คนท้องติดโควิด

อัปเดท คนท้องติดโควิด รักษาอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องติดโควิด
คนท้องติดโควิด

อัปเดท คนท้องติดโควิด รักษาอย่างไร? 

แม่ท้องทุกคนไม่มีใครไม่กังวลใจกับสถานการณ์โรคระบาดในตอนนี้ เพราะแม่ท้องต้องดูแลอีก 1 ชีวิตที่กำลังจะลืมตาดูโลก หากติดโควิดขึ้นมา จะทำอย่างไร ทีมแม่ ABK จึงขอนำข้อมูลจากกรมการแพทย์ ที่นำเสนอล่าสุดว่าหาก คนท้องติดโควิด รักษาอย่างไร? มาฝากกันค่ะ

 

ท้อง ติดโควิด
ท้อง ติดโควิด

อัปเดต แนวทางในการรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่ติดโควิด

เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็น COVID-19 ที่รุนแรง ร่วมกับอาจจะมีข้อจำกัดของทางเลือกในการรักษา
หลักการรักษา COVID-19 ในหญิงตั้งครรภ์ให้พิจารณาการใช้ยาต้านไวรัสเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ยกเว้นบางกรณี
ดังต่อไปนี้
1. การใช้ favipiravir ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กอ่อนในท้องเสียชีวิตหรือพิการได้ (teratogenic effect) ในกรณีที่
ผู้ป่วยเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรพิจารณาตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเริ่มยา
2. ไม่แนะนำให้ใช้ favipiravir ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาส 1
3. สามารถใช้ favipiravir ได้ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาส 2 และ 3 ถ้ามีข้อบ่งชี้และแพทย์พิจารณาแล้วว่าจะได้ประโยชน์
มากกว่าความเสี่ยง โดยมีการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
4. มีข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ remdesivir ในหญิงตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งแต่ไม่มาก สามารถใช้ remdesivir ได้ใน
หญิงตั้งครรภ์ทุกไตรมาส ควรใช้ตามข้อบ่งชี้เหมือนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ถ้ามีข้อบ่งชี้และแพทย์พิจารณาแล้วว่าจะได้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง โดยมีการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
5. ยังไม่มีข้อมูลการศึกษา nirmatrelvir/ritonavir ในหญิงตั้งครรภ์ แต่ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่ามีประโยชน์มากกว่า
ความเสี่ยง ให้ใช้ได้ถ้ามีข้อบ่งชี้ โดยมีการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
6. เนื่องจาก molnupiravir มี teratogenic effect จึงห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในทุกไตรมาส
7. หากหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มอาการรุนแรง ให้รีบส่งต่อโรงพยาบาลที่สามารถดูแลได้ให้เร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์

หากแม่ท้องมีอาการหนัก จะได้รับการรักษาอย่างไร? จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกยังมีสุขภาพดีอยู่?

อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีอาการปานกลาง หรืออาการหนัก ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล มีการตรวจติดตามสัญญาณชีพ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก หรือเรียกว่า CTG ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป และก็มีการให้ยาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค แต่ถ้าอาการแย่ลงอาจจะต้องย้ายเข้า ICU มีการให้เครื่องช่วยหายใจในแง่ของ respiratory support และมีการให้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อดูแลต่อไป

ส่วนในกรณีที่อาการหนัก เป็นมาก ออกซิเจนต่ำ หรือแม่ช็อก อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉิน เพื่อเอาเด็กออกมาก่อน หรือในกรณีต้องปฏิบัติการกู้ชีพ ในการผ่าตัด ถ้าจะต้องผ่าตัดก็แนะนำให้ทำในห้องที่มีความดันลบ การระงับความเจ็บปวดขึ้นอยู่กับวิสัญญีแพทย์ว่าจะเป็นการบล็อคหลังหรือใส่ tube ก็แล้วแต่ สำหรับทีมงานที่จะทำการผ่าตัดแนะนำให้ใส่ full PPE มีการเตรียมทีมกุมารแพทย์ใส่ PPE ในการรับเด็ก สำหรับทารกหลังคลอดจะมีการเช็ดตัว ทำความสะอาดและส่งให้กุมารแพทย์ประเมิน

แม่ท้องติดโควิด
แม่ท้องติดโควิด

อ่านมาถึงตรงนี้ แม่ท้องหลายคนก็จะยิ่งวิตกกังวลก็แล้วใช่ไหมล่ะคะ เพราะแค่ตัวคนเดียวที่ต้องระวังไม่ให้ติดโควิดก็ลำบากมากพอแล้ว แต่แม่ท้องที่ต้องระวังโรคระบาดนั้น ยากขึ้นเป็น 2 เท่า ทีมแม่ ABK จึงขอนำแนวทางการป้องกันโรคโควิด-19 จาก นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์​ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า โดยหลักการสตรีตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ตามปกติ และดำเนินการป้องกันโรคเหมือนคนทุกคน ทั้งสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโดยการล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก และปาก โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือแออัด ถ้าจำเป็นต้องเดินทางให้อยู่ห่างจากคนอื่นประมาณ 1.5 เมตร มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์กับโรคโควิด-19 ดังนี้

  • ควรฝากครรภ์ตามปกติ
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโดยการล้างมือบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส ดวงตา จมูก และปาก
  • หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือแออัด
  • ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ให้อยู่ห่างจากคนอื่น (ประมาณ 1.5 เมตร)
  • ส่วนใหญ่ (มากกว่า 2 ใน 3) ของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่แสดงอาการ
  • อาจพบอาการรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน อายุมาก มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน (DM, HT)
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก อาจพบได้ 2-5%
  • มีโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด 15.1% แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเรื่องการแท้งบุตร
  • ควรได้รับการดูแลจากสูติ-นรีแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

ทั้งนี้ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีไข้ ไอ เป็นผู้ที่อาศัยอยู่หรือเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและเพื่อให้แพทย์สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจและการวินิจฉัยได้

อย่างที่ทราบกันดี ไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบ คุณแม่ควรติดตามข่าวสารอยู่เป็นประจำ พร้อมศึกษาวิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธีเช็กความ เสี่ยงติดโควิด-19 อาการแบบไหนต้องรีบไปตรวจหาเชื้อ

เปิดจองสิทธิ์ประกันสังคมพื้นที่กทม ลงทะเบียนตรวจโควิดฟรี ต้องทำอย่างไร

CDC ชี้! หน้ากากอนามัยป้องกันโควิด ดีกว่าวัคซีน

เตือนใส่ หน้ากากอนามัยเด็ก -เบบี๋อันตรายมากกว่าป้องกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.komchadluek.net, สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ, กรมการแพทย์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up