การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

Alternative Textaccount_circle
event
การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า
การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

การฝึกอบรมการทำ CPR และการเรียนรู้ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในงาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 24 จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าไบเทคบางนา วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีความสำคัญในการให้ความรู้และทักษะปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถ การปฐมพยาบาลลูก ช่วยชีวิตสมาชิกในครอบครัวหรือผู้อื่นได้ทันท่วงที การเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับฟังและเรียนรู้วิธีการจัดการกับผู้ป่วยในกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน

การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

CPR คืออะไร และทำไมจึงต้องเรียนรู้

CPR ย่อมาจาก Cardio-Pulmonary Resuscitation เป็นเทคนิคและวิธีการช่วยคนที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น หรือไม่หายใจ เป็นการกดลงไปบริเวณหัวใจเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และปริมาณอากาศที่จะไหลเข้าไปในปอด หากช่วยชีวิตคนด้วยเทคนิคนี้ จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาหายใจได้ สามารถนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมีความเสี่ยงเสียชีวิตหรือสมองตายน้อยลง

ในแต่ละปีมีผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นประมาณ 350,000 รายในสหรัฐอเมริกา โดย 90% เป็นผู้ใหญ่ และ 7,037 รายเป็นเด็ก ซึ่งมีเพียง 12% ของผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเท่านั้นที่รอดชีวิต ดังนั้นการเรียนรู้การทำ CPR ไว้ถึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติทางชีวิตและสุขภาพที่คนยุคใหม่ควรใส่ใจ

 

การฝึกฝนทำ CPR กับ  พญ.พรพิชญา บุญดี และทีมงานจาก รพ. พระรามเก้า

การทำ CPR เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ เพื่อช่วยผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที แต่จะทำให้เกิดผลจริงและลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยจากการที่ผู้ลงมือขาดความรู้ ผู้สนใจจะต้องพึ่งพาการฝึกปฏิบัติจริง การเรียนรู้จากเพียงการดูวิดีโอการสอนทางออนไลน์ไม่เพียงพอในการลอกเลียนแบบและบรรลุผลของการปฐมพยาบาล

ทุกคนในครอบครัวควรเตรียมพร้อมเพื่อทำ CPR เพราะสถานการณ์ไม่คาดฝันที่จะพบคนหยุดหายใจอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ระหว่างการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ในระหว่างวัน การเรียนรู้วิธีการทำ CPR ภาคปฏิบัติยังมีประโยชน์ครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือผู้อื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกครอบครัว เราสามารถเห็นได้จากข่าวสารในช่องทางต่าง ๆ ว่าสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นอาจเกิดขึ้นทุกที่ ทุกเวลา ไม่ใช่เกิดเฉพาะกับคนที่มีโรคประจำตัวบางโรคซึ่งมีความเสี่ยงอยู่แล้ว

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลายคนอาจลังเลไม่กล้าลงมือให้การช่วยเหลือ แม้ว่าจะเป็นกับสมาชิกในครอบครัวก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องของความมั่นใจซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่ได้รับไป เวิร์คชอปนี้จะเสริมสร้างความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตระหนักว่าขั้นตอนการปฏิบัติไม่ยากเกินความสามารถของบุคคลทั่วไปแม้ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์

งานเวิร์คช็อป การปฐมพยาบาลลูก นี้เป็นโอกาสพิเศษในการเรียนรู้จากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด นำทีมโดย พญ.พรพิชญา บุญดี มาพร้อมทีมเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพระรามเก้า ที่จะเข้าไปแนะนำผู้เข้าร่วมแต่ละขั้นตอนแบบตัวต่อตัวหลังจากให้ลองทำเองแล้วและดูเหมือนต้องการคำแนะนำเพื่อปรับปรุงการลงมือให้ถูกต้องเหมาะสม โดยทีมงานได้นำหุ่นจำลองมาใช้ในการช่วยฝึกฝน ทั้งในการจัดท่าทาง การกดปั๊ม กระบวนการที่ครบถ้วนในการกระตุ้นให้หัวใจของผู้ป่วยกลับมาเต้นตามปกติ แบ่งเป็นการฝึกปฏิบัติต่อเด็ก และผู้ใหญ่

ในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ มีเวลาเพียงสี่นาทีก่อนที่สมองจะถูกทำลายเนื่องจากขาดออกซิเจน หากมีความล่าช้าในการทำ CPR อาจนำไปสู่การปั๊มนวดกระตุ้นหัวใจที่ไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวัง ลดโอกาสที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีสติสัมปชัญญะ เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะกลับมามีชีพจรและหายใจ แต่สมองตายหรืออยู่ในอาการโคม่า

สาเหตุที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น อาจเกิดจากโรคหัวใจ ซึ่งคิดเป็น 90% ของกรณีในผู้ใหญ่ และภาวะขาดเลือดอย่างกะทันหัน หัวใจวายเฉียบพลันก็เป็นสาเหตุที่พบเห็นได้บ่อย หรือสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ อุบัติเหตุ ไฟดูด หรือการจมน้ำ

การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สิ่งแรกที่ควรลงมือ คือการประเมินการทำงานของระบบทางเดินหายใจ พิจารณาว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ ในสถานการณ์วิกฤต การตบหรือตีผู้ป่วยไม่ใช่เทคนิคทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสติ ไม่ควรใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วย แต่เบื้องต้นควรใช้การตบมือและตะโกนเสียงดัง เพื่อระบุว่าผู้ป่วยยังมีสติอยู่จะเหมาะสมกว่า โปรดหลีกเลี่ยงการใช้กำลังหรือความรุนแรงที่ไม่จำเป็นเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในกรณีที่พบว่าผู้ป่วยไม่ตอบสนอง สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์ และมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้

ประการแรก: ต้องประเมินความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเข้าใกล้บุคคลนั้น หากมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น สายไฟขาด หรือมีความเป็นไปได้ที่จะมีอุบัติเหตุ เช่นอยู่ริมถนน  การเข้าใกล้ก็อาจจะไม่ปลอดภัย

ประการสอง: ต้องโทรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินโดยโทรไปที่ 1669 ผู้รับสายจะแนะนำผู้โทรหาถึงขั้นตอนที่จำเป็น รวมถึงสามารถขอเครื่องกระตุ้นหัวใจภายนอกอัตโนมัติ (AED) ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้อย่างมากในกรณีที่หัวใจหยุดเต้น

ประการสาม: ประเมินสภาพของบุคคล ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบการหายใจ ชีพจร และการตอบสนอง สำหรับผู้ใหญ่ สามารถตรวจสอบชีพจรได้โดยวางสองนิ้วบนลูกกระเดือกและคลำหาหลอดเลือดแดง หากตรวจไม่พบชีพจร ควรเริ่มการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยการกดหน้าอกด้วยอัตรา 100-120 ครั้งต่อนาทีโดยเร็วที่สุด

ผู้ใหญ่โดยทั่วไป ควรใช้เวลาเพียงสิบวินาทีในการตรวจหาชีพจร แต่หากไม่พบ ควรเริ่มการกดหน้าอก การกดหน้าอกอย่างถูกต้องและในตำแหน่งที่เหมาะสมบนหน้าอกเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่ได้ทำอย่างถูกต้องจะเกิดความเสี่ยงต่อการกลับมามีสติสัมปชัญญะของผู้ป่วยดังที่กล่าวไปแล้ว

 

ในกรณีของเด็ก การสำรวจว่ารู้สึกตัวอยู่ไหม อาจใช้การสัมผัสฝ่าเท้า ส่วนการคลำหลอดเลือดแดงอาจทำได้ยากเนื่องจากคอเล็ก อาจจะลองพยายามหาชีพจรที่ช่วงแขนที่ต้นแขนด้านในของเด็ก หากชีพจรของเด็กต่ำกว่า 60 จำเป็นต้องทำการกดปั๊มหน้าอก หากเด็กหมดสติ ไม่ตอบสนองและไม่หายใจ ควรทำ CPR ทันที

เมื่อกดหน้าอกเด็ก ควรวางมือไว้ตรงกลางหน้าอก ใต้เส้นหัวนม สำหรับเด็กอายุต่ำกว่าหนึ่งปีควรใช้สองนิ้วเท่านั้น หรือหัวแม่มือ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ร่างกายเด็กบาดเจ็บ สิ่งสำคัญคือต้องรักษาระดับความลึกของการกดหน้าอกลงไปประมาณ 1 ใน 3 และความเร็ว 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที โดยหยุดชั่วคราวทุก ๆ 30 ครั้ง

การวางตำแหน่งมืออย่างเหมาะสมเมื่อทำการกดหน้าอกในผู้ใหญ่ ควรวางมือไว้ตรงกลางหน้าอกระหว่างกระดูกหน้าอกกับซี่โครง โดยให้มือข้างที่ถนัดอยู่ด้านล่างและอีกข้างอยู่ด้านบน สิ่งสำคัญคือต้องรักษามุมเก้าสิบองศาระหว่างข้อมือ ข้อศอก และหัวไหล่เพื่อให้แน่ใจว่าการกดลงไปจะหวังผลได้

เพื่อให้มั่นใจว่าการกดหน้าอกกระตุ้นหัวใจได้ผล ต้องออกแรงกดให้เพียงพอเพื่อจำลองการสูบฉีดของหัวใจ ควรกดลึกประมาณครึ่งหนึ่งของหน้าอกและความเร็ว 100 ถึง 120 กดต่อนาที ควรปล่อยให้หน้าอกหดตัวเต็มที่ระหว่างการกดหน้าอก และควรใช้น้ำหนักของร่างกายเพื่อออกแรงกดที่จำเป็น

ขอแนะนำให้ผู้ทำการกดหรือปั๊มหัวใจ ทำการเป่าปากช่วยหายใจสองครั้งหลังจากการกดหน้าอกทุก ๆ 30 ครั้งให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย

การปฐมพยาบาล

การกดหน้าอกและการช่วยหายใจ ผู้ช่วยชีวิตควรทำเป็นเวลาห้ารอบหรือประมาณสองนาทีก่อนที่จะเปลี่ยนไปให้ผู้ช่วยชีวิตคนอื่นที่มีทักษะการทำ CPR สลับเปลี่ยนเข้ามา หากมีผู้ช่วยชีวิตเพียงคนเดียวหรือหากผู้ช่วยเหลือสองคนเริ่มเหนื่อยล้า ให้ปรับจำนวนการกดปั๊มหน้าอกและการหายใจที่ปฏิบัติเพื่อให้ทำต่อได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือปฏิบัติตามเทคนิคที่ได้รับการอบรมไป และขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยเร็วที่สุด

หากผู้ป่วยรู้สึกตัวขึ้นมาและตอบสนองดี ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำการกดปั๊มหน้าอกต่อ สามารถรอแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมารับช่วงพาผู้ป่วยไปดูแลต่อ แต่หากผู้ป่วยไม่ตอบสนอง ก็จำเป็นต้องปั๊มต่อไปจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง และในกรณีที่มีเครื่อง AED (เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบใช้งานภายนอกได้อัตโนมัติ) หากประเมินจากเครื่องแล้วว่าสามารถช็อตไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นหัวใจผู้ป่วยได้ อาจนำมาใช้ร่วมกับการปั๊มหัวใจ

การใช้เครื่อง AED (Automatic External Defibrillator)

ในกรณีของการใช้เครื่อง AED (เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบใช้งานภายนอกได้อัตโนมัติ) สิ่งสำคัญในการใช้งานคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างระมัดระวังและใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เครื่อง AED ได้รับการออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจและพิจารณาว่าจำเป็นต้องกระตุ้นหัวใจเพื่อให้หัวใจเต้นเป็นปกติหรือไม่ สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าเครื่อง AED อยู่ที่ใดขณะเกินเหตุไม่คาดคิด และเข้าใจการใช้งานอย่างเหมาะสม

เครื่อง AED สามารถพบได้ในสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบินและสระว่ายน้ำ และมักเป็นสิ่งแรกที่แพทย์จะมองหาในสถานการณ์ฉุกเฉินที่หัวใจของผู้ป่วยหยุดเต้น

การใช้เครื่อง AED เป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน จัดอยู่ในขั้นตอนการช่วยให้หัวใจผู้ป่วยกลับมาเต้นได้ขั้นพื้นฐาน หลังจากเปิดเครื่องแล้ว จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน แนะนำขั้นตอนเป็นเสียง เครื่อง AED จะวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยและพิจารณาว่าจำเป็นต้องกระตุ้นหัวใจหรือไม่ ในการใช้อุปกรณ์ ให้ติดอิเล็กโทรดหรือแผ่นแปะที่หน้าอกของผู้ป่วยตามคำแนะนำที่มีภาพประกอบ และเสียงที่บรรยายการใช้งาน และผู้ใช้งานจะกดปุ่มช็อตหากได้รับคำแนะนำ จากเครื่อง AED เองเท่านั้น

 

เมื่อใช้อิเล็กโทรดหรือแผ่นแปะ ย้ำอีกครั้งว่าต้องดูภาพสัญลักษณ์จุดที่แปะ และปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นเสียงจากเครื่อง AED อย่างระมัดระวัง สำหรับผู้ใหญ่ ควรวางอิเล็กโทรดหนึ่งอันไว้ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกอันหนึ่งอยู่ใต้รักแร้ซ้าย สำหรับเด็ก ตำแหน่งของอิเล็กโทรดจะถูกทำเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนและติดได้ง่าย

สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยไม่มีขนก่อนที่จะติดอิเล็กโทรดหรือแผ่นแปะเพื่อให้แน่ใจว่ามีการนำไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม หากจำเป็น สามารถใช้เครื่องโกนหนวดเพื่อกำจัดขนส่วนเกินได้ เมื่อเครื่อง AED กระตุ้นหัวใจ ต้องแน่ใจว่าทุกคนอยู่ห่างจากผู้ป่วยก่อนที่จะกดปุ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หลังช็อตไฟฟ้า อย่าลืมกดปั๊มหน้าอกต่อไปตามที่เครื่อง AED ชี้แนะหลังจากกระตุ้นหัวใจแล้ว ยิ่งปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างระมัดระวังก็จะเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้สำเร็จ

 

เมื่อเครื่อง AED เตือนให้ทำการกระตุ้นหัวใจ ต้องระวังไม่ให้มีใครสัมผัสผู้ป่วยหรือวัตถุรอบข้าง ผู้ใช้งานเครื่องต้องสั่งให้ทุกคนถอยหลัง รวมถึงเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่อาจอยู่ด้วย หลังจากแน่ใจว่าบริเวณรอบ ๆ โล่งแล้ว ให้ทำการช็อตไฟฟ้าตามที่เครื่อง AED กำหนด และต้องรอจนกว่าเครื่องจะกระตุ้นหัวใจเสร็จก่อน จึงจะสัมผัสผู้ป่วยอีกครั้งหรือกดปั๊มหน้าอกต่อ

หากเครื่อง AED ระบุว่าไม่แนะนำให้กระตุ้นด้วยไฟฟ้า ควรกดปั๊มหน้าอกต่อไปจนกว่าแพทย์จะมาถึง เครื่อง AED ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและเปรียบได้กับการมีหมอไว้ที่บ้าน ผู้สนใจสามารถหาวิดีโอและรายงานเพื่อการศึกษา อาทิวีดีโอที่จัดทำโดยสโมสรโรตารี่ เผยแพร่เนื้อหาสอนประชาชนทั่วไปถึงวิธีการใช้เครื่อง AED อย่างถูกต้องในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ระหว่างวิ่งออกกำลังกาย

สิ่งแปลกปลอมติดคอทารก หายใจไม่ออก ช่วยชีวิตทารกอย่างไร

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในลำคอของทารก สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ สามารถเข้าไปปิดกั้นทางเดินหายใจ เด็ก ๆ มักจะสำลักวัตถุชิ้นเล็กๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นถั่วหรือลูกปัด คนรอบข้างควรระวังไม่ให้เด็กนำสิ่งเหล่านี้เข้าปาก

ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์สิ่งแปลกปลอมติดคอทารกหรือเด็ก ขั้นตอนแรกคือการระบุว่าทารกสำลักจริง และมีปัญหากับการหายใจแน่ ๆ โดยการสังเกตว่าเด็ก ๆ จับบริเวณคอที่ตรงกับทางเดินหายใจด้วยท่าทีทรมาน และไม่สามารถหายใจได้อย่างถูกต้อง หากไม่มีเสียงขลุกขลักด้วยแล้วยิ่งอันตราย ทารกเสี่ยงต่อภาวะขาดอากาศหายใจ เมื่อยืนยันว่าทารกสำลักหรือไม่สามารถหายใจได้เพราะมีสิ่งกีดขวางทางเดินทางใจ ต้องดำเนินการทันทีเพื่อนำวัตถุแปลกปลอมออก

การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

วิธีนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอของทารก จับคว่ำตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับนอนหงาย กดหน้าอก 5 ครั้ง ใช้ฝ่ามือรองเพื่อหนุนคอเด็กขณะตบหลังและจับตัวเด็กหันหน้าออกคว่ำหน้าลง ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา

หากทารกเข้าสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นหลังนำสิ่งแปลกปลอมออกมาได้ จำเป็นต้องทำ CPR เพื่อช่วยให้ทารกกลับมาหายใจ และรีบขอความช่วยเหลือจากแพทย์ การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเครื่อง AED สำหรับเด็ก อาจมีคำแนะนำเฉพาะสำหรับการใช้งานและขนาดแผ่นแปะที่แตกต่างกัน โดยตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายกัน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการวางแผ่นแปะ เนื่องจากได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ไฟฟ้าช็อตมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับในเด็ก อาจติดแผ่นแปะไว้ที่ด้านหน้าและด้านหลังของหน้าอก ในขณะที่ผู้ใหญ่มักจะแปะไว้ที่ด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าอก

สำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กโต กรณีมีวัตถุใด ๆ ติดหลอดลม ให้วางมือไว้ตรงกลางท้องใต้ชายโครง รัดกระตุกที่ท้อง เหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ แล้วดึงเข้าหาตัวผู้ที่ทำท่าดังกล่าวขณะยืน เด็ก ๆ เองก็สามารถฝึกฝนการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอของเด็กที่อายุน้อยกว่า หรือเพื่อนได้ ทางคุณหมอและทีมแพทย์ได้เปิดวีดีโอให้ดูการช่วยเหลือกันของพี่เมื่อน้องลูกอมติดคออันเป็นบันทึกจากเหตุการณ์จริงให้เห็นว่าการเรียนรู้การจัดการเอาสิ่งแปลกปลอมออกมาเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนในครอบครัว และเรียนรู้ได้ทุกวัย

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าหากไม่สามารถเอาวัตถุแปลกปลอมออกได้ด้วยวิธีเหล่า ต้องขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีโดยเร็วที่สุด

การปฐมพยาบาล

ข้อแนะนำสำหรับผู้อ่านบทความ

บทความนี้เป็นการถอดบทเรียนจากงานเวิร์คช็อป ไม่ใช่บทความที่ใช้เป็นคู่มือการปฐมพยาบาลได้โดยตรง หากสนใจในการฝึกฝนทำ CPR หรือใช้เครื่อง AED ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการปฐมพยาบาลในรูปแบบอื่น ๆ ผู้สนใจควรมองหางานฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเข้ารับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์ จะได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้งานในสถานการณ์จริงอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยความมั่นใจต่อไป

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธี ปฐมพยาบาล และทำ CPR ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

นาทีชีวิต!! CPR ช่วยลูกอย่างไรเมื่อลูก สำลักอาหาร

เปิดใจ! ฮีโร่ลุยน้ำท่วมช่วยเด็กไฟดูด รอดได้เพราะ CPR!!

พ่อแม่ฝึกการทำ CPR ยิ่งช่วยลูกได้เร็ว โอกาสรอดยิ่งสูง

CPR ช่วยชีวิตลูกจากการสำลัก ของติดคอ หากลูกหมดสติ

CPR คือ อะไร? เรียนรู้ไว้ กู้ภัยให้ลูกรักปลอดภัยเมื่อสำลัก

วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง ช่วยชีวิตได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up