ปมในวัยเด็ก

ปมในวัยเด็ก เยียวยาอย่างไรให้ลูกดีขึ้น

Alternative Textaccount_circle
event
ปมในวัยเด็ก
ปมในวัยเด็ก

 ปมในวัยเด็ก ลบล้างอย่างไรให้ออกไปในใจลูก

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูกหลานของเรามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จากเด็กที่เคยสดใส ร่าเริง กลับกลายเป็นเด็กที่เงียบซึม ไม่สดใส เงียบและเก็บตัว พฤติกรรมดังกล่าวนั้น อาจเป็นสื่อการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราได้รู้ว่า ลูกอาจจะกำลังประสบกับปัญหาบางอย่างอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบก็คือ ปัญหาทางใจ

หลายคนอาจจะคิดว่า เด็กแค่นี้จะไปรู้สึกแบบนั้นเหมือนกับผู้ใหญ่ได้อย่างไร ในเมื่อวัน ๆ ก็มีแค่เล่น กิน เรียน แล้วก็นอนเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ผู้ใหญ่มองค่ะ ตราบใดที่หัวใจของเด็กยังเต้นและมีลมหายใจอยู่ พวกเขาทุกคนก็สามารถมีความรู้สึก และมีความคิดได้ด้วยเช่นกัน

ซึ่งหากเด็ก ๆ มีปัญหา ก็อาจจะดูได้ไม่ยากหรอกค่ะ เนื่องจากวัยของเขาจะต้องเป็นวัยที่กำลังสดใส หากมีพฤติกรรมอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป มีหรือที่พ่อแม่อย่างเราจะไม่สังเกตเห็น … และถ้าหากลูกกำลังตกอยู่ในวังวนกับความรู้สึกที่กำลังกายเป็นการสร้าง ปมในวันเด็ก ให้กับพวกเขาแล้วละก็ วิธีที่จะมาช่วยรักษาและเยียวยาอาการทางใจได้ก็คือ ความรักและความใส่ใจของคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ ดังจะขอยกตัวอย่างวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

ปมในวัยเด็ก

  • หาทางเปิดใจ – หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ให้คุณพ่อคุณแม่หาโอกาสดี ๆ เข้าไปคุยกับลูก ถามไถ่เรื่องราวรอบ ๆ ตัว หรือเรื่องที่ลูกชอบหรือสนใจก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเปิดใจ และเปิดความรู้สึกของลูก ให้ลูกได้รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่สนใจและใส่ใจพวกเขาอยู่
  • ค้นหาสาเหตุ – หลังจากนั้นค่อย ๆ ถามไถ่ลูกว่า มีอะไรไม่สบายใจหรือเปล่า ทำไมพักนี้ถึงเงียบไป โกรธหรือไม่พอใจอะไรคุณพ่อคุณแม่หรือไม่ แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้จักใช้น้ำเสียงกับลูกด้วยนะคะ ไม่ใช่ถามไถ่ลูกจริง แต่ใช้น้ำเสียงไม่พอใจหรือตะโกนใส่ลูก … เพราะจากประสบการณ์ตรง คุณพ่อคุณแม่บางท่านเลือกที่จะถามไถ่ลูกด้วยความรักและความห่วงใยจริง แต่กลับใช้น้ำเสียงดุดัน พร้อมกับใช้คำพูดที่ไม่น่าฟังแทน ยกตัวอย่างเช่น “มีอะไรก็บอกสิ มานั่งเก็บกดทำเงียบอยู่ได้ แล้วแบบนี้จะไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร” แล้วแบบนี้เด็กที่ไหนจะอยากมาเล่าปัญหาให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเล่า จริงไหมละคะ
  • หาทางแก้ – แล้วถ้าหากลูกยอมเปิดใจ บอกสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดบาดแผลในใจแล้วละก็ ให้คุณพ่อคุณแม่แสดงความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจลูกก่อนเลยค่ะ หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ หาหนทางแก้ไขไปด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น หากลูกรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวตลกในสายตาคนอื่น ก็ให้คุณแม่ดูว่า จุดไหนที่ทำให้คนอื่นมองลูกเป็นเช่นนั้น ถ้าหากเป็นเพราะลูกไม่กล้าแสดงออก หรือขี้อายมากละก็ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การสร้างความมั่นใจให้กับลูกนั่นเองค่ะ

แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งที่จะมาช่วยเยียวยารักษาใจให้กับลูกได้ก็คือ ความรักและความใส่ใจของคุณพ่อคุณแม่ นั่นเอง ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูกต้องเติบโตเป็นเด็กที่มีปัญหาทางใจ หรือจมอยู่กับ ปมในวัยเด็ก ละก็ เรามาช่วยกันดูแลหัวใจดวงน้อย ๆ ของพวกเขาให้แข็งแกร่งกันเถอะนะคะ

บทความโดย: ทีมงานบรรณาธิการจาก Amarin Babu and Kids

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up