ทำกิ๊ฟ

ทำกิ๊ฟ vs เด็กหลอดแก้ว ทางเลือกของคนมีลูกยาก แตกต่างกันอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
ทำกิ๊ฟ
ทำกิ๊ฟ

การมีลูกนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งที่มาเติมเต็มชีวิตคู่ให้สมบูรณ์ แต่ก็ใช่ว่าสามีภรรยาทุกคู่จะประสบความสำเร็จในการมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ทั้งนี้อาจเกิดจากข้อจำกัดทางสุขภาพร่างกายของทั้งคู่หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับท่อนำไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก หรืออสุจิไม่แข็งแรง ที่ทำให้ยังไม่สามารถตั้งครรภ์มีลูกได้ ทางเลือกของคนมีลูกยากจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย วิธี ทำกิ๊ฟ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ในปัจจุบัน การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ที่ได้รับความนิยม ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้มีลูกได้ง่ายขึ้น เช่น การทำกิฟท์ (GIFT ; gamete intra – fallopian transfer) การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF : in vitro fertilization) การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine insemination: IUI) หรือทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI) เป็นต้น

ขั้นตอนทำกิ๊ฟ

ทำกิ๊ฟ vs เด็กหลอดแก้ว แตกต่างกันอย่างไร?

วิธีการทำกิ๊ฟและการทำเด็กหลอดแก้ว จะมีขั้นตอนในการทำคล้ายกันในระยะเริ่มต้น คือเริ่มด้วยการฉีดยากระตุ้นให้เกิดการตกไข่ของฝ่ายหญิง และเพื่อให้ได้ไข่จำนวนหลาย ๆ ใบ โดยมักจะฉีดยาต่อเนื่องเป็นประจำ ประมาณ 10 – 12 วัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละคน และมีการนัดตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเพื่อดูการตอบสนองของรังไข่ ขนาดและจำนวนของถุงไข่ เมื่อไข่สุกเต็มที่แพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่ของแม่ พร้อมทั้งเก็บน้ำเชื้ออสุจิของพ่อในวันเดียวกัน เพื่อเตรียมพร้อมต่อการกระบวนการปฏิสนธิในขั้นตอนต่อไป

การทำกิ๊ฟ : Gamete Intra fallopain Transfer

การทำกิ๊ฟ หรือ GIFT ถือเป็นวิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด คือการนำเอาไข่และเชื้ออสุจิที่เก็บออกมาฉีดใส่กลับเข้าไปที่ท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายฝ่ายหญิง โดยใส่ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีท่อรังไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิที่ค่อนข้างปกติ หากไข่และอสุจิสามารถปฏิสนธิกันได้แล้ว ตัวอ่อนก็จะเคลื่อนไปตามท่อนำไข่และฝังตัวในโพรงมดลูก และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด โดยวิธีการทำกิ๊ฟ 1 ครั้ง อาจใช้ระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์

ขั้นตอนการทำกิ๊ฟ

1.เริ่มต้นที่การให้ยากระตุ้นรังไข่ซึ่งอาจเป็นยาชนิดรับประทาน ฉีด หรือพ่นเข้าจมูก โดยจะเริ่มทำเมื่อมีรอบเดือนมา และตรวจดูการตอบสนองของรังไข่ได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นหลัก รวมทั้งการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนร่วมด้วย เมื่อได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากพอแล้วจะกระตุ้นการตกไข่โดยการฉีดฮอร์โมน hCG จนผ่านไปประมาณ 34-36 ชั่วโมงก็จะทำการเจาะไข่

2.หลังจากการเจาะเก็บไข่พร้อมทั้งเก็บอสุจิ ก็จะทำการย้ายเซลล์ไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง โดยไข่ที่ถูกเลือกไว้จะถูกดูดเข้ามาในสายยางที่ใช้สำหรับการย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าท่อนำไข่รวมกับเชื้ออสุจิที่เตรียมไว้ ซึ่งกระบวนการช่วงนี้คือสิ่งที่แตกต่างจากการทำเด็กหลอดแก้ว

3.หลังการทำแพทย์จะให้ฮอร์โมนช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน และมีการตรวจระดับ hCG ในกระแสเลือดประมาณ 12 วันหลังจากการทำ เพื่อทดสอบว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่

ผู้ที่จะเข้ารับการทำกิฟส่วนใหญ่จะเป็นคู่แต่งงานที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากหลังจากวางแผนมีลูก หรือจากสาเหตุทางสุขภาพจากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย เช่น ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มีปัญหาการตกไข่ มีโรคเกี่ยวกับระบบและอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ หรือฝ่ายชายมีจำนวนอสุจิน้อยหรืออสุจิไม่แข็งแรง รวมทั้งภาวะมีบุตรยากที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ทั้งนี้อาจรวมถึงคู่แต่งงานที่ไม่ประสบความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามการประสบความสำเร็จในการทำกิ๊ฟนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของร่างกายหรืออายุ ซึ่งเมื่อเทียบอัตราความสำเร็จต่อรอบแล้ว ผู้หญิงที่อายุ 38 ปี หรือต่ำกว่านั้นมีโอกาสที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้ประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ต่อรอบ ส่วนผู้หญิงที่อายุ 39 ปีขึ้นไป อัตราความสำเร็จอาจอยู่ที่ประมาณ 29 เปอร์เซ็นต์ต่อรอบ ซึ่งค่าเฉลี่ยจากทุกกลุ่มอัตราการตั้งครรภ์สำเร็จจนคลอดทารกจะอยู่ที่ ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้อัตราความสำเร็จขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยของแต่ละบุคคล

ทั้งนี้ พญ.พิมพกา ชวนะเวสน์ สูติ-นรีแพทย์ทางด้านการเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้กล่าวว่า “การทำกิ๊ฟ (GIFT) โดยนำไข่ที่เจาะออกมาผสมกับเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย แล้วใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง ในปัจจุบันไม่นิยมทำแล้ว เนื่องจากมีเทคโนโลยีของเด็กหลอดแก้วที่ให้ความสำเร็จมากกว่าและปลอดภัยกว่า” (อ้างอิง : www.vichaiyut.com)

ข้อจำกัดและความเสี่ยงในการทำกิ๊ฟ

  • การเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วยวิธีการทำกิ๊ฟฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่อย่างน้อยหนึ่งข้างที่ไม่อุดตัน
  • ฝ่ายชายต้องมีจำนวนอสุจิไม่อยู่ในระดับต่ำมากจนเกินไป
  • การผ่าตัดทางหน้าท้องเพื่อนำท่อนำไข่ขึ้นมาฉีดไข่และอสุจิที่เตรียมไว้เข้าท่อนำไข่โดยตรงไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน เนื่องจากมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ใหม่กว่า
  • การทำกิ๊ฟเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง อาทิ ค่ายา ค่าแพทย์ และค่าผ่าตัด เป็นต้น
  • การผ่าตัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการปวด มีแผลผ่าตัด และมีเลือดไหล
  • มีความเสี่ยงต่อการตั้งท้องนอกมดลูกและการตั้งท้องแฝดตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นระหว่างตั้งครรภ์ได้สูงกว่าปกติได้

ทำเด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว : In-vitro Fertilization

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF คือ การนำไข่และอสุจิที่ได้ไปผสมกับในหลอดทดลอง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิกันภายนอกร่างกายขึ้น พร้อมกับการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ จากนั้นก็คัดเลือกตัวอ่อนที่คุณภาพดีที่สุดจากการปฏิสนธิฉีดเข้าไปในมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วจะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4-6 สัปดาห์จึงจะสมบูรณ์ และในแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาในการทำและนอนพักประมาณ 2 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้ โดยไม่ต้องนอนในโรงพยาบาล และไม่จำเป็นต้องอาศัยท่อนำรังไข่ ต่างจากการทำกิฟท์ซึ่งต้องใช้กระบวนการผ่าตัดเข้าช่วยและจะต้องนอนพักฟื้นร่างกายในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

1.แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการเลือกเก็บไข่ที่สมบูรณ์จากรังไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด กระบวนการเก็บไข่นี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังการเก็บไข่ฝ่ายหญิงจะได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนชนิดสอดช่องคลอดหรือฉีดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกเหมาะแก่การฝังตัว เตรียมพร้อมสำหรับการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก

2.ไข่และอสุจิที่ได้จะถูกนำมาปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการ และทำการเพาะเลี้ยงและควบคุมคุณภาพตัวอ่อน ติดตามดูไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิหลังจากนั้น 48 ชั่วโมง โดยคัดเลือกตัวอ่อนที่คุณภาพดีและทำการตรวจเช็กโครโมโซมก่อนย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกและเติบโตเป็นตัวอ่อนในครรภ์ต่อไป

3.ฉีดตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกภายในวันที่ 3-5 หลังวันเก็บไข่ และหลังจากใส่ตัวอ่อนประมาณ 12 วัน แพทย์จะนัดมาเจาะเลือดตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่

การทำเด็กหลอดแก้วเป็นที่ได้รับความสนใจจากคู่แต่งงานที่มีลูกยาก และในกรณีที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีปัญหาสุขภาพ อาทิเช่น

  • ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันหรือท่อนำไข่ถูกทำลาย มีความผิดปกติเกี่ยวกับการตกไข่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ฝายชายมีปัญหาเกี่ยวกับร่างกายผลิตเชื้ออสุจิได้จำนวนน้อยกว่าปกติ อสุจิไม่แข็งแรง อสุจิเคลื่อนไหวได้ช้าหรือเคลื่อนไหวอยู่กับที่ทำให้เข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยากขึ้น หรืออสุจิมีขนาดและรูปร่างผิดปกติอยู่จำนวนมาก
  • มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • ปัญหาภาวะมีบุตรยากที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้
  • มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จึงไม่สามารถมีลูกได้หรือมีโอกาสที่จะมีลูกน้อยมาก
  • ภาวะมีบุตรยากที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้และพยายามมีบุตรแบบไม่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี
  • ได้ใช้วิธีกระตุ้นการตกไข่และการผสมเทียมโดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงมาแล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์

ทํากิ๊ฟลูก

ในช่วงแรกหรือเมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อน ของการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการแพทย์รักษาภาวะผู้มีบุตรยากนั้น วิธีการทำกิฟมักเป็นที่นิยม แต่ในปัจจุบันเมื่อห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนและน้ำยาต่าง ๆ มีการพัฒนามากขึ้น และอัตราการตั้งครรภ์ของทั้งสองวิธีใกล้เคียงกัน การทำเด็กหลอดแก้วจึงได้รับความสนใจจากว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกยาก เนื่องจากในขั้นตอนไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยาผ่าตัดและใช้เวลาพักในโรงพยาบาลเหมือนวิธีการทำกิ๊ฟท์ ถึงแม้จะมีค่ารักษาในการทำที่สูงทั้งคู่แต่ก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลงได้

ทั้งนี้ในการตัดสินใจเข้ารับการรักษาสำหรับผู้มีบุตรยากนั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยปัจจัยต่าง ๆ โดยแพทย์จะพิจารณาจากประวัติการรักษาที่ผ่านมา แนะนำวิธีการและหลักการทั้งหมด ข้อดี ข้อเสีย ความเสี่ยง โอกาสประสบความสำเร็จ และค่าใช้จ่ายในการทำของแต่ละวิธี ถ้าทั้งคู่ยินยอมที่จะรับการรักษาดังกล่าวแพทย์จึงจะนัดตรวจตามขั้นตอนต่อไป

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองวิธีที่กล่าวมาเป็นเพียงวิธีทางการแพทย์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรักษาโรคประจำตัวที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาภาวะมีบุตรยาก รวมถึงการร่วมมือและให้กำลังใจกันและกันของสามีภรรยาในการเข้ารับการรักษาตามขั้นตอน เพื่อจะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ ให้มีลูกน้อยมาเป็นโซ่ทองได้ดั่งใจกันนะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.bangkokhospital.comwww.ivfthaicenter.comwww.pobpad.com

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

รู้แล้วรีบแก้ไข! พ่อแม่ยุคใหม่ ทำไมจึง มีลูกยาก ?

มีลูกยากต้องลองใช้เทคโนโลยี…ฉีดเชื้อ!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up