ผ่าคลอด กับ คลอดเอง

ผ่าคลอด กับ คลอดเอง แบบไหนดีกว่ากัน?

Alternative Textaccount_circle
event
ผ่าคลอด กับ คลอดเอง
ผ่าคลอด กับ คลอดเอง

เด็กที่ผ่าคลอด เสี่ยงเป็นภูมิแพ้มากกว่า

มีการศึกษาวิจัยจากทีมกุมารแพทย์ที่ดูแลเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อพบว่า เด็กที่คลอดด้วยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้หรือเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบปีแรก เนื่องจากเด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์หรือจุลชีพที่เป็นประโยชน์ผ่านทางช่องคลอดของแม่ โดยจุลินทรีย์ตัวนี้จะไปช่วยสร้างภูมิต้านทาน ทำให้เด็กที่คลอดธรรมชาติมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยง่าย ขณะที่เด็กผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ตัวนี้ ทำให้ร่างกายขาดการกระตุ้นภูมิต้านทาน แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถให้เด็กได้รับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์นี้ด้วยการกินนมแม่อย่างเพียงพอ

คำถาม-คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ “คลอดธรรมชาติ VS ผ่าคลอด”

Q: หากท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองต้องผ่าคลอดไหม

A: ในต่างประเทศหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถให้คุณแม่กลับมาคลอดธรรมชาติได้ในท้องที่สอง โดยไม่ต้องผ่าคลอด เรียกวิธีนี้ว่า Vaginal Birth After Cesarean (VBAC) การคลอดแบบนี้ต้องเฝ้าระวังเรื่องแผลมดลูกปริแตกอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่บ้านเรา โรงพยาบาลส่วนมาก มักจะให้ผ่าคลอดในท้องที่สอง เพราะบุคลากรหรือเครื่องมือเรามีไม่เพียงพอ หากดูแลไม่ใกล้ชิดพอ ก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของคนไข้เนื่องจากแผลมดลูกปริแตกได้ แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งสามารถทำวิธีนี้ได้แล้ว

Q: การผ่าคลอด มีผลต่อการให้นมแม่หรือไม่

A: พบว่าไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ในรายที่ผ่าคลอดอาจมีปัญหาเรื่องการเจ็บแผล เพลียและเหนื่อยง่ายเนื่องจากเสียเลือดมาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการให้นมบ้าง

Q: การคลอดเอง ทำให้ช่องคลอดหย่อนยานจนต้องทำรีแพร์จริงหรือไม่

A: กรณีนี้อาจมีผลต่อคุณแม่ที่มีลูกมาก คือคลอดลูกเกิน 4 คน และคุณแม่ที่มีอายุมาก อาจทำให้คอลลาเจนลดน้อยลง ถือเป็นความเสื่อมตามอายุ นอกจากนี้อาจเกิดได้จากขนาดตัวเด็กขณะคลอด การเบ่งคลอดไม่ถูกวิธีก็มีผลเช่นกัน ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

Q: ผลจากการบล็อคหลังทำให้คุณแม่ปวดหลัง แม้จะผ่านไป 10 ปีแล้วจริงหรือไม่

A: การบล็อคหลังไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังเลย อาจเป็นปัญหาเก่าของร่างกายคุณแม่มากกว่า อาการปวดหลังหรือปวดหัวนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ขณะที่คุณแม่อยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 24-48 ชั่วโมง แต่หากคลอดไปเป็นปีแล้วมีอาการปวดหลังคงไม่ใช่จากการบล็อคหลังแน่นอน

 

การคลอดลูก ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเบ่งคลอดธรรมชาติ หรือด้วยวิธีการผ่าคลอด ล้วนแล้วก็มาจากความตั้งใจที่แม่คนหนึ่งต้องการให้ลูกมีความปลอดภัยมากที่สุด คลอดออกมาด้วยสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ครบ 32 ประการ และถึงแม้ว่าการคลอดลูกทั้งสองวิธีนี้จะมีข้อดี ข้อเสีย ซึ่งเมื่อถึงเวลาคลอดหนึ่งในสองวิธีที่ใช้ในการคลอดลูก จะต้องเป็นไปตามคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลการคลอดให้เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยกับตัวคุณแม่และลูกน้อย  …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

อาการหนาวสั่นหลังคลอดลูก เกิดจากอะไร?
คลอดลูกแล้วประคบร้อนทันที เสี่ยงตกเลือด?
น้ำคาวปลา หลังคลอดลูก คืออะไร ?

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ. มานพชัย ธรรมคันโธ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up