวเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งเรื่อง

เคล็ด(ไม่)ลับ ป้องกัน ลูกติดเกมช่วงโควิด ไม่ตึงไม่หย่อน ช่วยลูกผ่อนคลาย!

การได้เล่นเกมอาจทำให้เด็กมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียดต่างๆ ในชีวิต แต่หากเล่นเกมทุกวันวันละหลายเวลา เช้า กลางวัน เย็น แบบไม่มีกฎกติกามาควบคุม ก็อาจทำให้ “เด็กติดเกม” จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่สำคัญคือการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กอาจถดถอยได้

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกำลังส่งเสียงเตือนถึงความรุนแรงของการติดเกมโดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เด็กๆ วัยเรียน มีเวลาอยู่หน้าจอมากขึ้น บางคนถึงกับอ้างว่าการติดเกมสามารถเปรียบเทียบได้กับการติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์  “เราทราบดีว่าการเล่นเกมสร้างโดปามีนที่ทำให้สมองเสพติดได้จริง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและความเพลิดเพลินต่อเกมอย่างหนัก เจฟฟรีย์ เดเรเวนสกี ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์กล่าว

สำหรับผู้ปกครองที่กังวลว่าลูก ๆ  เล่นเกมมากเกินไป  ควรเช็คสัญญาณเตือนต่อไปนี้ 

  • ลูกของคุณคิดเกี่ยวกับเกมแม้ในขณะที่ไม่ได้เล่นหรือไม่?
  • ลูกของคุณรู้สึกกระสับกระส่าย หงุดหงิด อารมณ์เสีย โกรธ วิตกกังวล เบื่อ หรือเศร้าเมื่อพวกเขาพยายามลดหรือหยุดเล่นเกม หรือเมื่อพวกเขาไม่สามารถเล่นได้ หรือไม่?
  • ลูกของคุณรู้สึกว่าควรเล่นน้อยลง แต่ไม่สามารถลดระยะเวลาในการเล่นเกมได้หรือไม่?
  • ลูกของคุณหมดความสนใจหรือลดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสันทนาการอื่น ๆ เนื่องจากการเล่นเกมหรือไม่?
  • ลูกของคุณเคยหลอกลวงหรือโกหกครอบครัว เพื่อน หรือคนอื่น ๆ ว่าพวกเขาเล่นเกมมากแค่ไหน? หรือพยายามไม่ให้ครอบครัวหรือเพื่อนฝูงรู้ว่าพวกเขาเล่นเกมมากแค่ไหน?
  • ลูกของคุณเล่นเกมเพื่อหนีหรือลืมปัญหาส่วนตัวหรือเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายใจ เช่น ความรู้สึกผิด วิตกกังวล หมดหนทาง หรือซึมเศร้าหรือไม่?
ลูกติดเกมช่วงโควิด
ลูกติดเกมช่วงโควิด

ผลกระทบของการติดวิดีโอเกม

การเล่นวิดีโอเกมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวัยรุ่นที่สนุกและเป็นเรื่องปกติ แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถควบคุมเวลาในการเล่นเกมของตัวเองได้ นักวิจัยกำลังศึกษาเพิ่มเติมว่าใครมีความเสี่ยงที่จะติดเกมได้มาก และเพราะเหตุใด ประมาณ 10% ของวัยรุ่นมีอาการของการเล่นเกมที่ไม่ดีต่อสุขภาพและแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปซึ่งเด็กเหล่านี้ดูเหมือนจะมีบางสิ่งที่เหมือนกัน คือ มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหากับการเรียน การพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือการสร้างสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง พวกเขาอาจมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ความประหม่า และมีปัญหากับการใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น/สมาธิสั้น (ADHD) มีความเสี่ยงเป็นพิเศษที่จะติดเกมได้มากกว่าเด็กทั่วไป

วิดีโอเกมอาจไม่ต่างจากการพนันที่สามารถกระตุ้นระบบการให้รางวัลในสมอง แม้ว่าทางการแพทย์ยังไม่มีการยืนยันว่าเกมทำให้เสพติดคล้ายกับยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ได้ แต่ก็มีการต้องข้อสังเกตว่าการเล่นวิดีโอเกมมากเกินไปสามารถส่งผลเสียที่ร้ายแรงต่อเด็กได้ ซึ่งต่อไปนี้คือผลเสียบางประการของการติดวิดีโอเกม

  • พฤติกรรมครอบงำ – หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมและแสดงพฤติกรรมหงุดหงิด กระสับกระส่าย และก้าวร้าวเมื่อไม่ได้เล่น
  • อดนอน – เด็กที่เล่นมากเกินไปจะทำเช่นนั้นจนถึงเช้าตรู่ ส่งผลให้อดนอนซึ่งเป็นอันตรายต่อจิตใจที่ยังคงพัฒนาอยู่มากขึ้น เมื่อพวกเขาไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้นจะส่งผลต่อความสนใจและการเรียนรู้ของพวกเขา การอดนอนยังทำให้ปวดหัวและรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดทั้งวัน
  • ขาดการออกกำลังกาย – เด็กที่ออกกำลังกายน้อยเกินไป ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ รวมทั้งสูญเสียโอกาสในการพัฒนาสมอง เนื่องจากการออกกำลังกายนั้นดีต่อสมอง
  • ปัญหาทางกายภาพ – การใช้เมาส์หรือตัวควบคุมมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการทางกายภาพ เช่น ตาแห้ง ปวดหัวไมเกรน และปวดหลัง  และอาจละเลยสุขอนามัยของตัวเอง
  • แยกตัวออกจากสังคม – การเล่นมากเกินไปทำให้ห่างจากการโต้ตอบกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูง กีดกันเด็กๆ จากการพัฒนาทักษะทางสังคมที่ควรเรียนรู้ แม้ว่าเกมออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นโซเชียล แต่ทักษะที่เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้จากเกมนั้นมีจำกัดมาก เนื่องจากไม่ใช่การโต้ตอบแบบเห็นหน้ากัน
  • การเล่นเกมกลายเป็นจุดสนใจเดียวในชีวิต – เด็กสามารถหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมได้จนเขาได้รับแรงบันดาลใจจากเกมมากเกินไป พูดถึงเกมตลอดเวลาและความคิดส่วนใหญ่มักมุ่งไปที่การเล่นเกม
  • ละเลยกิจกรรมและความรับผิดชอบ – เหตุเพราะติดเกมอย่างหนัก เด็กบางคนอาจละเลยการเรียน ไม่ทำการบ้าน และผลการเรียนตกต่ำ
  • ขาดความสนใจในการอ่านและงานอดิเรกอื่น ๆ – ที่มีประโยชน์ทางการศึกษา เมื่อเด็กเล่นเกมมากเกินไป จะไม่สนใจงานอดิเรกอื่น ๆ ที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา เช่น การอ่านหนังสือที่หลากหลาย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์
  • หนีปัญหาชีวิตแทนที่จะเผชิญหน้า – เด็กบางคนที่ใช้ชีวิตที่ตึงเครียดหาทางหนีออกด้วยโลกแห่งจินตนาการของเกม การหลบหนีจะทำให้เด็กไม่สามารถเผชิญปัญหาและหาทางแก้ไข ซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่ควรได้รับการพัฒนาตั้งแต่ยังเด็ก
  • หงุดหงิด ซึมเศร้า เมื่อไม่สามารถเล่นได้ – เมื่อเด็กไม่ได้เล่นเกมอย่างที่ตั้งใจ เด็กบางรายแต่เป็นส่วนน้อย อาจมีอาการแสดงออกที่รุนแรง เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น หงุดหงิด ปวดหัวไมเกรน
  • รู้สึกเสียใจที่เสียเวลาในชีวิต – การเล่นเกมไม่สร้าวปัญหาให้ใครหากรู้จักเล่นอย่างพอประมาณ แต่ถ้ามากเกินไป เวลาในการทำสิ่งอื่นๆ ที่มีประโยชน์ก็อาจเสียไป และในอนาคตหากตระหนักได้ว่าพวกเขาได้เสียเวลาและโอกาสไปโดยไร้ประโยชน์ อาจนำไปสู่ความเสียใจและรู้สึกผิดต่อตัวเอง
  • ทำให้มีนิสัยโกหก หลอกลวง – การเล่นเกมที่มากเกินไปอาจทำให้เด็กไม่ซื่อสัตย์หรือหลอกลวงพ่อแม่เกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการเล่นเกม ในบางกรณีพวกเขาอาจขโมยเงินเพื่อใช้จ่ายในการเล่นเกม ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาส่วนตัวที่ร้ายแรง

ลูกติดเกมช่วงโควิด

จะป้องกันการเล่นเกมที่ไม่ดีต่อสุขภาพลูกได้อย่างไร?

มีวิธีที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถทำได้ เพื่อป้องกันการติดเกม และการเล่นเกมที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเด็กๆ  ซึ่งการคอยติดตามสอดส่องและมีกติกาที่รอบคอบว่าลูกหลานใช้สื่อมากน้อยเพียงใดสามารถช่วยได้

  • วางแผนการใช้หน้าจอของลูกให้รอบคอบ เพื่อป้องกันลูกติดเกม เล่นได้แต่ต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจน เช็คให้แน่ใจว่าการเล่นเกม จะไม่กระทบกับกิจกรรมสำคัญอื่นๆ เช่น การบ้าน การออกกำลังกาย หรือการนอนหลับ เป็นต้น
  • ควรรู้ว่าลูกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างไร เกมและแอปใดที่ลูกดาวน์โหลด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเกมมีความเหมาะสมกับวัยและเหมาะสมกับเนื้อหา
  • ให้เล่นเกมในพื้นที่ส่วนกลาง แน่นอนว่าอาจเป็นไปไม่ได้เสมอไป เพราะลูกต้องใช้โทรศัพท์และทำการบ้านโดยใช้แล็ปท็อป ซึ่งยากที่จะติดตามทุกสิ่งที่พวกเขาทำ แต่อย่างไรก็ตามควรทำเท่าที่จะทำได้
  • ร่วมเล่นเกมกับลูก และเป็นตัวอย่างที่ดี สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณเห็นว่าพวกเขากำลังทำอะไรและทำอย่างไร แต่ยังช่วยจำกัดเวลาในการเล่นเกมอีกด้วย
  • มุ่งเน้นไปที่เกมในโลกแห่งความเป็นจริงสำหรับเด็กเล็ก เด็กเล็กเรียนรู้ได้มากเมื่อเชื่อมต่อกับผู้อื่น ส่งเสริมให้พวกเขาเล่นกับของเล่น หนังสือ และดินสอสี
  • หาวิธีสร้างสรรค์ เพื่อให้เกมและเวลาเทคโนโลยีสมดุลกับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • สังเกตบุตรหลาน ว่าโต้ตอบกับอุปกรณ์และเกมอย่างไร หากมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด อาจหมายความว่าจำเป็นต้องให้ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอน้อยลง

เด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เล่นวิดีโอเกมอาจไม่ได้ติดเกม หรือมีปัญหาอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง แต่เมื่อการเล่นเกมเริ่มเป็นอุปสรรคต่อชีวิตในด้านอื่นๆ ก็ถึงเวลาที่พ่อแม่ต้องก้าวเข้ามาช่วยเหลือ  การตั้งกติกาและกฎเกณฑ์ต่างๆ ตลอดจนการคอยสอดส่องดูแลเวลาหน้าจอของเด็กๆ และการหาเวลามีส่วนร่วมกับลูกให้มากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน จะช่วยให้เด็กๆ ห่างไกลจากการเสพติดการเล่นเกมได้

ทั้งนี้พ่อแม่สามารถสอนและแนะนำลูกๆ ได้ ว่าการติดเกมจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตของลูกๆ บ้าง เพื่อให้เด็กๆ เกิดความตระหนัก และระลึกได้ว่าควรเล่นอย่างไรให้พอดีที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจเพื่อสร้างวินัยในการปฏิบัติตามกฎกติกาต่างๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันปัญหาการติดเกมแล้ว ยังเป็นการเสริมทักษะความฉลาดที่รอบด้วยด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ ให้ลูกๆ ได้อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : webmd.com , ctvnews.ca , healthychildren.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แนะวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ด้วยแอพพลิเคชัน NetCare พ่อแม่ทำได้แค่ปลายนิ้ว

ระวัง! พ่อแม่ติดมือถือ สื่อสารกับลูกน้อยลง ส่งผลเสียกว่าที่คิด!

5 วิธีแก้ ลูกติดโซเชียล เหลียวแต่หน้าจอทั้งวันทั้งคืน!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up