ตั้งครรภ์หลังคลอด

ตั้งครรภ์หลังคลอด หลังคลอดกี่เดือน ถึงตั้งท้องใหม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event
ตั้งครรภ์หลังคลอด
ตั้งครรภ์หลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับท้องต่อไป

หลังคลอดบุตร ร่างกายและจิตใจของคุณแม่จะเปลี่ยนจนแทบจะเรียกได้ว่าหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว ดังนั้น การดูแลเอาใจใส่คุณแม่ในระยะพักฟื้นหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในช่วง 5-6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะจะเป็นช่วงที่ร่างกายและฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

การดูแลตัวเองหลังคลอด

  • ควรเคลื่อนไหวร่างกายตามที่สภาพร่างกายเอื้ออำนวย เช่น การเดินไปห้องน้ำเอง เดินไปหยิบของเอง หรือออกกำลังกายตามที่หมอแนะนำ เป็นต้น เพื่อให้มีการขยับตัวของกล้ามเนื้อและแผลฝีเย็บสมานเร็วขึ้น สำหรับแม่ที่คลอดเอง และเพราะจะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวตัวได้ดีขึ้นรวมทั้งป้องกันการเกิดพังผืดระหว่างอวัยวะในช่องท้องกับเยื่อบุช่องบริเวณผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการปวดท้องเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด สำหรับแม่ผ่าตัดคลอด
  • หลังการคลอดปกติทางช่องคลอด คุณแม่จะมีความรู้สึกปวดแผลฝีเย็บซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าปวดมากหมอจะให้ยาแก้ปวดเพื่อระงับการปวดแผลที่ฝีเย็บ การอบแผลด้วยความร้อนและการอาบน้ำอุ่น มีส่วนช่วยให้อาการบวมที่แผลลดน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลได้เช่นกัน ถ้าคุณแม่ดูแลร่างกายอย่างดี บำรุงอย่างดี ร่วมกับการคลอดที่ถูกถูกวิธีก็จะช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นค่ะ โดยมีวิธีการดูแลฝีเย็บดังนี้
    • การล้างแผลฝีเย็บนั้นควรล้างด้วยน้ำต้มสุกอุ่น ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างแผลเป็นพิเศษแต่อย่างใด เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีซับให้แห้งก็เพียงพอแล้ว  ห้ามใช้หัวฉีดล้างชำระหรือใช้ฝักบัวล้างโดยตรง เพราะแรงดันของน้ำอาจทำให้แผลเปิดแยกออกจากกันได้ และยังอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่ส่วนลึก ๆ ของแผลได้อีกด้วย
    • ควรนั่งและยืนให้ถูกท่า เวลานั่งบริเวณฝีเย็บจะโดนน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดใหม่ ๆ นั่งตรงไม่ค่อยได้ หรือคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิ ซึ่งการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกจากกัน จึงทำให้แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกออกจากกัน ท่านั่งที่ดีที่สุดก็คือ ท่านั่งพับเพียบ เพราะการนั่งท่านี้จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก หรือจะหาเบาะนุ่ม ๆ หรือหมอนรองนั่งมารองก็ได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่นั่งได้ง่ายขึ้นและมีอาการเจ็บปวดไม่มาก ส่วนท่ายืนนั้นจะตรงข้ามกับท่าเดิน คุณแม่ไม่ควรเดินหนีบ ๆ เพราะจะทำให้แผลเกิดเสียดสีกัน แต่ให้เดินแบบแยกขาออกจากกันเล็กน้อย เดินแยกนิดหน่อยแต่พองาม โดยให้เดินอย่างนี้ประมาณ 7 วันแล้วแผลก็จะค่อย ๆ หายเอง หลังจากนั้นก็สามารถกลับมาเดินในท่าปกติได้
  • การดูแลแผลผ่าตัดคลอด คุณแม่สามารถใช้ผ้ายางยืดพันบริเวณหน้าท้อง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บแผลเพราะผ้ายังยืดจจะช่วยพยุงแผลผ่าตัดไม่ให้ถูกดึงรั้งจากผนังหน้าท้องที่ยังหย่อนยาน เวลาที่คุณแม่จะเปลี่ยนอิริยาบถก็ค่อย ๆ ทำโดยการงอเข่าเข้าหาตัวก่อนที่จะลุกหรือยืนเพื่อลดความตึงของหน้าท้อง ควรงดการอาบน้ำภายใน 7 วันหลังคลอด (ใช้วิธีเช็ดตัวแทน) เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ และหลังจากตัดไหมแล้ว สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอลล์เช็ดบริเวณแผล
  • ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะจะช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอจากการคลอด ทำให้สุขภาพของคุณแม่กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม และช่วยให้มีสารอาหารเพียงพอที่จะสร้างน้ำนมที่มีคุณภาพให้แก่ลูก
  • เลี่ยงการทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ รวมถึงอาหารปรุงไม่สุก อาหารรสจัดมากเกินไป และอาหารหมักดองทุกชนิด ส่วนการรับประทานยาหรือเครื่องดื่มสมุนไพรต่าง ๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะสมุนไพรบางชนิด เช่น ไพล มีฤทธิ์ทำให้มดลูกคลายตก อาจทำให้ตกเลือดได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ยาและอาหารบางชนิด
  • ควรพยายามหาโอกาสร่างกาย โดยควรนอนหลับให้ได้รวมแล้วอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ในเวลากลางวันควรหลับบ้างขณะลูกหลับให้ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง
  • หากแผลฝีเย็บมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด (ใน 1 ชั่วโมง ชุ่มผ้าอนามัย 1 แผ่น และเลือดที่ออกมาเป็นก้อน มักเกิดจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณที่รกเกาะเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือมีเศษรกตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก), น้ำคาวปลาผิดปกติ (สีไม่จางลง ปริมาณไม่ลดลง มีก้อนเลือดออกมา หรือมีกลิ่นเหม็น), ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยไม่สัมพันธ์กับอาหาร (เมื่อมีอาการปวดท้องหากคุณแม่กินยาแล้วหายปวดก็คงไม่มีอะไร แต่ถ้ากินยาแล้วยังไม่หายปวดก็ควรรีบไปพบแพทย์), แผลฝีเย็บผิดปกติ (ปกติแล้วแผลฝีเย็บจะหายเจ็บค่อนข้างเร็ว จากวันแรกเจ็บ 100% วันที่สองเจ็บ 70% วันที่สามเจ็บ 40% วันที่สี่เจ็บ 10% และพอถึงวันถัดไปก็จะหายเจ็บไปเลย แต่ถ้าเจ็บมากขึ้นและมีแผลบวม แผลแดงมากขึ้น ก็แสดงว่าเกิดการอักเสบ), ปวดศีรษะบ่อยและปวดเป็นเวลานาน (อาจเกิดความดันโลหิตสูง เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเครียดจากการคลอด), มีไข้สูงหรือหนาวสั่น (อุณหภูมิสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส) และมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นร่วมด้วย, ปัสสาวะแสบขัด (อาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากดูแลความสะอาดไม่ดีพอ), มดลูกเข้าอู่ช้า (หลังคลอดไปแล้ว 2 สัปดาห์ยังสามารถคลำพบมดลูกทางหน้าท้อง), มีก้อนที่เต้านมหรือเต้านมบวมแดง, มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
  • หากแผลผ่าตัดมีอาการอักเสบ บวม แดง และมีอาการปวดมากขึ้น หรือมีหนอง มีกลิ่นเหม็น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ

สำหรับแม่ ๆ ที่คิดว่ากำลัง ตั้งครรภ์หลังคลอด ลูกได้ไม่นาน ควรปรึกษาแพทย์ แม้ว่าการ ตั้งครรภ์หลังคลอด ในครั้งนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ได้วางแผนไว้ หรือสร้างความกังวลให้คุณแม่ก็ตาม  แต่การตั้งครรภ์ครั้งนี้และทารกก็ต้องการการฝากครรภ์ที่เหมาะสมเพื่อติดตามการตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจได้ที่นี่

5 ยาคุมผู้ชาย (ทั้งฉีด-กิน) ทางเลือกใหม่สะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว

12 อาหารบำรุงแม่หลังคลอด ทำอย่างไรให้น้ำนมมีคุณภาพ

แท้ง….แล้วอยากท้องต่อต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co, medthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up