ลูกอาละวาด

10 ข้อห้ามทำเมื่อ ลูกฉุนเฉียว ลูกกำลังโมโห อย่าทำแบบนี้!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกอาละวาด
ลูกอาละวาด

ลูกฉุนเฉียว – ในฐานะพ่อแม่ การรับมือกับอารมณ์ฉุนเฉียวของลูกอาจเป็นเรื่องยากเย็นในบางครั้ง และบางทีเราอาจเผลอแสดงออกกับลูกไปอย่างผิดพลาดได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ฉุนเฉียวของลูกอย่างได้ผลแล้วยังกลับทำให้สถานการณ์ต่างๆ แย่ลงได้อีกด้วย พ่อแม่มีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับลูก พวกเขาจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ก่อนใคร ดังนั้นวิธีจัดการอารมณ์ฉุนเฉียวของเด็กวัยเตาะแตะของพ่อแม่ สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากในชีวิตของลูก วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำในขณะที่ลูกวัยเตาะแตะของคุณกำลังอยู่ในอารมณ์ฉุนเฉียวกันค่ะ

10 ข้อห้ามทำเมื่อ ลูกฉุนเฉียว ลูกกำลังโมโห อย่าทำแบบนี้!

1. อย่าให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เห็นว่าเรื่องของเขาไร้สาระ

บางครั้งลูกของเราอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวกับเรื่องที่เรารู้สึกว่ามันเล็กน้อย เช่น พลาดทำนมหก ไม่ได้ของเล่นใหม่ ไม่ได้รับอนุญาตให้กินดินน้ำมัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่ทำให้ความรู้สึกของพวกเขาเป็นโมฆะหรือถูกเพิกเฉย แม้ว่าเหตุผลที่ทำให้พวกเขาอารมณ์เสียอาจดูไร้สาระสำหรับเรา แต่ก็เป็นเรื่องจริงสำหรับเด็กในวัยนี้

ลองนึกภาพตามดูว่ามันจะทำให้คุณโกรธขนาดไหน ถ้าคุณไม่พอใจกับบางสิ่ง แล้วมีคนพูดว่า “ทำไมต้องอารมณ์เสียขนาดนี้ด้วย? ไม่เห็นเป็นอะไรเลย!” แน่นอนว่านี้คือสิ่งที่เด็กวัยหัดเดินของคุณรู้สึก แม้ว่าคุณอาจจะมองว่าเรื่องที่ทำให้ลูกอารมณ์เสียดูเป็นเรื่องเล็กมาก  แต่หารู้ไม่ว่าในใจของลูกไม่ได้รู้สึกแบบนั้น ความหงุดหงิด ความเศร้า หรือความโกรธนั้นเป็นเรื่องที่ลูกรู้สึกจริงจัง ดังนั้นไม่ว่าพวกเขาจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวในเรื่องใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือคุณต้องรับรู้และแสดงความเข้าอกเข้าใจ ไม่แสดงความเห็นทางลบต่อความรู้สึกของพวกเขา

2. อย่าฉุนเฉียวกลับเมื่อ ลูกฉุนเฉียว

อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่หลายคนทำพลาดอยู่บ่อยๆ  พ่อแม่หลายคน มักมีอารมณ์ฉุนเฉียวโดยคิดว่าอารมณ์ฉุนเฉียวเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกเมื่อลูกอาละวาด  แต่จงจำไว้ว่า การอาละวาดของเด็กเป็นเรื่องปกติของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในเด็กแทบจะทุกคน รับรองได้เลยว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนในโลกที่ไม่เคยเจอกับปัญหา ลูกอาละวาด งอแง เอาแต่ใจ การอาละวาดของเด็กไม่ใช่ปัญหาเรื่อง “พฤติกรรม” แต่เป็นเพียงวิธีการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กๆ เมื่อพวกเขาไม่มีทางแสดงออกอื่น ดังนั้นอย่าเป็นผู้ที่เลือกแสดงออกโดยการใช้อารมณ์ซะเอง

ลูกฉุนเฉียว
ลูกฉุนเฉียว

3. อย่าหัวเราะเยาะลูก

หากคุณรู้สึกเสียใจอย่างมากกับบางสิ่ง และมีคนหัวเราะเยาะคุณ คุณจะรู้สึกอย่างไร? แน่นอนว่ามันอาจทำให้คุณโกรธ!

แม้ว่าในบางครั้งอารมณ์ฉุนเฉียวอาจอยู่เหนือสิ่งที่ “น่าหัวเราะ” แต่ก็ควรพยายามควบคุมเสียงหัวเราะของคุณให้ดีที่สุด อย่าหัวเราะต่อหน้าลูก นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำให้การแสดงออกทางอารมณ์ของพวกเขาไม่ถูกต้อง ผิดเพี้ยน และจะทำให้ลูกของคุณรู้สึกได้ว่าพวกเขาไม่สามารถพึ่งพาคุณได้เมื่อพวกเขาอารมณ์เสีย

4. ควบคุมอารมณ์ให้ได้

การควบคุมอารมณ์ หรือการแสดงออกที่เหมาะสมกับลูกในบางสถานการณ์อาจเป็นเรื่องยาก อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น อารมณ์ฉุนเฉียวของเด็กวัยเตาะแตะอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกเครียดและแสดงออกอย่างผิดๆ หรือเผลอใช้อารมณ์ได้ แต่ถ้าพ่อแม่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ คุณจะคาดหวังให้ลูกของคุณควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างไร? เพราะคนที่ลูกยึดถือเป็นแบบอย่างก็ยังใช้อารมณ์ให้พวกเขาเห็นอยู่บ่อยๆ  เมื่อลูกวัยเตาะแตะของคุณมีอารมณ์ฉุนเฉียว สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ “ใจเย็น” ให้ได้มากที่สุด แม้ว่าคุณจะรู้สึกอยากระเบิดอารมณ์เพียงใดก็ตาม  เหราะถ้าหากลูกๆ ของคุณเห็นว่าคุณอารมณ์เสีย จะทำให้อารมณ์ของพวกเขาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากพวกเขาเห็นคุณสงบสติอารมณ์กับเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในท้ายที่สุดแล้วลูกก็จะเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรมที่ดีนี้ของคุณเอง

5. อย่าเพิกเฉยต่อพฤติกรรมของลูก

เมื่อลูกของคุณเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวมันคือวิธีการแสดงออกทางอารมณ์เชิงลบที่หวังผลบางอย่าง และเมื่อเด็กรู้สึกเสียใจ เศร้า กลัว หรือโกรธจะเป็นช่วงที่พวกเขาต้องการพ่อแม่มากที่สุด อย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งเพราะจะทำให้พวกเขาตื่นตระหนก และรู้สึกห่างเหินกับคน ควรอยู่ใกล้ลูกให้มากพอที่ลูกจะมองเห็นคุณ และรู้ว่าคุณคอยอยู่ใกล้ๆ พวกเขา สิ่งนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับเด็กๆ ได้ว่าคุณจะอยู่ที่นั่นเพื่อพวกเขาเสมอหากพวกเขาต้องการ ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต

6. อย่าพยายามยัดเยียดเหตุผลกับลูก

เมื่อลูกของคุณอยู่ในสภาวะทางอารมณ์ที่ย่ำแย่มากๆ บวกกับวัยวุฒิของพวกเขาแล้วแน่นอนว่าพวกเขาจะไม่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ การพยายามหาเหตุผลกับพวกเขาท่ามกลางอารมณ์ฉุนเฉียวนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างไร้จุดหมาย จำไว้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ยินคุณ และในบางสถานการณ์อาจทำให้อารมณ์รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก แต่หากลูกของคุณโตพอที่จะรับฟังเหตุผลได้ คุณอาจทำได้บ้าง แต่ควรรอจนกว่าอารมณ์ฉุนเฉียวของลูกจะดีขึ้นหรือเริ่มสงบลงแล้วจะดีกว่า

เปิดเทคนิค สอนลูกให้ใจแกร่ง ฟันฝ่าอุปสรรคชีวิตได้ราบรื่น

7 เคล็ดลับ! สยบ ลูกขี้หงุดหงิด แบบไม่พึ่งหน้าจอ ลูกก็สงบได้!

ลูกโกรธ ลูกโมโห เรื่องธรรมดา แต่ต้องสอนลูกแสดงออกให้เป็น

7. อย่ายอมแพ้

หลายครั้งอารมณ์ฉุนเฉียวเป็นผลมาจากความต้องการส่วนตัว บางทีเด็กๆ อาจรู้สึกเศร้าเพราะเหนื่อย หรืออาจจะอารมณ์เสียเพราะหิว แต่บางครั้งเด็กวัยเตาะแตะอาจอารมณ์เสียเพราะไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่พวกเขา “ต้องการ” นี่คือเหตุผลที่เรามักจะเห็นภาพของเด็ก ๆ ที่แสดงออกด้วยท่าทีฉุนเฉียวได้บ่อยครั้งในห้างสรรพสินค้า เช่น เด็กๆ เห็นของเล่นใหม่ที่น่าสนใจ จนตาเป็นประกาย และร้องขอให้พ่อแม่ซื้อให้ เมื่อพ่อแม่บอกว่าไม่ – ทันใดนั้นลูกก็อารมณ์ฉุนเฉียวได้ทันที

ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณยังสามารถรับรู้ความรู้สึกของลูกได้ (“ แม่เข้าใจว่าลูกกำลังอารมณ์เสีย”) โดยอย่ายอมแพ้  ขอแนะนำอย่างยิ่ง คือ อย่ายอมแพ้เด็ดขาด หากลูกของคุณแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวใส่สิ่งที่พวกเขาต้องการจนมากเกินควร หากคุณยอมแพ้อยู่บ่อยครั้ง ลูกของคุณจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมาก ว่าการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวทำให้พวกเขาได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการและผลที่ตามมาคือลูกจะเพิ่มความโกรธเกรี้ยวที่หนักมากยิ่งขึ้น

ลูกฉุนเฉียว

8. อย่าติดสินบนลูก

การติดสินบนลูก จะให้ผลลัพธ์ที่แย่กว่าที่คิด เช่น หากคุณ บอกลูกว่า “ถ้าหยุดร้องแม่จะซื้อของเล่นใหม่ให้เลย”  วิธีนี้ เป็นเหมือนการสนับสนุนให้ลูกเลือกใช้พฤติกรรมการแสดงออกด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวได้โดยที่พ่อแม่อาจคาดไม่ถึง ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมที่ดีในอนาคตของลูกไม่สามารถเกิดขึ้นได้

9. อย่าลงโทษลูกของคุณ

จำไว้ว่าอารมณ์ฉุนเฉียวในเด็กวัยเตาะแตะเป็นผลมาจากการพยายามแสดงออก หรือ การควบคุมอารมณ์ของเด็กๆ ที่พวกเขาไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการบังคับใช้การลงโทษ จะไม่มีผล หรือส่งผลที่ดีได้ หากลูกของคุณโตขึ้นและแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว การบังคับใช้บทลงโทษมีแต่จะส่งผลให้พฤติกรรมนั้นทวีความรุนแรงขึ้น หากการลงโทษมีความสมเหตุสมผล ให้รอจนกว่าเด็กจะสงบลงและสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว จากนั้นจึงนั่งลงพูดคุยกับลูกถึงผลที่จะตามมา

10 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด เมื่อลูกพูดช้าเพราะแม่รู้ใจเกินไป!!

ลูกพูดช้าเกิดจากอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพูดช้า ผิดปกติ?

ประสบการณ์จากคุณแม่ ลูกพูดช้า สาเหตุ เพราะดูทีวี มือถือ และแท็บเล็ต

10. อย่าเพิกเฉยต่อสัญญาณของปัญหาพื้นฐาน

อารมณ์ฉุนเฉียวเป็นเรื่องปกติของวัยเด็ก แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น เด็กที่มีปัญหาเรื่อวพัฒนาการในการพูด การสื่อสาร  มักจะแสดงพฤติกรรมฉุนเฉียวอยู่บ่อยครั้ง มีการศึกษาที่พบว่าเด็กที่พูดช้ามีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมฉุนเฉียวมากกว่าเด็กทั่วไปที่มีพัฒนาการปกติถึงสองเท่า ยิ่งคุณสามารถรู้ถึงปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการด้านการพูด และการสื่อสารของลูกได้เร็วเท่าไหร่ คุณก็จะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการปฏิบัติต่อพวกเขาและลดพฤติกรรมอารมณ์ฉุนเฉียวของลูกได้

หากคุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในการจัดการปัญหาเรื่อง ลูกฉุนเฉียว และหมั่นปลูกฝังและคอยเป็นแบบอย่างด้านพฤติกรรมที่ดีให้กับลูก เช่น การจัดการกับปัญหาต่างๆ ด้วยความสงบเยือกเย็น ไม่เลือกที่จะแสดงออกต่อปัญหาต่างๆ รอบตัวโดยการใช้อารมณ์ แน่นอนว่า เด็กๆ ในวัยที่มีพ่อแม่เป็นต้นแบบก็จะค่อยๆ ซึมซับพฤติกรรมที่ดีเหล่านั้นของคุณพ่อคุณแม่ได้แน่นอนค่ะ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้าน ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ให้ลูกๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : speechblubs.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 เคล็ดลับ! สยบ ลูกขี้หงุดหงิด แบบไม่พึ่งหน้าจอ ลูกก็สงบได้!

เทคนิคสยบ ลูกร้องไห้ ทารกร้องไห้ได้ทั้งวัน ปกติไหม?

6 วิธีคุยกับลูก ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน (เริ่ม 6 ขวบ+)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up